Month: January 2015

หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม

หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม ไปชมหมู่บ้านหัตถกรรมหวาย ชอบปิ้งผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากหวาย งานทำมือฝีมือประณีต ทนทานกันค่ะ หมู่บ้านหัตถกรรมบุทม ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองที อำเภอเมือง ในช่วงนอกฤดูทำนาชาวบ้านจะมีอาชีพพิเศษคือการสานตะกร้าและภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากหวายเส้นเล็ก เรียกว่า “หวายหางหนู” โดยจะไม่ลงแล็คเกอร์ หากใช้ไปแล้วมีเชื้อราให้รักษาโดยใช้ผลมะเฟืองสุกรสเปรี้ยว มะนาว หรือมะกรูดมาถูจากนั้นล้างน้ำให้สะอาดผึ่งแดดให้แห้งภาชนะก็จะมันเงาเหมือนเดิมค่ะ ประวัติความเป็นมา บ้านบุทม (เบาะทม) เป็นภาษาเขมร “เบาะ“ แปลว่า ที่ดอนที่เต็มไปด้วยป่า แต่ถูกถากถางทำไร่ และ “ทม“ แปลว่าใหญ่ รวมความว่า ที่รกไปด้วยป่า ถากถางทำไร่ขนาดใหญ่เช่นกัน บ้านบุทม หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพจักสานหวายเกือบทุกครัวเรือน โดยทำนาเป็นอาชีพหลักและทำจักสานเป็นอาชีพเสริม ที่สามารถทำได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งสานมาแล้วกว่า 60 ปี โดยในปี 2473 นายลีง เลิศล้ำและญาติพี่น้องอีก 2 คน ประกอบด้วยนายเหลี่ยม ภาสวัสดี และนายพัน กล้ายิ่ง ได้เรียนรู้การจักสานหวายมาจากเรือนจำจังหวัดสุรินทร์ เมื่อได้รับอิสรภาพจึงได้ประกอบอาชีพจักสานตะกร้าหวายเลี้ยงครอบครัวตลอดมา ปี […]

Read More

หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง

หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ไปดูหมู่บ้านช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัมผัสวิถีชีวิตคนกับช้างกันค่ะ หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 และ 13 บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จ.สุรินทร์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพันของคน ชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างเต็มอิ่ม ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง (หมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก) สิ่งที่น่าสนใจ สนามแสดงช้างแสนรู้ จะมีการแสดงความสามารถอันเฉลียวฉลาดและน่ารักของช้างในศูนย์ฯ อาทิ ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูป ช้างปาลูกโป่ง ช้างเตะฟุตบอล ฯลฯ โดยจะเปิดการแสดงทุกวัน วันละ 2 รอบ คือ 10:30 น. และ 14:30 น. ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่แสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อาทิ วิวัฒนาการของช้าง ช้างในยุคต่างๆ โครงกระดูกช้าง โรคที่เกี่ยวข้องกับช้าง เครื่องมือในการคล้องช้าง ภาพวิธีการจับช้างในรูปแบบต่างๆ ลักษณะสำคัญของช้าง อาหารและยาสมุนไพรช้าง วิถีความผูกพันระหว่างคนกับช้าง พิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับช้าง ขั้นตอนวิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับช้างที่เสียชีวิต วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวกวยหรือกูย […]

Read More

วัดบูรพาราม

วัดบูรพาราม ตั้งอยู่ที่ ถ.จิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ เป็นวัดที่เก่าแก่สร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี มีอายุประมาณ 200 ปี เท่า ๆ กับอายุของ จ.สุรินทร์ โดย “พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง” หรือ (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก ร่วมมือกันสร้างกับชาวบ้าน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2300-2330 ซึ่งตั้งชื่อในตอนนั้นว่า “วัดบูรพ์” แรกเริ่มเดิมที วัดนี้เป็นวัดมหานิกาย แต่ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ได้อนุมัติให้วัดบูรพ์เป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุตและได้นิมนต์ พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ซึ่งปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานอยู่ ให้มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการ วัดบูรพาราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และเป็นวัดสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ เนื่องมากจากเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระชีว์ (หลวงพ่อประจี) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของสุรินทร์ […]

