ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตั้งอยู่เลขที่ 32/7 หมู่ 12 ถนนปราจีนอนุสรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตึกหลังนี้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร(ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2452 โดยให้บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเสด็จมณฑลปราจีนบุรีอีก หลังจากที่ได้เสด็จในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2451แต่เสด็จสวรรคตก่อนในกลางปี พ.ศ. 2453
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 เมื่อพระองค์ได้นำเสด็จสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ไปประทับที่ประเทศอังกฤษ จึงประทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นแก่มณฑลทหารบกที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และได้เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2509 โดยมีสมเด็จเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้า สุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จฯมาทรงเปิดป้าย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พร้อมทั้งทรงรับโรงพยาบาลแห่งนี้ไว้ในพระอุปถัมภ์

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบบาโร้ค (Barogue)เป็นตึกสองชั้นมีมุขด้านหน้าตรงกลางเป็นโดมผนังด้านนอกมีลายปูนปั้นลายพฤกษาประดับ ซุ้มประตูและ หน้าต่างภายในตึกแบ่งออกเป็นหลายห้อง ห้องที่งดงามที่สุดคือห้องโถงกลางชั้นล่างซึ่งยังคงลักษณะการตกแต่งภายในแบบเดิม อยู่ครบถ้วนตั้งแต่ลวดลายกระเบื้องปูพื้นภาพเขียนสีปูนเปียกบนเพดาน และลายปูนปั้นหัวเสาปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงประวัติเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ของใช้ประจำตัว พระฉายาลักษณ์พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดีซึ่งทั้งสอง พระองค์เป็นหลานปู่และหลานทวดของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรด้วย ห้องชั้นล่างซีกซ้ายของอาคารจัดเป็น”พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย อภัยภูเบศร” เช่น ตู้เก็บสมุนไพร ครกบดยา รางบดยา หินฝนยา ตำรายาไทย ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาการแพทย์ไทย และสนับสนุนการจัดตั้ง “มูลนิธิหมื่นชำนาญแพทยา” ขึ้นหมื่นชำนาญแพทยา(พลอย แพทยานนท์)เป็นบุตรของแพทย์หลวงประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้า อยู่หัวมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย เป็นอย่างมากพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรเปิดบริการให้เข้าชมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539

เดิมตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเดิม เป็นตึกอำนวยการ ได้มีการดัดแปลงทำชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยา และห้องผ่าตัด ชั้นบนทำหน้าที่รับคนไขัหญิง โดยมีเรือนคนไข้ชายแยกต่างหาก มีเตียงรับคนไข้ 50 เตียง มีโรงประกอบอาหาร คนไข้ โรงซักฟอก ที่เก็บศพ เรือนพักคนงาน บ้านนายแพทย์ อย่างละ 1 หลัง บ้านพักพยาบาลอีก 3 หลัง การเข้าถึงโรงพยาบาล เข้าได้ทางเรือเพียงอย่างเดียว จนมีการสร้างถนนขึ้นในปี พ.ศ. 2486 จนถึงปี พ.ศ. 2512 ตึกอำนวยการในปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จ ส่วนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในการประชุมสัมมนาในบางกรณี

ในปี พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นโบราณสถานของชาติ ต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยงบประมาณของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2.5 ล้านบาท และคุณป้าจรวย ประสมสน บริจาคสมทบอีก 100,000 บาท โดยมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรขึ้น

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นโรงพยาบาลนำร่องเรื่องการแพทย์แผนไทย ผลงาน “โครงการทัวร์สุขภาพโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร” ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวครั้งที่ 4 ประจำปี 2546 รางวัลดีเด่นประเภทโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว โดยใช้สมุนไพรบำบัดยา รักษาโรค มีการนวด อบ ประคบและฝังเข็ม แปรรูปสมุนไพรไทยเป็นเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ  เปิดบริการทุกวันเวลา 08.30-17.00 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โทร. (037) 211 088 ต่อ 3166 หรือ (037) 216 164
เว็บไซต์  www.abhaiherb.com
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลางเขต 8 กลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ โทรศัพท์ (037) 312 282, (037) 312 284 โทรสาร (037) 312 286
สถานีตำรวจภูธรจังหวัดปราจีนบุรี (037) 211 058, 191
ตำรวจทางหลวง (037) 290 066, 193
สถานีรถไฟปราจีนบุรี (037) 211 120
สถานีขนส่งปราจีนบุรี (037) 211 292
โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (037) 211 088
โรงพยาบาลอำเภอกบินทร์บุรี (037) 281 196-7
โรงพยาบาลอำเภอบ้านสร้าง (037) 271 238-9
โรงพยาบาลอำเภอประจันตคาม (037) 291 368-9
โรงพยาบาลอำเภอศรีมโหสถ (037) 276 127
โรงพยาบาลอำเภอศรีมหาโพธิ (037) 279 203-4
โรงพยาบาลอำเภอนาดี (037) 289 057
โรงพยาบาลอิมพีเรียล (037) 211 587

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว 

ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3069 ถนนปราจีนอนุสรณ์

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น