พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ภายในพระบรมมหาราชวัง ถ.หน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 ตั้งอยู่ระหว่างพระมหามณเฑียร และ พระมหาปราสาท ประกอบด้วย ปราสาท 3 องค์ ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก แต่ละองค์เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสันโดยตลอด

ลักษณะองค์พระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมผสมระหว่างศิลปกรรมไทยและแบบยุโรปสมัยพระบรมราชินีนาถวิคตอเรียตัวอาคารเป็นแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ส่วนหลังคาเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย มีแผนผังด้านตัดเป็นรูปตัว อักษร T คือมีพระที่นั่งส่วนหน้าเป็นส่วนหัว ท้องพระโรงกลางและท้องพระโรงหลังเป็นลำตัว องค์พระที่นั่งส่วนหน้าเป็นอาคาร 3 ชั้น ประกอบด้วยพระที่นั่งยอดปราสาท 3 องค์เรียงกัน คือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันออก พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์กลาง และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทองค์ตะวันตก มีมุขกระสันเชื่อมพระที่นั่งทั้ง 3 องค์นี้เข้าด้วยกัน เรียกว่ามุขกระสันด้านตะวันออกและมุขกระสันด้านตะวันตก

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทอื่นๆ เนื่องจากเป็นผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมยุโรป โดยตัวอาคารพระที่นั่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรป แต่หลังคาพระที่นั่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทย จนเป็นที่ของชื่อ “ฝรั่งสวมชฎา”

เนื่องจากความเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นกว่าพระที่นั่งอื่นๆ ทำให้ปัจจุบันพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกลายเป็นหนึ่งในจุดดึงดูดสำคัญที่สุดของพระบรมมหาราชวัง เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สำคัญที่สุดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระที่นั่งองค์กลาง ชั้นบนเป็นหอพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 8 และพระบรมอัฐิสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 มีมุขเด็จอยู่ที่พระทวารด้านหน้า ชั้นกลางเป็นห้องท้องพระโรงหน้า เป็นทางที่จะผ่านไปยังส่วนอื่นๆของพระที่นั่ง ทางด้านเหนือมีทางออกสู่มุขหน้า ที่มุขหน้านี้มีชานสีหบัญชรสำหรับเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าฯในบางโอกาส ห้องชั้นล่างเป็นกองรักษาการณ์ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

พระที่นั่งองค์ตะวันออก ชั้นบนเป็นหอประดิษฐานปูชนียวัตถุของพระมหากษัตริย์ ชั้นกลางเป็นห้องรับแขก สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าห้องไปรเวต ปัจจุบันใช้รับรองพระราชอาคันตุกะระดับประมุขของประเทศ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชทานเลี้ยงรับรอง ชั้นล่างเคยเป็นห้องสำหรับราชองครักษ์ในรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันใช้เป็นห้องพักแขก

พระที่นั่งองค์ตะวันตก ชั้นบนเป็นหอประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสี และพระอัฐิพระบรมราชวงศ์ในพระมหากษัตริย์ ชั้นกลาง ในรัชกาลที่ 5 เป็นออฟฟิศหลวง ปัจจุบันใช้เป็นห้องรับแขก ชั้นล่างใช้เป็นห้องสมุด

ท้องพระโรงกลาง ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธี การพระราชกุศลหรือพระราชกรณียกิจอื่นๆ เช่น พระราชทานเลี้ยงรับรองผู้มาเยือนประเทศอย่างเป็นทางการ เสด็จออกให้คณะทูตานุทูตเฝ้าฯถวายพระพร หรือให้เอกอัครราชทูตถวายพระราชสาส์นตราตั้งภายในมีพระราชบัลลังก์ประจำ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร คือ พระที่นั่งพุดตานถม (ถมตะทองบางส่วนเป็นทองคำลงยาประดับเนาวรัตน์) เบื้องหลังพระราชบัลลังก์เป็นซุ้มจระนำ ซึ่งมีภาพเขียนตราจักรีสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์นี้ สองข้างพระราชบัลลังก์มีพระทวารไปสู่ท้องพระโรงหลังและมีพระทวารด้านข้างออกสู่พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ และพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ

ท้องพระโรงหลัง เป็นท้องพระโรงเล็กต่อเนื่องกับพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร พระราชมณเฑียรที่ประทับในรัชกาลที่ 5 (ปัจจุบันรื้อลงแล้ว) สมัยก่อนใช้เป็นที่ฝ่ายในเฝ้าฯ เวลามีงานพระราชพิธีในท้องพระโรงกลาง

พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทมีอีก 2 องค์ คือ

1.พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ เชื่อมต่อกับท้องพระโรงกลางทางด้านตะวันออก สร้างยาวขนานกับมุขกระสัน ระยะแรกเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อสร้างพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬารแล้วได้แปลงพระที่นั่งองค์นี้เป็นห้องพระราชทานเลี้ยง เรียกว่า “ ห้องโต๊ะ”
2.พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ เชื่อมต่อกับท้องพระโรงกลางด้านตะวันตก สร้างยาวขนานกับมุขกระสัน ที่เฉลียงหน้ามีอ่างน้ำพุเรียกว่า “ อ่างแก้ว” ในรัชกาลที่ 5 เคยเป็นที่เสด็จออกขุนนาง ประชุมปรึกษาหารือราชการแผ่นดินและบางครั้งโปรดให้แขกเมืองเข้าเฝ้า เมื่อสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทแล้วพระที่นั่งองค์นี้เป็นพระราชมณเฑียรข้างใน ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นห้องพระราชทานเลี้ยงกาแฟ หลังจากพระราชทานเลี้ยง

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม ทุกวัน 08.30-15.30 น.

อัตราค่าเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท หากเข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเงินตราล่วงหน้า 1 สัปดาห์

สิ่งอำนวยความสะดวก

  • มีมัคคุเทศน์บริการช่วงเวลา 10.00 น. และ 14.00 น.
  • มีเครื่องบรรยายภาษาต่างประเทศ: จีนกลาง ญี่ปุ่น ไทย ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน รัสเซีย อังกฤษ (ค่าธรรมเนียม: 100 บาท/2 ชั่วโมง)
  • ที่จอดรถ มีที่จอดรถบริเวณท่าราชวรดิษฐ์ วัดมหาธาตุฯ สนามหลวง
  • ร้านขายของที่ระลึก บริเวณชั้น 1
  • ร้านกาแฟ ร้านอาหารอยู่บริเวณศาลาอรรถวิจารณ์

ข้อห้าม

  • ห้ามถ่ายรูปในพระอุโบสถ
  • ผู้ชายห้ามใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ
  • ผู้หญิงห้ามใส่เสื้อกล้าม ใส่เสื้อ ไม่มีแขน กางเกงสามส่วน รองเท้าแตะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โทร. (02) 224 3328 ,(02) 226 0255 แฟ็กซ์ (02) 225 9158
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ตั้งอยู่ที่ ถ.หน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ อยู่บริเวณศาลาเครื่องราชอิสริยยศฯ ด้านขวามือก่อนเข้าวัดพระแก้ว
รถประจำทาง 1 3 6 9 15 19 25 30 32 33 39 43 44 47 53 59 60 64 65 70 80 82 91 123 201 203
รถปรับอากาศ 1 8 25 38 39 44 506 507 512
เรือ เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าช้าง

 

 

ความเห็น

ความเห็น