Read More

ปราสาทหินบ้านพลวง

ปราสาทบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาท”สรุก” หรือศาสนสถานศูนย์กลางประจำชุมชนโบราณ ซึ่งมักจะสร้างขึ้นเป็นหลังเดี่ยว สามหลังหรือห้าหลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปราสาทหลังกลางจะเป็นที่ประดิษฐาน “ศิวลึงค์” อันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาฮินดูลัทธิบูชาพระศิวะหรือ “ไศวะนิกาย” ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นปราสาทหินขนาดเล็กได้รับการขุดแต่งบูรณะเมื่อปี 2514 – 16 โดยวิธีการ “อนัสติโลซิส” (การรื้อมาและประกอบเป็นจิ๊กซอว์ขึ้นไปใหม่ เสริมโครงสร้างและรากฐานใหม่ หินส่วนไหนขาดก็เติมหินใหม่เข้าไปให้สมบูรณ์ โดยไม่ขัดแย้งกับลวดลายศิลปะเดิมของปราสาท) โดย นาย แวนส์ เรย์ ซิลเดรส นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ที่กำลังทำงานวิจัยเรื่องเกี่ยวกับศิลปะตะวันออกสมัยโบราณอยู่ เขาเดินทางสำรวจปราสาทหินมามากมาย ก็ยังไม่ถูกใจ เพราะหลายแห่งเป็นปราสาทแบบ “อโรคยศาลา” จึงไม่มีลวดลายศิลปะการแกะสลักหินให้ศึกษามากนัก จนได้มาพบกับปราสาทหลังหนึ่งในสภาพพังทลาย ทับถมเป็นเนินดินในป่ารกชัฏ ใกล้กับบ้านพลวง ภาพแรกที่เห็นคือลวดลายของหน้าบันที่อยู่เหนือเนินดิน มีรูปเทพเจ้าสลักอยู่สวยงาม เขาจึงเกิดความสนใจ และต้องการที่จะบูรณะขึ้นมาใหม่ตามแนวคิด “อนัสติโลซิส” ที่นิยมใช้กับการบูรณะปราสาทในช่วงนั้นนายแวนส์ เรย์  ซิลเดรส ได้ทำเรื่องขออนุญาตกรมศิลปากรและได้รับทุนจากมูลนิธิวิจัยโซเดย์ แห่งสหรัฐอเมริกา มาเป็นงบประมาณในการบูรณะปราสาทบ้านพลวงประมาณ 6 แสนบาทในปี 2514 ตัวปราสาท […]

Read More

ปราสาทศรีขรภูมิ

ปราสาทศีขรภูมิ ไปชมปราสาทหินที่งดงามที่สุดของจังหวัดสุรินทร์กันค่ะ ปราสาทศรีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น) ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม – กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทศรีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออกปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่างๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุนปรางค์ ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาล […]

Read More

ปราสาทยายเหงา

ปราสาทยายเหงา หรือ ปราสาทนางเหงา ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดยายเหงา บ้านพูนทราย ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์ เป็นโบราณสถานศิลปะขอม แบบปาปวนตอนปลาย หรือนครวัดตอนต้น สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกัน ในแนว ทิศเหนือ-ใต้ หันหน้า ไปทาง ทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บน ฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐ เป็นลวดลาย เช่น ที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสม ระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาค 5 เศียร จากลักษณะ แผนผังของอาคาร ปราสาทยายเหงา น่าจะประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์ ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 องค์เท่านั้น ภายในบริเวณปราสาท พบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู ฯลฯ แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ อย่างเป็นระเบียบ บริเวณด้านหน้าปราสาท […]

Read More

ปราสาทเมืองที

ปราสาทเมืองที ไปกราบพระที่วัดจอมสุทธาวาสและเที่ยวชมปราสาทหินโบราณกันค่ะ ปราสาทเมืองที ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ที่บ้านเมืองที หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จ.สุรินทร์ เป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกันหลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีก 4 หลังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่มีประตูเนื่องจากการดัดแปลง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี 3 ชั้นเลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย ที่เหลืออีก 2 องค์มีขนาดและลักษณะคล้ายคลึงกัน นับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ และมีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ แต่ไม่พบจารึกหรือลวดลายทางศิลปะที่สามารถบอกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากแผนผังและลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์ปรางค์ที่มีลักษณะผอมเรียว ปราสาทเมืองทีจึงถูกสันนิษฐานว่าจัดเป็นโบราณสถานศิลปะลาว ที่มีการสร้างขึ้นโดยคนในชุมชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 23 – 24 ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.30 – 16.00 น. ไม่เก็บค่าเข้าชม [adsense-2] ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ (044) 512 […]

