วัดหินหมากเป้ง

วัดหินหมากเป้ง ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ หมู่ 4 ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย โดยหลวงปู่์เทสก์ เทสรังสี ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย บริเวณโดยรอบสะอาด เรียบร้อยและเงียบสงบ ร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพันธ์ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับลำน้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม หลังจากหลวงปู่์เทสก์ เทสรังสีท่านมรณภาพ ได้มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของอาจารย์เทสก์ พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย  อีกทั้งวักนี้ยังได้รับการจัดตั้งให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อปี พ.ศ. 2523 อีกด้วยค่ะ

หินหมากเป้ง เป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า คนพื้นนี้เขาเรียกว่า เต็งหรือเป้งยอย คำว่าหมากเป้งเป็นภาษาภาคนี้ ผลไม้หรืออะไรก็ตาม ถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียกหมากขึ้นหน้า เช่น หมากม่วง หมากพร้าว เป็นต้น

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

  • เมรุหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เมรุนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ พระราชนิโรธรังสีฯ (เทสก์ เทสรังสี) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2539 โดยใช้งบประมาณการก่อสร้าง 7,000,000 บาท
  • รูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลังจากเสร็จสิ้น การพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่แล้ว สถานที่แห่งนี้ก็เปลี่ยนเป็นที่ตั้งรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ ให้ประชาชน ศิษยานุศิษย์ ได้มาเคารพสักการะหลวงปู่ ซึ่งก็มีประชาชนเดินทางมากราบไหว้ทุกวันไม่ขาดสาย
  • เจดีย์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี นับเป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ชื่ออย่างเป็นทางการเรียกว่า เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระราชนิโรธรังสีฯ วางศิลาฤกษ์ 26 เมษายน 2534 เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2534 สิ้นงบประมาณ 18,000,000 บาท เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน ทรงบรรจุอัฐิพระราชนิโรธรังสีฯ (เทสก์ เทสรังสี) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540 นับเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของวัดหินหมากเป้ง ที่ประชาชนที่มาวัดนี้ควรจะต้องเข้าสักการะรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ และชมเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่ที่ท่านใช้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เครื่องอัฐบริขารที่จำเป็นในการออกจาริกแสวงบุญ วิปัสสนากัมมัฏฐาน ธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ภายในมีตู้กระจกด้านหนึ่งแสดงพัดยศของหลวงปู่ แล้วอีกด้านหนึ่งจัดแสดงหนังสือธรรมะต่างๆ อันเป็นคำสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หนังสือธรรมะอีกมากมายที่หลวงปู่อ่านเพื่อศึกษาพระธรรม หนังสือเหล่านี้จะดูเก่ามาก และมีราชรถอัฐิธาตุหลวงปู่เทสก์ และเครื่องอัฐบริขารหลวงปู่เทสก์ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับศิษยานุศิษย์ ได้ระลึกถึงพระบูรพาจารย์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นเครื่องอัฐบริขารที่หลวงปู่ใช้ในขณะที่มีชีวิตอยู่ ได้แก่ ไตรจีวร บาตร นาฬิกา มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ ช้อน ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุในยามออกธุดงค์ ตามสายทางของพระปฏิบัติ ที่ยึดถือหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทั่วไปที่ได้พบเห็น
  • ลานหินริมโขงวัดหินหมากเป้ง เป็นจุดชมวิวจุดหนึ่งที่มองจากระเบียงบนหินหมากเป้ง จะมองเห็นลานหินกว้างใหญ่เบื้องล่างริมแม่น้ำโขง ทางลงไปยังลานหินนี้ต้องเดินผ่านกุฎิที่สร้างเรียงรายลาดลงไปตามแนวตลิ่ง
  • ศาลารูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ อยู่ด้านข้างมณฑปหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เดินจากอุโบสถมา จะถึงศาลาแห่งนี้ก่อน ภายในมีรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์อยู่ในท่านั่ง เป็นสถานที่ที่มีประชาชนเดินทางมาสักการะหลวงปู่เทสก์ มากที่สุด เพราะมีกระถางธูป เชิงเทียน พร้อมที่วางดอกไม้ไว้ให้ ศิษย์สายหลวงปู่เทสก์ ก่อนจะออกธุดงค์ จะมาสักการะหลวงปู่ที่นี่ก่อนเสมอเหมือนกับที่เห็นอยู่ในภาพ
  • มณฑปอนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มณฑปหลังนี้เป็นศาสนสถานที่มีลักษณะของศิลปกรรมแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งสำเร็จลงด้วยความร่วมมือของศิษยานุศิษย์ ผู้มีจิตศรัทธาในองค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เริ่มทำสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2522 รวมงบประมาณการก่อสร้างประมาณ 5,000,000 บาท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอันเชิญสู่ยอดมณฑปด้วยฉัตร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2524 สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (วาสนะมหาเถระ) ได้ทรงเมตตาเสด็จมาประทับแรม และทรงเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองเมื่อวันที่ 25-26 เมษายน 2525 อันเป็นโอกาสเดียวกับการเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปี กรุงรัตนโกสินทร์
  • ศาลาหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากมณฑปอนุสรณ์ เดินย้อนขึ้นมาทางศาลาการเปรียญ กลับมายังลานจอดรถก็จะผ่านศาลาหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ภายในศาลามีหุ่นขี้ผึ้งลักษณะกำลังก้าวย่างของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มีขนาดเท่าจริง และมีความเหมือนจริงอย่างมาก เมื่อเข้ามาพบเห็นรู้สึกเหมือนกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสียังมีชีวิตอยู่ หุ่นขี้ผึ้งยืนอยู่บนฐานที่ค่อนข้างกว้าง มีป้ายกำกับว่าห้ามจับหุ่นหลวงปู่ ผนังด้านในของศาลาหุ่นขี้ผึ้ง เป็นประวัติการเดินทางคร่าวๆ ของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่เดินทางจำพรรษาไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยอย่างไม่น่าเชื่อ นิทรรศการชุดนี้เรียกว่า 72 พรรษาของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จังหวัดต่างๆ ที่หลวงปู่ได้ไปจำพรรษา อย่างเช่น หนองคาย จันทบุรี พังงา ภูเก็ต จนกระทั่งมรณภาพที่วัดถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร

