วัดป่าห้วยลาด

วัดป่าห้วยลาด ตั้งแยู่เลขที่ 135 หมู่ 3 ถนนเลย – ด่านซ้าย ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยก่อนที่จะมาเป็นวัดป่าห้วยลาด ได้ก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ห้วยลาด โดยหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ซึ่งได้จาริกธุดงค์มาที่ภูคลั่ง ใกล้ๆกับหมู่บ้านห้วยลาด ชาวบ้านห้วยลาดมีความศรัทธาเลื่อมใส จึงได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ชอบ ตั้งสำนักสงฆ์ห้วยลาดขึ้นเมื่อปี 2483 เมื่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์แล้ว หลวงปู่ชอบได้พักอยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้เพื่ออบรมสั่งสอนชาวบ้านห้วยลาดและหมู่บ้านใกล้เคียงระยะหนึ่ง จากนั้นท่านก็ได้เดินทางจาริกธุดงค์ต่อไป

นับจากปี 2483 เป็นต้นมา สำนักสงฆ์ห้วยลาดได้มีครูบาอาจารย์ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตโต มาพักเพื่อปฏิบัติธรรม จำพรรษา เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด เช่น หลวงปู่ลี กุสลธโล, หลวงปู่ปุญญฤทธิ์ ปัณฑิโต, พระอาจารย์จันเรียน คุณวโร, พระอาจารย์นิพนธ์ อภิปสันโน เป็นต้น

พระอาจารย์จันเรียน ได้มาก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นในปี 2518 และได้พักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ 3 พรรษา สำนักสงฆ์ห้วยลาดนับแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2483 เป็นต้นมา แม้จะมีพระภิกษุ สามเณร มาพักจำพรรษามิได้ขาด แต่ก็เป็นการอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เสนาสนะส่วนใหญ่ทำเป็นแบบชั่วคราว คือทำเป็นกระต๊อบมุงหลังคาด้วยหญ้าคา พื้นปูด้วยฟากไม้ไผ่เท่านั้น ยังไม่ได้มีการพัฒนาสำนักสงฆ์ห้วยลาดให้เป็นวัดที่มั่นคงถาวร

พระอาจารย์อุทัย ฌานุตฺตโม (ท่านอาจารย์ติ๊ก) ลูกศิษย์ของพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) ได้จาริกธุดงค์ผ่านมาที่สำนักสงฆ์ห้วยลาด เห็นว่าเป็นที่สัปปายะเหมาะแก่การภาวนา ทั้งเคยมีครูบาอาจารย์มาบำเพ็ญภาวนาอยู่เสมอ นับว่าเป็นสถานที่มงคลแห่งหนึ่งในพุทธศาสนา แต่ตกอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรม จึงดำริว่าควรจะมีผู้อยู่ประจำสำนักสงฆ์เก่าแก่แห่งนี้ และยกระดับให้เป็นวัดที่มั่นคง ยั่งยืน ถาวร สืบต่อไป

ดังนั้นในปี 2537 พระอาจารย์อุทัย ฌานุตฺตโม (ท่านอาจารย์ติ๊ก) จึงได้กลับมาจำพรรษาที่สำนักสงฆ์ห้วยลาด อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และได้เป็นผู้นำพาชาวบ้านห้วยลาด และพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธาให้ช่วยกันพัฒนาสำนักสงฆ์ห้วยลาดอย่างจริงจัง ที่สำคัญคือการขยายที่ดินของวัด จากเดิมมีพื้นที่ 17 ไร่ ชาวบ้านห้วยลาด และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันบริจาคที่ดินถวายวัด และบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินที่ติดวัดเพิ่มเติม จนในปัจจุบันวัดป่าห้วยลาดมีพื้นที่ประมาณ 370 ไร่ นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา พระอาจารย์อุทัย ฌานุตตโม ได้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะสำนักสงฆ์ห้วยลาดอย่างจริงจัง ได้ดำเนินการปลูกป่า ก่อสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม เช่น วิหาร, เจดีย์, โรงครัว, โรงทาน, อ่างเก็บน้ำ, กำแพงวัด, ถนน เป็นต้น

สำนักสงฆ์ห้วยลาด ได้ดำเนินการขอจดทะเบียนตั้งวัด และได้รับหนังสือรับรองสภาพวัด จากกรมการศาสนาที่ ศธ. 0303/1549 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2540 ให้เป็นวัดสมบูรณ์ตาม พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ วัดป่าห้วยลาดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 ในปี 2548 คณะกรรมการโครงการสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ โดยมีพระอาจารย์อุทัย ฌานุตฺตโม เป็นประธาน และคุณทวี บุตรสุนทร เป็นประธานที่ปรึกษา ได้มีฉันทานุมัติให้สร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติขึ้น และได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2548

[adsense-2]

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

  • อุโบสถ ตั้งอยู่อย่างสง่างามด้านล่างของภูคลั่ง ภายในอุโบสถเป็นสถานที่ตั้งของพระสัพพัญญู เป็นพระประธานสีขาว หรือหลวงพ่อขาวทั้งองค์ขนาดใหญ่ วยงามมาก
  • วิหาร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  โครงหลังคาเหล็ก  มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ทรงไทยประยุกต์ กว้าง 12 เมตร ยาว 25 เมตร  ใช้ปฏิบัติกิจกรรมของพระสงฆ์  และประกอบพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
  • เจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์ธาตุ เป็นที่สักการบูชาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร สูงจากฐานถึงยอด  31  เมตร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

วัดป่าห้วยลาด เลขที่ 135 หมู่ 3 ถนนเลย – ด่านซ้าย ตำบลสานตม อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
โทร. (080) 815 3018 แฟกซ์. (042) 810958
Email : [email protected]
เว็บไซต์ : http://www.watpahuaylad.org
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย โทรศัพท์ (042) 812812
สอบถามข้อมูลท่องเที่ยว 1672
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง 1193
บริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669
ประชาสัมพันธุ์จังหวัดเลย (042) 811258
เทศบาลเมืองเลย (042) 811324
ตำรวจภูธรจังหวัดเลย (042) 811254
สถานีตำรวจภูธรเมืองเลย (042) 811254
โรงพยาบาลเลย (042) 862123
โรงพยาบาลเมืองเลยราม (042) 833400 -19
สถานีขนส่งจังหวัดเลย (042) 833586
ที่ทำการไปรษณีย์เลย (042) 812022

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ขับรถจากอำเภอภูเรือมาทางทิศตะวันออก 7 กิโลเมตร วัดอยู่ห่างจากจังหวัดเลย 42 กิโลเมตรและห่างจากอำเภอด่านซ้าย 42 กิโลเมตร

 แผนที่

ความเห็น

ความเห็น