Read More

ปราสาทภูมิโปน

ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จ.สุรินทร์  ชื่อปราสาทแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อภาษาเขมร 2 คำ คือ ภูมิ ซึ่งในภาษาเขมรออกเสียงว่า ปูม หมายถึง แผ่นดินหรือสถานที่ และ ปูน ซึ่งออกเสียงว่า โปน แปลว่า หลบซ่อน รวมความแล้วมีความหมายว่า “ที่หลบซ่อน” จากความหมายของชื่อมีความสัมพันธ์กับนิทานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับปราสาท แห่งนี้คือเรื่อง “เนียงเด๊าะทม” แปลว่า นางนมใหญ่ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แต่ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม ปราสาทภูมิโปนประกอบด้วย ปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลัง และฐานอาคารก่อด้วยศิลาแลง 1 หลัง โดยปราสาทอิฐหลังใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนแบบศิลปะขอมรุ่นเก่ามีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ฐานเตี้ย เรือนธาตุทรงสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้า-ออกด้านเดียวทางทิศตะวันออก ส่วนยอดก่อเป็นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นชั้นๆ ปัจจุบันพังทลายเหลือเพียง 3 ชั้น บริเวณใต้หน้าบันของประตูทางเข้า-ออก สลักเป็นลายรูปใบไม้ม้วนแบบศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ(ราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 13) จากการขุดแต่งโบราณสถาน พบชิ้นส่วนศิลาจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 1 ชิ้น ซึ่งเป็นตัวอักษรที่มีใช้ราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่ และหลังทางทิศเหนือสุด […]

Read More

ปราสาทบ้านไพล

ปราสาทบ้านไพล ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท หมู่ที่ 6 ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นศาสนาสถานในชุมชน หรือสรุก เป็นปราสาทสมัยศิลปะบาปวนเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 หรือประมาณ 900 – 1000 ปีมาแล้ว ก่ออิฐเรียงสามองค์บนฐานเดียวกัน อิฐที่ขัดฝนอย่างพิถีพิถันทำให้ผนังแต่ละด้านเรียบสนิท ปราสาทอิฐทั้ง 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ องค์ปราสาทมีแผนผังและขนาดเท่ากันทั้งสามองค์ คือ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ 4×4 เมตร มีประตูทางเข้าออกด้านหน้าเพียงด้านเดียว ทับหลังของปราสาทองค์กลางและองค์ด้านทิศเหนือสลักเป็นรูปบุคคลนั่งชันเข่าหนือหน้ากาล ที่กำลังคายท่อนพวงมาลัย มือทั้งสองข้างยึดท่อนพวงมาลัยไว้  ส่วนทับหลังปราสาทองค์ด้านทิศใต้สลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ปราสาทยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์อยู่เพียง 2 หลัง คือ ปราสาทประธานองค์กลาง และปราสาทบริวารด้านทิศเหนือ ส่วนปราสาทบริวารด้านทิศใต้ อยู่ในสภาพพังทลาย เหลือเพียงผนังอาคารบางส่วน และหินกรอบประตู อาคารทั้งหมดมีคูน้ำล้อมรอบ นอกจากนี้พบคันดินรูปตัวแอล (L) อยู่ทางด้านเหนือและใต้ด้วย ส่วนสระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 การขุดแต่งบูรณะในช่วงปีพ.ศ. 2530 […]

Read More

ปราสาทตาเมือนธม

ปราสาทตาเมือนธม ไปชมผลงานการก่อสร้างปราสาทที่ใหญ่โต ก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถูกเรียงรายกันทีละก้อนๆจนเป็นตัวปราสาทที่งดงาม จากฝีมือผู้คนในยุคโบราณกันค่ะ ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลังเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ตามรายทางสู่เมืองพระนครของขอม ในอดีตยังไม่มีความรับรู้ในเรื่องพรหมแดนต่างประเทศ มีแต่เพียงแนวทิวเขาพนมดงรัก เป็นพรหมแดนธรรมชาติที่กั้นผู้คนสองดินแดนไว้ คนโบราณมีการ ใช้เส้นทางผ่าช่องเขาที่มีอยู่ตลอดแนว ในบางช่องเขามีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก เช่น ช่องไชตะกูมีปราสาทแบแบก แต่สำหรับที่ช่องตาเมือนหรือตาเมียงนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีปราสาทหินสามหลังอยู่ใกล้ๆกัน เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก เรียกว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังมีขนาดและประโยชน์ที่ใช้สอยแตกต่างกันไป ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือนธม ปราสาททั้งสามตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน บนแนวภูเขาบรรทัด ใน ต.ตาเมียง กิ่งอ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ติดชายแดนกัมพูชา ห่างเพียง 100 เมตรเท่านั้น โดยตัวปราสาทตาเมือนธม สร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสวยัมภูลึงค์ หรือลึงค์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และนี่เองที่เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนาสถานในศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกาย เป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม แต่ภายหลังได้ถูกใช้เป็นพุทธสถาน นักโบราณคดีกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ […]

Read More