Category: อาหารไทย

อาหารเช้ากับเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จ สไตล์ Amarican Breakfast

วันนี้เข้าครัวหาอะไรทานเป็นอาหารเช้า ก็เจอของเหลือๆ ในตู้เย็น ก็เลยคิดทำอาหารเช้าสไตล์ Amarican Breakfast แต่ใช้บะหมี่กึงสำเร็จรูป แทนขนมปังครับ ไปลองทำดูกันครับ เครื่องปรุง ไส้กรอกเหลือๆ แครอทเหลือๆ แตงกวา เนยสด พริกไทยเม็ด มะเขือเทศราชีนี ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เกลือป่น ไข่ไก่ 2 ฟอง ชีสพาเมซาน และก็บะหมี๋กึ่งสำเร็จรูป พี่วู๊ดดี้ชอบเส้นของยี่ห้อไวไวนะครับ เพราะมันเหนี๋ยวนุ่มดีไม่เละง่าย วิธีทำ เตรียมของก่อนครับ นำไส้กรอกมาแกะพลาสติกออก แล้วล้างน้ำ เตรียมไว้ นำไข่ไก่ไปทอดแบบไข่ดาว จัดจานตรียมไว้ จานละใบ ^^ พี่วู๊ดดี้ใช้ไขมันจากเนยสดในการทอดครับ นำแครอท หั่นเป็นแท่งยาว ประมาณสัก 5 เซนติเมตร นำเข้าต้มใน microwave สัก 5 นาที หรือต้มยังไงก็ได้ ^^ เมื่อได้ที่แล้วนำมาเทใส่นำเย็น เพื่อทำให้แครอท ยังคงสดและกรอบ แล้วพักเตรียมไว้ นำบะหมีกึ่งสำเร็จรูปใส่ถ้วย ใส่น้ำพอท่วม แล้วเข้า […]

Read More

วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของชาวล้านนา

ชาวล้านนานิยมรับประทานพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจจะเป็นผักป่า หรือว่าผักข้างรั้ว กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมปรุงอาหารโดยไม่ใส่น้ำตาล มีรสเค็มนำและเผ็ดเล็กน้อย ใช้กะทิปรุงน้อยกว่าภาคกลาง นิยมแกงแบบน้ำขลุกขลิก และน้ำพริกต่างๆก็ค่อนข้างแห้ง เพราะชาวล้านนารับประทานด้วยวิธีปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ แล้วจิ้มลงไปในน้ำแกง [adsense-2] ผักป่า เป็นผักที่ได้มาจากป่า หรือจากแพระ (ป่าละเมาะ) ในฤดูร้อน ได้แก่ ปลีกล้วย ยอดมะขาม ยอดมะม่วง ผักเสี้ยว ผักเฮือด ในฤดูฝน จะมีอาหารจากป่ามาก เช่น หน่อไม้ เห็ด ผักหวาน ผักปู่ย่า ในทุ่งนามีผักสีเสียด ผักกาดนา หรือผักจุมปา ผักแว่น ผักบุ้ง เป็นต้น การจัดสำรับอาหาร จัดใส่ขันโตกหรือโก๊วะข้าว ทำมาจากไม้ นิยมใช้ไม้สักในการทำขันโตก ปัจจุบัน มีการนำเอาหวายมาสานเป็นขันโตกด้วย   (มณี พยอมยงค์, 2548, 460)   ในงานทำบุญใหญ่ เช่น งานปอยหลวง งานปอยหน้อย หรืองานบวชเณร งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ หรือจะเป็นงานศพ […]

Read More

เหมี้ยง

เหมี้ยง เป็นของว่างหลังอาหารของชาวล้านนา ชาวล้านนาจะ “อมเหมี้ยง” เพื่อล้างปาก และลดความเผ็ดและเค็มที่ค้างในปาก เพื่อสร้างบรรยากาศในการคุยกันระหว่างคนในครอบครัวช่วงหลังอาหาร ปัจจุบันนิยมนำเหมี้ยงมาปรุงแต่งรสชาติ มีทั้งเหมี้ยงส้ม (เปรี้ยว) และเหมี้ยงหวาน หรืออีกแบบหนึ่งเรียกว่า “เหมี้ยงทรงเครื่อง” ประกอบด้วย มะพร้าวทึนทีกหั่นฝอยทอด ขิงสดอ่อนหั่นฝอย ถั่วลิสงคั่ว น้ำกระเทียมดอง และเกลือ [adsense-2] ส่วนผสมเหมื้ยง 1. ใบเหมี้ยง 40 กิโลกรัม 2. น้ำเปล่า 3 ถัง วิธีทำำเหมื้ยง 1. เก็บใบเหมี้ยง เลือกเก็บตั้งแต่ใบที่ 5 ถึงยอด เมื่อเด็ดได้เต็มกำก็จะใช้ตอกมัด ใส่ลงตะกร้าจนเต็ม 2. นำเหมี้ยงมานึ่งทันที โดยใส่ลงในไหอัดให้แน่น ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 3. เมื่อนึ่งเสร็จแล้ว เทออกจากไหให้เหมี้ยงเย็น นำมามัดตอกใหม่อีกครั้งหนึ่ง บีบน้ำออกแล้วมัดให้แน่น 4. การเตรียมต่าง (วัสดุในการบรรจุเหมี้ยง) เพื่อนำไปจำหน่าย ใช้ใบตองสาดและถุงพลาสติกในการห่อหุ้ม 2 ชั้น […]

