วัดเขานางบวช

วัดเขานางบวช ตั้งอยู่บนเขานางบวช มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นวัดสำคัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเรื่องราวราวเล่าขานที่น่าสนใจ มีทั้งทางราดยางและบันได 249 ขั้น ขึ้นไปจนถึงยอดเขา เป็นวัดของพระอาจารย์ ธรรมโชติ ผู้ทรงคุณวุฒเครื่องรางของขลังสมัยศึกบางระจัน ชาวบ้านบางระจันได้นิมนต์ไปเป็นกำลังใจการสู้รบ กับพม่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ในวิหาร พระอาจารย์ธรรมโชติ ด้านหลังเป็นเจดีย์แผ่นหิน รูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ ภายในศาลามีพระพุทธรูปสมัยรัชกาลที่ 5

ประวัติ และที่มาของวัดเขานางบวช
ราวปี 1826 มีหญิงชื่อชบา เป็นสนมแห่งพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทัย เกิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชสละทางโลกเข้าจำพรรษารักษาศีลอยู่ในถ้ำบนยอดเขาแห่งนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกเขาแห่งนี้ว่า “เขานางบวช” (ถ้ำอยู่ด้านหลังศาลา) ปัจจุบันปากถ้ำทรุดไม่สามารถเข้าไปได้ เล่ากันว่าภายในถ้ำมีข้าวของ เครื่องประดับจำนวนมาก
สันนิฐานว่าเป็นของพวกที่ติดตามนางสนมชบา แต่ของเหล่านั้นได้สูญหายไปเมื่อปี พ.ศ.2402 และบางช่วงเวลา วัดแห่งนี้ได้เป็นวัดร้างในบางปีด้วยเครื่อประดับชิ้นสุดท้ายที่พบบริเวณปากถ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นกำไรหยกหัวพญานาค แต่ผู้พบมิได้ถวายเป็นสมบัติวัด

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

ศาลาพระอาจารย์ธรรมโชติ ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเนื้อสำริด ปางห้ามสมุทร สมัยอยุธยาตอนต้น อายุกว่า 700 ปี เป็นพระพุทธรูปที่รับกาลที่ 5 ทรงโปรดรับสั่งให้นำกลับพระราชวัง เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น เพื่อบูรณะ และส่งกลับมาประดิษฐานที่วัดภายหลังจากที่บูรณะเสร็จแล้ว

วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นสถานที่พระอาจารย์ธรรมโชติใช้จำพรรษา สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ ประมาณปี พ.ศ.2308ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง (สำริด) อายุกว่า 250ปี

อุโมงค์ที่พระอาจารย์ธรรมโชติใช้หลบซ่อนตัวจากทหารพม่า หลังจากที่ค่ายบางระจันแตกพระอาจารย์ธรรมโชติ ได้กลับมาอยู่ที่วิหารนี้ และได้มีทหารพม่าติดตามมาจะฆ่าท่าน เพื่อที่ไม่ต้องการให้ท่านมาเป็นขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้าน เพื่อต่อต้านทหารพม่าอีก ท่านจึงใช้อุโมงค์แห่งนี้ซ่อนตัวจากทหารพม่า ตามคำบอกเล่าของคนเก่า ๆ อุโมงค์แห่งนี้ ปลายอุโมงค์สามารถไปโผล่ได้ที่กลางทุ่งนา ด้านหลังเขา แต่ปัจจุบัน ไม่สามารถลงไปได้แล้ว เนื่องจากมีก้อนหินใหญ่ มาปิดปากอุโมงค์ไว้

พระอุโบสถพระอาจารย์ธรรมโชติ สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ (อายุราว 250 กว่าปี) และรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดให้บูรณะหลังคาเมื่อครั้งทรงเสด็จประพาสต้น บนยอดเขาแห่งนี้ ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าของวัด

พระพุทธรูปองค์ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2514 เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ครั้งแรกท่านประดิษฐานอยู่ที่เชิงเขา ปัจจุบันท่านถูกอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานอยู่บนยอดเขา พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นเอกลักษณ์ของวัด และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีพุทธศาสนิกชนมากราบไหว้ และขอพรอยู่เสมอ ตามคำบอกเล่า หลังจากที่ได้สร้างพระพุทธรูปองค์นี้เสร็จแล้ว ทางวัดได้นิมนต์เกจิอาจารย์ มาร่วมพิธีปลุกเสกด้วย อาทิ หลวงพ่อแพ หลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อกวย หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อจวบ หลวงพ่อเจริญ ฯลฯ

มณฑปพระอาจารย์ธรรมโชติ ภายในเป็นที่ประดิษฐานของสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลายประการ ได้แก่

       พระบรมสารีริกธาตุ ได้รับมอบจากรัฐบาลไทย เนื่องจากเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสต้น วันที่ 19 ตุลาคม 2451

        พระพุทธไม้หลวงพ่อแก่นจันทร์ (องค์สีทอง) เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้แก่นจันทร์ สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระพุทธรูปประจำวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

        รูปหล่อพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านละแวกนี้ให้ความเคารพนับถือมาก และจัดให้มีงานบุญไหว้พระสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด พร้อมทั้งรำลึกถึงหลวงปู่ธรรมโชติ ในกลางเดือน 4 ของทุกปี เพราะท่านเป็นขวัญและกำลังใจของทหารและชาวบ้าน ครั้งศึกบางระจัน ทั้งท่านยังเป็นพระที่มีวิชาอาคมแก่กล้าในการปลุกเสกเครื่องรางของขลังที่ชาวบ้านใช้เป็นขวัญกำลังใจในการรบ ความนับถือนั้นยังคงสืบต่อมายังชนรุ่นหลัง ไม่เสื่อมคลายตราบจนทุกวันนี้

[adsense-2]

ติดต่อสอบถมเพิ่มเติม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุพรรณบุรี โทร.(035) 536 030, (035) 535 789
สำนักงานจังหวัด (035) 535 376
ประชาสัมพันธ์จังหวัด (035) 535 423
เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (035) 522 974
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี (035) 525 777
ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี (035) 536 030
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี (035) 525 583-4
ตำรวจทางหลวง โทร 1193
แขวงการทางสุพรรณบุรี โทร (035) 522 133
สถานีตำรวจภูธร (035) 525 583-4
บขส.สุพรรณบุรี (035) 522 373
สถานีรถไฟสุพรรณบุรี (035) 511 950

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว วัดเขานางบวชตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 51 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 340 กิโลเมตรที่ 138-139 มีทางลาดยางขึ้นไปจนถึงวัดซึ่งตั้งอยู่บนเขานางบวช หรือจะเดินขึ้นบันได 249 ขั้น ไปจนถึงยอดเขาก็ได้

ความเห็น

ความเห็น