ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น

ประวัติความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 6:54 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร และอัญเชิญหลักเมืองเดิม และหลักเมืองใหม่ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช 2395

ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ. 2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี มีการจัดละครรำ ละครชาตรี ให้ผู้ต้องการบูชา ว่าจ้างรำบูชาศาลหลักเมืองอยู่ด้านข้าง

นอกจากพระหลักเมืองแล้ว บริเวณศาลหลักเมืองยังมีเทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมืองอีก 5 องค์ด้วยกัน คือ

พระเสื้อเมือง มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

พระกาฬไชยศรี เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก

เจ้าพ่อเจตคุปต์ เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม

เจ้าพ่อหอกลอง มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร

การมาไหว้พระศาลหลักเมืองอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการยกองค์พระเสี่ยงทาย ในการยกพระนั้นมีขั้นตอนอยู่ว่า ผู้ยกองค์พระจะต้องตั้งจิตอธิษฐานให้เป็นสมาธิ ตั้งนะโม 3 จบ จากนั้นให้ระลึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาล ขอพรให้การยกพระเสี่ยงทายครั้งนี้จงสัมฤทธิ์ผลดังที่ตั้งใจไว้ สอบถามในสิ่งที่ต้องการ แล้วอธิษฐานให้องค์พระหลักหรือเบาก็ได้ ที่สำคัญไม่ควรยกเกินกำลัง

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดทุกวัน เวลา 06.00-18.30 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ หัวมุมสนามหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง ถนน หลักเมือง แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร จอดรถบริเวณด้านหน้าศาลหลักเมือง

รถประจำทาง ขึ้นรถสาย 1,3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 47, 53, 64, 80, 82, 91, 201, 203

รถปรับอากาศ ขึ้นรถสาย ปอ.501, 503, 508, 512

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น