Read More

ผัดหมี่ขนมจีน

ผัดหมี่ขนมจีน หรือข้าวหมี่ หรือคั่วหมี่ เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่ทำมาจากขนมจีน นำมาคั่วหรือผัดกับน้ำมันพืช ใส่เครื่องปรุงหลัก ได้แก่ น้ำอ้อย ซีอิ้วดำ นิยมรับประทานกับผักกาดดองและแคบหมู (ลัดดา กันทะจีน, สัมภาษณ์, 29 กรกฎาคม 2550) [adsense-2] ส่วนผสมผัดหมี่ขนมจีน 1. ขนมจีน 1 กิโลกรัม 2. น้ำอ้อยป่น 3 ช้อนโต๊ะ 3. ซีอิ้วดำ 2 ช้อนโต๊ะ 4. เกลือป่น 1 ช้อนชา 5. กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ 6. น้ำมันพืช 1/2 ถ้วย 7. ผักชี 1 ช้อนโต๊ะ 8. ต้นหอม 1 ช้อนโต๊ะ 9. กระเทียมเจียว 2 ช้อนโต๊ะ 10. […]

Read More

ถั่วต้มอ้อย

ถั่วต้มอ้อย เป็นขนมหวานของชาวไทยอง เป็นขนมที่นิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาดที่มีชาวไทยองอาศัยอยู่ เช่นเดียวกับงาตำอ้อยที่ปัจจุบันหาซื้อรับประทานยาก (เสาวภา ทาแก้ว, สัมภาษณ์, 4 กรกฎาคม 2550) [adsense-2] ส่วนผสมถั่วต้มอ้อย 1. ถั่วแดง 500 กรัม 2. น้ำอ้อยป่น 500 กรัม วิธีทำถั่วต้มอ้อย 1. ล้างถั่วแดงให้สะอาด แช่น้ำพอท่วมไว้ 1 คืน 2. ต้มถั่วแดงจนนุ่ม 3. ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำ โขลกถั่วแดงให้ละเอียด 4. ต้มน้ำอ้อยป่น ใส่น้ำเล็กน้อย ต้มพอละลาย 5. ใส่ถั่วแดงที่โขลกแล้วลงในน้ำอ้อย คนตลอดเวลา จนกระทั่งน้ำอ้อยงวด ปิดไฟ เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม ถ้าอยู่ในฤดูที่มีเม็ดถั่วปี ควรใช้เม็ดถั่วปี จะอร่อยกว่าถั่วแดง   ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Read More

งาตำอ้อย

งาตำอ้อย เป็นขนมหวานของชาวไทยอง นิยมรับประทานในฤดูหนาว มีขายทั่วไปในท้องตลาด ประมาณ 10-20 ปีก่อน ปัจจุบันหาซี้อรับประทานยาก (เสาวภา ทาแก้ว, สัมภาษณ์, 4 กรกฎาคม 2550) [adsense-2] ส่วนผสมงาตำอ้อย 1. งาขี้ม้อน 1 ถ้วย 2. น้ำอ้อย 1 ถ้วย วิธีทำงาตำอ้อย 1. คั่วงาขี้ม้อน ใช้ไฟอ่อนๆ คั่วจนมีกลิ่นหอม 2. ทิ้งไว้ให้เย็น โขลกงาขี้ม้อนให้ละเอียด 3. ใส่น้ำอ้อย โขลกรวมกันให้ละเอียด 4. ใส่น้ำเปล่า 1 ช้อนโต๊ะ โขลกต่อให้เข้ากัน 5. ตักใส่ภาชนะ   ขอบคุณเนื้อหาจาก สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Read More

