เขางู

เขางู ตั้งอยู่บริเวณแหล่งภูเขาหินปูน ในสวนสาธารณะเขางู ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันทางจังหวัดได้จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ชื่อว่าอุทยานหินเขางู แต่เดิมเป็นแหล่งระเบิดและย่อยหินที่สำคัญของไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นปูนที่มีคุณภาพดี ต่อมาทั้งภาครัฐและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความเสื่อมโทรมของสภาพภูมิประเทศ และวิวทิวทัศน์ อีกทั้งที่เขางูนี้ยังเป็นศาสนสถานอันเก่าแก่ จึงได้มีการยกเลิกสัมปทานการระเบิดและย่อยหินที่บริเวณนี้ไป หลังจากยกเลิกสัมปทาน เขางูกลายเป็นเหมืองร้าง มีสภาพทรุดโทรม ทางจังหวัดราชบุรีจึงได้พัฒนาเขางูให้เป็นสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยว ทางโบราณคดี ได้สร้างพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ เต็มพื้นที่หน้าผา สร้างจากการยิงแสงเลเซอร์ลงหน้าผาหิน ต่อมาได้เพิ่มการท่องเที่ยวแนวผจญภัยเข้าไปเรียกว่า ‘เขางู แอดเวนเจอร์ ปาร์ค’ โดยมีเทศบาลตำบลเขางูเป็นผู้ดูแลรักษา

ตำนานเขางู

มีประวัติศาสตร์อันยาวนานจากคำบอกเล่าของ คุณรงค์ คุ้มจิตร เล่าว่าเขางูมีตำนานเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เขางูเป็นเมืองลับแล เล่าว่าที่ถ้ำแห่งนี้สามารถทะลุผ่านไปยังเมืองลับแล ซึ่งมีผู้คนชาวลับแลอาศัยอยู่ แต่ไม่มีผู้ใดมองเห็นคนพวกนี้ได้ วันดีคืนดีจะมีเสียงปี่พาทย์ดังออกมา ในสมัยก่อนเมื่อเช้าบ้านจะเลี้ยงพระ จะไปอธิษฐานขอยืมถ้วยชาม จากคนลับแล ก็จะมีถ้วยชามจัดไว้ตามที่ขอยืม ต่อมามีคนยืมแล้วไม่นำเอาไปคืน ทำให้คนลับแลไม่ให้ยืมอีกต่อไป ปากถ้ำที่เข้าสู่เมืองลับแล จึงปิดต่อมาได้ทำกำแพงกั้นไว้ และเมื่อจังหวัดมาบูรณะไว้ รถไถจึงไถดินมาไว้บริเวณปากถ้ำ โดยที่ไม่มีที่มาทำให้ปากถ้ำที่เป็นเสมือนกำแพงสู่ตำนานที่เล่าขานกันมานั้นก็หายไป และนี่คงเป็นที่มาของถ้ำเขางู ซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณของเทือกเขางูตามประวัติจารึก จากจารึกกระเบื้องจาร จัดอรัญญิกหน้าเขางูกล่าวว่า “หาญบุญไทย” เขางูเป็นแหล่งโบราณคดี ที่เก่าแก่นับเนื่องได้ตั้งแต่สมัย ทรารวดี ที่มาสร้างเมืองใหญ่ที่คูบัว จึงสันนิษฐานว่าเขางู ได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศตวรรษ 12-13 ห่างจากคูบัวประมาณ14 กิโลเมตร เพื่อใช้เป็นศาสนสถาน ให้พระภิกษุสงฆ์ มาจำพรรษา ปฏิบัติธรรมที่ต้องการความวิเวกห่างไกลจากผู้คนในเมือง รูปขนาดใหญ่จำหลักบนหน้าผา เขางูราชบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวของราชบุรี เป็นที่มาต่างๆให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมเขาพระ มากราบไหว้พระที่เขางู ลักษณะเป็นถ้ำ หรือ ศาสนสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ภายในถ้ำที่บนพระพุทธรูปมีลักษณะพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท สูง 2.50 เมตรพระหัตถ์ขวาแสดงปาง วิตรรกะหรือปางแสดงธรรม-เทศนา พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ (พุทธศตวรรษที่ 11-13) ลักษณะพระพักตร์แบน พระขนงสลักเป็นเส้นนูนโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา และขมวดพระเกศาใหญ่ มีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ระหว่างข้อพระบาทมีจารึกอักษร ปัลลวะ ภาษาสันสกฤต 12 ตัว 1 บรรทัดเป็นรูปแบบอักษรที่นิยมใช้แถบอินเดียตอนใต้ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 -12 อ่านว่า “ปุญกรมชระ ศรีสมาธิคุปต (ะ)” แปลว่า พระศรีสมาธิคุปตะ เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการทำบุญ ลักษณะของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทนี้ คล้ายกับพระพุทธรูปนั่งห้อย พระบาทในถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย บริเวณผนังถ้ำฤาษีทางด้านตะวันตก พบภาพจำหลักบนผนังถ้ำ เป็น รูปพระพุทธรูปประทับยืนแสดงปางประทานอภัย สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11 -13 เช่นเดียวกัน บริเวณโดยรอบพระเศียรพระพุทธรูปมีร่องรอยสีแดงติดอยู่ สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงจะมีการทาสีที่ องค์พระพุทธรูปด้วยเขางูจึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้ทราบว่า พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมากว่า 1000 ปี จากตำนานความเชื่อของชาวบ้าน ที่มีเรื่องราวเล่าขานกันมากล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายัง ราชพลีและประทับ ณ ถ้ำแห่งนี้ จึงปรากฏเงาไม่ลบจาง พระพุทธรูปจำหลักนี้ จึงได้ชื่อว่า พระพุทธฉายเขางู

