วัดเขาเจดีย์

วัดเขาเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางสน อำเภอปะทิวบนยอดเขามองเห็นพระพุทธรูปยืนสีทององค์ใหญ่โดดเด่นแต่ไกล บริเวณวัดมีเจดีย์เก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา เล่ากันมาว่าเมื่อสร้างเจดีย์เสร็จก็เสียกรุงศรีอยุธยา บนยอดเขามองเห็นพระพุทธรูปยืนสีทององค์ใหญ่โดดเด่นแต่ไกล เรียกกันว่า พระบูรพาบรรพต อยู่เคียงองค์เจดีย์สีขาวบริสุทธิ์ จากจุดชมวิวที่วัด นอกจากจะชมวิวทะเลสวยๆแล้ว เรายังจะได้เห็นภาค เกษตรกรของชาวอำเภอปะทิว เห็นเขาพลูและเขาแมว สามารถนำรถยนต์ขึ้นไปได้จนถึงตัวองค์พระ ด้านบนมีลานจอดรถ

ประวัติความเป็นมา

จากคำบอกเล่าสืบทอดกันมาเกี่ยวกับประวัติการสร้างวัดเขาเจดีย์นั้นเล่ากันว่า เจ้าอ้าย เจ้ายี่เป็นเศรษฐี ๒ พี่น้องได้แล่นสำเภาขนาดใหญ่บรรทุกสิ่งของเครื่องใช้มากมาย พร้อมด้วยเหล่าบริวาร มาจอดเรือที่โคกยายแรม(หน้าวัดสุวรรณารามปัจจุบันนี้) เพื่อหายอดเขาที่สวยงามสำหรับก่อสร้างเจดีย์ได้พบยอดเขาที่ตั้งเขาเจดีย์จึงได้ให้บ่าวไพร่นำธงขึ้นไปปักบนยอดเขาแล้ว ทำการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นโดยใช้คนยืนส่งก้อนอิฐที่จะสร้างเจดีย์โดยใช้คนส่งมือต่อมือจากที่เรือจอดบริเวณท่าโคกยายแรมถึงยอดเขาบางกระแสเล่าว่าเจ้าอ้ายพญา และเจ้ายี่พญา ซึ่งมีชีวิตอยู่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้าง โดยอ้างว่าเจ้าอ้ายพญาและเจ้ายี่พญาได้รวบรวมสิ่งของต่างๆ พร้อมด้วยบริวารลงเรือสำเภาเดินทางไป เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อสร้างพระบรมธาตุ แต่เมื่อมาถึงเมืองปะทิวได้ทราบว่าทางนครศรีธรรมราชได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้สำรวจยอดเขาบริเวณเมืองปะทิว พบยอดเขายอดหนึ่งที่สวยงามมาก จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นบนยอดเขา เขาลูกนี้จึงได้เรียกว่า ?เขาเจดีย์?

ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึง พระยาศรีธรรมโศกราชทำศึกกับ ท้าวอู่ทอง เจ้ากรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้ตกลงเป็นไมตรีต่อกันสถานที่ที่พระยาศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช กับท้าวอู่ทองมาทำการแบ่งเขตแดนและทำไมตรีต่อกัน บ้างก็ว่าน่าจะเป็นบริเวณตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพรในปัจจุบัน(บ้างก็ว่าอยู่ในเขตอำเภอบางสะพาน จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์) บริเวณชายทะเลมีหมู่บ้านที่มีชื่อเรียกจนถึงปัจจุบันว่า บ้านหน้าทับและบริเวณนี้มีเส้นทางที่สามารถเดินทางไป ค้าขายติดต่อระหว่างเมืองต่างๆ ในภาคใต้มาช้านานแล้ว เพราะเป็นเส้นทางไปสู่บ้านรับร่อ เมืองท่าแซะ ผ่านไปเมืองกระบุรี สำหรับคำว่ารับร่อนั้นสันนิฐานว่าน่าจะหมายถึงการที่ทัพท้าวศรีธรรมโศกราชมา รอทัพท้าวอู่ทองมีเรื่องเล่ากันมาอีกว่า บริเวณตำบล

บางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีวัดโบราณอยู่มากมายแต่ไม่เป็นแบบถาวรเมื่อเมืองร้างก็เสื่อมสลายไปหมด และอาจเป็นไปได้ว่าเขตของอำเภอปะทิวเป็นเขตที่ท้าวอู่ทองและพระยาศรีธรรมโศกราชได้ทำการแบ่งเขต ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชที่กล่าวมา ตั้งตรงแม่น้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งดูจะเข้าเค้ากับแม่น้ำบางสนเพราะสมัยก่อนเรือสำเภาขนาดใหญ่สามารถแล่นมา ได้อย่างสบายและเคยมีผู้พบสมอและโซ่เรือใหญ่ พร้อมกับกระดูกงูเรือใหญ่บริเวณตลาดเก่า(สะพานหินเหล็กไฟ)และเมื่อคราวสร้างทางรถไฟก็ยังใช้แม่น้ำเส้นนี้ลำเลียงรางรถไฟมาสู่สถานีรถไฟปะทิวจากตำนานและคำบอกเล่าน่าจะแสดงว่าเมื่อสมัยที่มีการสร้างเจดีย์บริเวณดังกล่าวของอำเภอปะทิวคงจะเป็นเมืองอยู่แล้วและคงจะเป็นเมืองทางผ่านในการเดินทัพและการค้าขาย

[adsense-2]

องค์เจดีย์ ตั้งอยู่บนยอดเขาซึ่งมีลักษณะเป็นลานเรียบ ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละประมาณ 9 เมตร ฐานยกสูง 3 ชั้น ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงแก้วล้อม รอบฐานด้านในกำแพงแก้วเป็นเฉลี่ยงให้เดินทักษิณาวัตร มีบันไดทางขึ้นทางเดียว อยู่ทางทิศตะวันออกซึ่งมีซุ้มมุขประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดง ปางมารวิชัย เหนือซุ้มมุขเป็นบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์ระฆังกลมชลูด ส่วนยอดเจดีย์หักเนื่องจากถูกขโมยขุดหาสมบัติจนชำรุดทรุดเอียงไป ทางด้านทิศเหนือขององค์เจดีย์ยังปรากฎร่องรอยซากฐานอุโบสถขนาดย่อม เศษกระเบื้องเชิงชายเป็นรูปเทพนมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะเป็นศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ประเพณีที่น่าสนใจ ในช่วงเวลากลางเดือน 5 ของทุกปี ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะมีงานฉลองหรืองานประจำปีขึ้นเขาเจดีย์ มีประชาชนขึ้นไปนมัสการองค์พระกันเป็นจำนวนมาก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานชุมพร(เยื้องสถานีบริการน้ำมัน ปตท.) ห่างจากสถานีรถไฟ 200 ม. เลขที่ 111/11-12 ถ.ทวีสินค้า ต.ท่าตะเภา อ.เมือง จ.ชุมพร 86000
โทรศัพท์. 0-7750-1831-2 , 0-7750-2775-6
โทรสาร. 0-7750-1832 อีเมล: [email protected]
กองกำกับการตำรวจภูธร: โทร 0-7750-1039
โรงพยาบาลจังหวัดชุมพร: โทร 0-7750-3672
สถานีขนส่งจังหวัด: โทร 0-7757-6803
สถานีรถไฟชุมพร: โทร 0-7750-1103
ตำรวจท่องเที่ยว: โทร 1155
ตำรวจทางหลวง: โทร 1193,0-7753-4200-1
ศูนย์กู้ชีพ นเรนทร ชุมพร: โทร 1669

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

ระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอปะทิว 500 เมตร วัดตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข 4

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น