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม เป็นอาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ชาวล้านนานิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนา จะเป็นพิเศษ เพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร (มณี พยอมยงค์, 2542, 828; มนตรี อาจหาญ, สัมภาษณ์, 13 กรกฎาคม 2550) [adsense-2] ส่วนผสมข้าวหลาม 1. ข้าวสารเหนียว 1 1/2 ลิตร 2. น้ำตาลทราย 400 กรัม 3. กะทิ 3 ถ้วย 4. ถั่วดำถั่วดำต้มสุก 2 ถ้วย 5. เกลือป่น 2 ช้อนโต๊ะ 6. ใบเตย 12 […]

Read More

ข้าวหนุกงา

ข้าวหนุกงา หรือข้าวคลุกงา ใช้งาขี้ม้อน (งาเม็ดกลมสีน้ำตาลเทา) โขลกกับเกลือ และข้าวนึ่งสุกใหม่ๆ ชาวล้านนานิยมทำข้าวหนุกงา ในช่วงฤดูหนาวเฉพาะในช่วงเช้า ซึ่งช่วงนั้นเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ [adsense-2] ส่วนผสมข้าวหนุกงา 1. ข้าวสารเหนียว 1 ลิตร 2. งาขี้ม้อน 1/2 ถ้วย 3. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำข้าวหนุกงา 1. ข้าวสารเหนียวล้างให้สะอาด แช่น้ำไว้ 1 คืน 2. ล้างข้าวที่แช่ไว้ นึ่งไฟกลางประมาณ 25 – 30 นาที 3. พอข้าวนึ่งสุก เทลงในภาชนะ คนข้าวให้ไอร้อนลดลง ก่อนบรรจุไว้ในกล่องข้าว เพื่อเก็บความร้อน 4. คั่วงาขี้ม้อน ใช้ไฟอ่อนๆ จนมีกลิ่นหอม 5. โขลกงาขี้ม้อนและเกลือให้ละเอียด 6. ใส่ข้าวเหนียวร้อนๆ ลงโขลกรวมกัน 7. นวดข้าวหนุกงาจนเป็นเนื้อเดียวกัน เคล็ดลับในการปรุง ข้าวเหนียวต้องเป็นข้าวที่สุกใหม่ […]

Read More

ข้าววิตู

ข้าววิตู หรือข้าวเหนียวแดง บ้างเรียก เข้าอี่ทู หรือเข้าหมี่ตู วิธีการทำนำข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปตั้งไฟผสมกับน้ำอ้อย เมื่อกวนได้ที่แล้วจะนำมาใส่ภาชนะ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วตัดเป็นชิ้นๆ โรยด้วยงาขาว บ้างรับประทานกับมะพร้าวขูด (รัตนา ไชยนันท์, สัมภาษณ์, 28 มิถุนายน 2550) [adsense-2] ส่วนผสมข้าววิตู 1. ข้าวสารเหนียว 2 ถ้วย 2. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ 3. น้ำอ้อยป่น 1 ถ้วย 4. งา 2 ช้อนโต๊ะ 5. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ 6. น้ำเปล่า 1 ถ้วย วิธีทำข้าววิตู 1 ใส่น้ำลงในข้าวนึ่งสุก ใช้ทัพพีบี้ข้าวให้แตกออกจากกัน 2 ใส่น้ำตาลทราย เกลือ และน้ำอ้อย คนให้เข้ากัน 3 นำส่วนผสมตั้งไฟ […]

Read More

ข้าวแต๋น

ข้าวแต๋น เป็นขนมที่นิยมทำกันในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ งานปอยลูกแก้ว และงานปอยหลวง ปัจจุบัน นิยมผสมน้ำแตงโมลงในข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว ก่อนนำมากดลงพิมพ์ เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและความหวานอร่อย (บัวจันทร์ นนทวาสี, สัมภาษณ์, 10 กรกฎาคม 2550) [adsense-2] ส่วนผสมข้าวแต๋น 1. ข้าวสารเหนียว 1/2 ลิตร 2. น้ำแตงโม 1 ถ้วย 3. งางาดำ 2 ช้อนโต๊ะ 4. งางาขาว 2 ช้อนโต๊ะ 5. เกลือป่น 1 ช้อนชา 6. น้ำมันพืช 2 กิโลกรัม วิธีทำข้าวแต๋น 1. คั้นเนื้อแตงโม และกรองเอาแต่น้ำ ผสมงาดำใส่ลงในน้ำแตงโม คนให้เข้ากัน 2. แช่ข้าวสารประมาณ 1 คืน นึ่งข้าวให้สุก เทใส่ชาม เทน้ำแตงโมผสมงาดำลงในชามข้าวเหนียว คลุกเคล้า […]

Read More