ในปัจจุบันก็ยังคงมีตำนานเล่าขานว่า มีเจ้าพ่อเขางูซึ่งเป็นงูตัวใหญ่คอยปกปักษ์รักษาประชาชนที่มาสักการะและบุคคลที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของท่าน เพราะมีเรื่องเล่าว่า บริเวณเขางู เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว มีงูอาศัยอยู่มาก บางตัวขนาดยาวมาก หัวและหางอยู่กันคนละฝากถนน แต่เมื่อคนบุกรุกที่ดินทำกิน งูเหล่านั้นจึงหายหมด และที่เขางูมีรอยพระพุทธบาทจำลอง จึงมีความเชื่อว่า หากได้มาสักการะปีละหนก็จะทำให้เกิดความสุขความเจริญ ประชาชนชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายมอญ จึงเดินทางหลั่งไหลมาร่วมงานทำบุญสารทเดือน 10 ซึ่งเป็นหน้าน้ำ คนเหล่านั้นจึงพายเรือมาเที่ยวงาน จึงทำให้เกิดประเพณีแข่งเรือที่เขางู ฉะนั้นคนราชบุรีจะขาดไม่ได้ที่จะมาเที่ยวงานเขางูทุกปี แต่ปัจจุบันสโมสรโรตารีเป็นผู้กำหนดให้มีจัดงานเขางูในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ประมาณปี พ.ศ. 2537 ทางจังหวัดยังเริ่มพัฒนาบริเวณเขางูให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเรื่อยมา

อุทยานหินเขางู ตั้งอยู่บริเวณแหล่งภูเขาหินปูน ในสวนสาธารณะเขางู ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี[1] แต่เดิมเป็นแหล่งระเบิดและย่อยหินที่สำคัญของไทยตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นปูนที่มีคุณภาพดี ต่อมาทั้งภาครัฐและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความเสื่อมโทรมของสภาพภูมิประเทศและวิวทิวทัศน์ อีกทั้งที่เขางูนี้ยังเป็นศาสนสถานอันเก่าแก่ จึงได้มีการยกเลิกสัมปทานการระเบิดและย่อยหินที่บริเวณนี้ไป หลังจากยกเลิกสัมปทาน เขางูกลายเป็นเหมืองร้าง มีสภาพทรุดโทรม ทางจังหวัดราชบุรีจึงได้พัฒนาเขางูให้เป็นสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดี ได้สร้างพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ เต็มพื้นที่หน้าผา สร้างจากการยิงแสงเลเซอร์ลงหน้าผาหิน ต่อมาได้เพิ่มการท่องเที่ยวแนวผจญภัยเข้าไปเรียกว่า ‘เขางู แอดเวนเจอร์ ปาร์ค’ โดยมีเทศบาลตำบลเขางูเป็นผู้ดูแลรักษา

