วัดจุฬามณี

วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่ต.บางช้าง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เดิมเรียกว่า “วัดแม่ย่าทิพย์” สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเล่าว่าท้าวแก้วผลึก (น้อย) ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้างเป็นผู้สร้างวัดจุฬามณีขึ้น บริเวณด้านหลังวัดห่างไป 5 เส้น เป็นนิวาสถานเดิมของท่านทองและท่านสั้น พระชนกและพระชนนีของสมเด็จพระอัมรินทร์ทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งภายหลังถูกไฟไหม้ ครอบครัวของท่านจึงย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม อุโบสถวัดจุฬามณีเดิมสร้างจากไม้สักและไม้เนื้อแข็ง จนถึง พ.ศ. 2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท) ได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ทรุดโทรม หลังจากหลวงพ่อเนื่องมรณภาพในปี พ.ศ.2530 พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (อิฏฐ ภททฺจาโร) ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ดำเนินการสืบต่อจนแล้วเสร็จ

เมื่อพูดถึงวัดจุฬามณี คนในพื้นที่แถบแม่กลองจะนึกถึง 3 สิ่งที่อยู่คู่กับวัดนี้ สิ่งแรกก็คือ สังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาสผู้ทรงอภิญญา สิ่งที่สองก็คือ อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความงดงามรวมไปถึงจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ และสิ่งสุดท้ายก็คือองค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวเวสสุวัณ ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้ที่นับถือองค์ท้าวเวสสุวรรณนั้นไม่ควรพลาดที่จะไปขอพร

ประวัติหลวงพ่อเนื่องโกวิทโดยสังเขป

ชาติภูมิของท่านโดยสังเขปเดิมท่านชื่อ เนื่องเถาสุวรรณ เกิดวันที่๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ บิดามารดาชื่อนายถมยา นางตาบ อยู่ที่หมู่บ้านคลองใหญ่ อ.อัมพวา พออายุได้ ๒๒ ปี บรรพชาที่วัดบางกะพ้อม โดยมี หลวงพ่อคงธัมมฺโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อมเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแช่มวัดจุฬามณีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้สมญานามว่า พระโกวิโก

หลวงพ่อเนื่องเคร่งศึกษาทั้งวิปัสสนากรรมฐาน และพุทธาคม โดยได้เรียนจากพระอาจารย์ทั้งสอง จนแตกฉาน และได้จำพรรษาที่วัดจุฬามณีต่อมา จนได้เป็นเจ้าอาวาส ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูโกวิทสมุทรคุณ

มีเรื่องน่าอัศจรรย์ว่าทั้งปีท่านสรงน้ำเพียง 1 วันเท่านั้น ดังนั้น ศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือจึงแห่แหนกันมาในวันสงกรานต์อย่างเนืองแน่น น่าประหลาดที่ร่างกายของท่านกลับไม่มีกลิ่น และเหงื่อไคลแต่อย่างใด

ดังที่ทราบกันว่าอุโบสถไม้หลังเก่าได้ถูกไฟไหม้ไปแล้ว แต่จนลุล่วงมาถึง พ.ศ.2511 พระครูโกวิทสมุทรคุณ (หลวงพ่อเนื่อง) เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี ในขณะนั้น ริเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถใหม่อีกครั้งโดยวางรากฐานตามแบบสถาปัตยกรรมสวยงาม เป็นจตุรมุขหินอ่อน กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร พื้นปูด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานชุกชี ประดับด้วยโคมไฟ บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุก เป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาล ปัจจุบันนี้