[adsense-2]

ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม

ตำรวจทางหลวง โทร. (042) 420093
ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 5 จ.อุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่จ.หนองคายด้วย) โทร. (042) 325406-7
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (042) 412110
ไปรษณีย์จังหวัด โทร. (042) 411521
สถานีขนส่งจังหวัด โทร. (042) 411612
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. (042) 411021, 411071
โรงพยาบาลเซกา โทร. (042) 489099
โรงพยาบาลท่าบ่อ โทร. (042) 431015
โรงพยาบาลบึงกาฬ โทร. (042) 491162-3
โรงพยาบาลบึงโขงหลวง โทร. (042) 489008
โรงพยาบาลปากคาด โทร. (042) 481099-100
โรงพยาบาลพรเจริญ โทร. (042) 487099
โรงพยาบาลโพนพิสัย โทร. (042) 471204-5
โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ โทร. (042) 451125
โรงพยาบาลศรีวิไล โทร. (042) 497099
โรงพยาบาลสังคม โทร. (042) 441051
โรงพยาบาลหนองคาย โทร. (042) 411360, 411366

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  จากตัวเมืองหนองคาย ใช้ทางหลวงหมายเลข 211 (หนองคาย-ศรีเชียงใหม่) วัดหินหมากเป้งจะอยู่ทางขวามือประมาณหลักกิโลเมตรที่ 64 ริมถนนด้านขวามือ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 75 กิโลเมตร หรืออยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 30 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น