ถ้ำในบริเวณเขางู

ถ้ำฤๅษี พบพระพุทธรูปสมัยทวารวดี 2 องค์ องค์แรกประทับห้อยพระบาท (ประลัมพปาทาสนะ) พระหัตถ์ขวาอยู่ในปางแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) พระหัตถ์ซ้ายวางในพระเพลา ระหว่างพระบาทมีจารึกว่า ปุญกรมชฺระ ศฺรีสมาธิคุปฺต (ะ) แปลว่า พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการกระทำบุญ อีกฟากของผนังถ้ำมีพระพุทธรูปยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปปางสมาธิอื่นๆอีกหลายองค์

ถ้ำฝาโถ พบพระพุทธรูปนอนจำหลักปางมหาปรินิพพานมีประภามณฑลและลายปูนปั้นรูปต้นสาละ ด้านบนมีรูปเทพชุมนุม ผนังด้านตรงข้ามมีภาพสาวก2 องค์

ถ้ำจีน พบพระพุทธรูปจำหลัก 2 องค์ ปางสมาธิ พระหัตถ์แสดงวิตรรกมุทรา มีร่องรอยของการพอกปูนทับ องค์ที่อยู่ใกล้ปากถ้ำมีรอยหักพัง ไม่สมบูรณ์

ถ้ำจาม พบพบพระพุทธรูปนอนจำหลักปางมหาปรินิพพาน และภาพยมกปาฏิหาริย์ มีภาพปูนปั้นรูปต้นมะม่วง ถัดมายังพบรูปบุคคลยืนซ้อนกันและรูปพญานาคอีกด้วย

พุทธสถานแต่ละถ้ำนี้ น่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เนื่องจากมีลักษณะทางศิลปกรรมมีความใกล้เคียงกัน และจากการเปรียบเทียบกับงานศิลปะอื่นๆก็สามารถกำหนดช่วงเวลาของศิลปะบริเวณ เขางูนี้ได้ว่า อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่13-14 นี่เองและด้วยความสมบูรณ์และจำนวนพุทธศิลป์ที่มีอยู่มากที่เขางูนี้ จึงแสดงให้เห็นว่าที่ถ้ำเขางูนี้น่าจะเป็นศาสนสถานที่สำคัญของดินแดนแถบนี้ เหมือนเมืองสำคัญๆเช่น เมืองนครปฐมโบราณ

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดทุกวันตั้งแต่ 08.00 – 17.00 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สำนักงานภาคกลาง เขต 2 โทร.(032) 471 005
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 315 372
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดราชบุรี โทร.(032) 326 016
สำนักงานจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 337 009,(032) 325 800
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 338 994
สถานีเดินรถราชบุรี โทร.(032) 321 854
สถานีรถไฟราชบุรี โทร.(032) 337 002
สำนักงานขนส่งจังหวัดราชบุรี โทร.(032) 322 232-4,(032) 324 009
ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวง โทร.(032) 337 304
ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี โทร.(032) 337 015
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองราชบุรี โทร.(032) 315 494
โรงพยาบาลราชบุรี โทร.(032) 327 999
โรงพยาบาลเมืองราช อ.เมือง โทร.(032) 322 274-80
โรงพยาบาลพร้อมแพทย์ อ.เมือง โทร.(032) 315 234-9
ที่ว่าการอำเภอสวนผึ้ง โทร.(032) 95 156
สถานีตำรวจภูธรอำเภอสวนผึ้ง (032) 395 111
โรงพยาบาลสวนผึ้ง โทร.(032) 364 496-8

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ วิ่งเส้นเพชรเกษม มาทางนครปฐม เข้ามาทางราชบุรี ตรงมาโดยไม่เข้าตัวเมือง เลี้ยวขวาที่แยกเจดีย์หัก เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 3291 จากนั้นจะพบกับสามแยกพลับพลาชัย เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย 3089 ตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะถึงปากทางเข้าอุทยานหินเขางูอยู่ทางซ้ายมือ มีรูปสลักของพระปางลีลาขนาดใหญ่เป็นจุดสังเกต

แผนที่

 

ความเห็น

ความเห็น