มีเรื่องอัศจรรย์หลายเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อเนื่องเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ใบมะนาวเสกเป็นของขลังที่หลวงพ่อมักจะหยิบยื่นให้ผู้ที่ไปกราบไหว้อธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ปรารถนา เช่น บางคนอยู่เป็นคู่สามีภรรยากันมานานนับสิบๆ ปี ก็ไม่มีลูกสักที แต่เมื่อไปอธิษฐานขอกับหลวงพ่อเนื่องแล้ว ท่านให้ใบมะนาวเสกติดกลับบ้าน ชั่วเวลาไม่นานก็ท้องสมใจ หรือบางกรณีมีผู้ไปขอโชคลาภ ก็ได้ไปด้วยความสุขใจ และมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบารมีแห่งความเป็นผู้หยั่งรู้ ทำให้ครั้งหนึ่งหลวงพ่อถูกตั้งกรรมการสอบอธิกรณ์ เพื่อถอดถอนสมณศักดิ์ กรรมการผู้สอบอธิกรณ์ถามหลวงพ่อเนื่องว่า”คุณเนื่องถ้าท่านหยั่งรู้และเห็นเลขจริง ลองให้มาสัก 2-3 ตัวสิ” หลวงพ่อเนื่องตอบว่า”พระเดชพระคุณจะให้สัจจะกับเกล้าได้ไหมว่าจะไม่เอาเลขดังกล่าวไปแทงหวย”

ท่านเจ้าคุณรูปนั้นให้สัจจะวาจาหลวงพ่อเนื่องจึงเขียนเลขลงในกระดาษแผ่นหนึ่ง แล้วยื่นให้ท่านเจ้าคุณนำไปเก็บไว้ในตู้เซฟ พอวันที่หวยออกจึงได้พิสูจน์ความจริง ปรากฏว่าตัวเลขที่หลวงพ่อเนื่องให้ไว้นั้น ถูกรางวัลที่หนึ่งงวดนั้นจริงๆ

กุฏิที่ตั้งศพหลวงพ่อเนื่องเป็นอาคารทรงไทยแฝดสามหลังภายในเขียนลายทองสวยงามมาก ศพหลวงพ่อเนื่องไม่เน่าเปื่อย อยู่ในโลงแก้ว ทุกวันยังมีผู้ที่เคารพนับถือเดินทางไปกราบไหว้ไม่ขาดสาย แม้ว่าหลวงพ่อเนื่องมรณภาพตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 เวลา 06:00 น. ด้วยอาการอันสงบ รวมอายุ 78 ปี รวม 56 พรรษา

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

อุโบสถจตุรมุขหินอ่อน เป็นอุโบสถจตุรมุขหินอ่อน กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายในประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง ประดับประดาด้วยโคมไฟ บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และะรับรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่าง ๆ บานหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีตงดงาม ฝีมือของจิตรกรหญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี

ขนมทองม้วนสูตรโบราณ บริเวณถนนทางเข้าวัดจุฬามณี จะมีร้านขายขนมทองม้วน ซึ่งผลิตจากสูตรการทำดั้งเดิมที่สืบทอดกันมา มีรสชาติอร่อย และมีชื่อเสียงของอำเภออัมพวา

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สมุทรสงคราม โทร. (034) 752 847-8 ,(034) 752 846
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 716 962
สถานีรถไฟสมุทรสงคราม โทร. (034) 711 906
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (034) 714 881
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรสงคราม โทร. (034) 711 338, (034) 720 530-5
สถานีตำรวจภูธรอำเภออัมพวา โทร. (034) 751 300, (034) 725 625-7
สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางคนที โทร. (034) 761 866, (034) 730 062-4
โรงพยาบาลอัมพวา โทร. (034) 751 846-7, (034) 752 560
โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โทร. (034) 723 044-9
ศูนย์บริการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โทร. (034) 711 711, (034) 720 784
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากตัวเมืองสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงหมายเลข 35 (บางแพ-สมุทรสงคราม) เลยทางแยกเข้าอำเภอัมพวาไปประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานข้ามคลองอัมพวา เลี้ยวขวาตรงไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงวัดจุฬามณี

รถประจำทาง จากตัวเมืองสมุทรสงคราม นั่งรถสองแถวสายแม่กลอง-วัดจุฬา คิวรถอยู่บริเวณตลาดธนวัท ซึ่งห่างจากสถานีขนส่งสมุทรสงครามไปประมาณ 100 เมตร รถเข้าถึงวัด

ความเห็น

ความเห็น