ปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ปราสาทเขาน้อยสีชมพู  ตั้งอยู่บนยอดเขาน้อยสีชมพู หมู่ 1 บ้านคลองน้ำใส ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว  เป็นโบราณสถานตั้งอยู่บนยอดเขาน้อยซึ่งเป็นเขาหินปูนสูงจากพื้นประมาณ 130 เมตร มีบันไดทางขึ้น 254 ขั้น แล้วเดินขึ้นต่อไปไม่ไกลก็จะถึงบริเวณตัวปราสาท หรือสามารถไปทางรถโดยผ่านวัดเขาน้อย (สีชมพู) ไปตามทางอ้อมเขาประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเดินเท้าต่อขึ้นไปอีกประมาณ 250 เมตร

สันนิษฐานว่า ปราสาทนี้สร้างในพุทธศตวรรษที่ 12 และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในพุทธศตวรรษที่ 15 และคงความสำคัญจนถึงพุทธศตวรรษที่ 16 เชื่อว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ตัวปราสาทเป็นโบราณสถานไม่ก่ออิฐสอปูน ประกอบด้วยปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลังคือ ปรางค์ทิศเหนือ ปรางค์องค์กลาง และวิหารทิศใต้ แต่คงเหลือเพียงปรางค์องค์กลางเท่านั้นที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนปรางค์ทางทิศเหนือ และวิหารทิศใต้เหลือเพียงฐานเท่านั้น

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 ปราสาทเขาน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติจากกรมศิลปากร และมีการสำรวจขุดพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น โบราณวัตถุทำจากโลหะ เครื่องปั้นดินเผา ทับหลังหินทราย 5 ชิ้น พบประติมากรรมรูปนางมหิษาสุรมรรธนีสี่กร ซึ่งสูญหายไปแล้ว และค้นพบแผ่นจารึกบ่งบอกถึงอายุการสร้างปราสาทเรียกว่า “จารึกเขาน้อย” และทับหลังหินทรายแบบสมโบร์ไพรกุกอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 ศิลาจารึกระบุมหาศักราช 559 ตรงกับ พ.ศ.1180 ซึ่งเป็นจารึกที่ระบุศักราชเก่าที่สุดในประเทศ โบราณวัตถุต่างๆที่ได้จากการขุดค้น ปัจจุบันเก็บรักษาและตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี

ปราสาทหลังนี้เป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูแต่ยังไม่อาจระบุได้ว่าเป็นลัทธิใด เป็นอาคารก่ออิฐไม่ผสมปูน 3 หลัง พังทลายเหลือแต่ปรางค์องค์กลางกับเนินดินอีก 2 เนิน พบโบราณวัตถุหลายชิ้นบริเวณบริเวณโบราณสถาน ได้แก่ ทับหลัง ศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก (พุทธศตวรรษที่ 12-13) ติดอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าองค์กลาง พบจารึก อยู่บนแผ่นวงกบประตูปรางค์องค์กลาง ระบุมหาศักราช 559 ตรงกับ พ.ศ. 1180

นอกจากนี้เสาประดับกรอบประตูเป็นศิลปะเขมรแบบกุเลน (พุทธศตวรรษที่ 14-15) ประติมากรรมรูปบุคคลมี 4 กร แต่โบราณวัตถุเหล่านี้สูญหายและบางส่วนถูกย้ายไปเก็บรักษาจนหมดสิ้น นอกจากนี้ยังพบทับหลัง4 ชิ้นที่ปราสาทองค์ทิศเหนือบริเวณหน้าซุ้มประตูเป็นศิลปะเขมรแบบต่าง ๆ และพบโบราณวัตถุทำจากหินทรายจำนวนมาก อาทิ ศิวลึงค์ ฐานรูปเคารพศิลาฤกษ์ ธรณีประตู ประติมากรรมบุคคุล ชิ้นส่วนประติมากรรม หินลับ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เช่น หม้อ ไห จานมีเชิง สังข์ดินเผา เครื่องโลหะและชิ้นส่วนเครื่องโลหะ เช่น ตราประทับทำจากเหล็กหุ้มด้วยสำริด มีจารึกอยู่ที่ดวงตราเป็นตัวอักษรในพุทธศตวรรษที่ 16 ด้ามมีดทำด้วยเหล็ก ห่วงเหล็ก เชิงเทียน เป็นต้น’

[adsense-2]

ประเพณีที่น่าสนใจ ที่หน้าเขาน้อยมีการสร้างศาลไว้ เรียกว่า ศาลเจ้าพ่อเขาน้อย หรือ เจ้าพ่อขุนดาบ และมีการเซ่นไหว้ทุกเดือน 6 และเดือน 12 ของทุกปี และยังมีประเพณีขึ้นเขาเป็นการนมัสการเจ้าพ่อทุกปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานนครนายก (รับผิดชอบ นครนายก,ปราจีนบุรี,สระแก้ว) โทร. (037) 312 282 , (037) 312 284
โทรสาร.(037) 312 286
ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว โทร. (037) 425 127
สำนักงานจังหวัดสระแก้ว โทร. (037) 425 125
ที่ว่าการอำเภออรัญประเทศ โทร. (037) 231 016
ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ โทร. (037) 231 131
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสระแก้ว โทร. (037) 425 066-7
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (037) 242 362
สถานีตำรวจภูธร อ.ตาพระยา โทร. (037) 269 111
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. (037) 241 017
สถานีตำรวจภูธร อ.วัฒนานคร โทร. (037) 261 507-8
สถานีตำรวจภูธร อ.วังน้ำเย็น โทร. (037) 251 111
สถานีตำรวจภูธร อ.อรัญประเทศ โทร. (037) 231 203
โรงพยาบาลวัฒนานคร โทร. (037) 261 772-5
โรงพยาบาลอรัญประเทศ โทร. (037) 233 075-9
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โทร. (037) 242 532, (037) 241 011-2, โทร. (037) 243 018-20
โรงพยาบาลตาพระยา โทร. (037) 269 009, (037) 510 252
โรงพยาบาลวังน้ำเย็น โทร. (037) 251 108-9
โรงพยาบาลคลองหาด โทร. (037) 512 258-61
โรงพยาบาลเขาฉกรรจ์ โทร. (037) 511 272

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

จากถนนทหารร่วมจิตร ผ่านวัดชนะไชยศรี ตามเส้นทางหมายเลข 3067 ไปประมาณ 500 เมตร เลี้ยวซ้ายไป 12 กิโลเมตร ผ่านด่านตรวจนาดง วัดป่าอรัญวาสี จะเห็นวัดเขาน้อย (สีชมพู) อยู่ทางขวามือ ขับเลยวัดไปจนถึงทางแยก เลี้ยวขวาอ้อมไปตามทางขึ้นเขาประมาณ 1 กิโลเมตร มีที่จอดรถขนาดพอประมาณ แล้วเดินเท้าต่อขึ้นไปประมาณ 250 เมตร ซึ่งตรงจุดนี้อาจสับสนเนื่องจากป้ายบอกเลือนลางไม่ชัดเจน ถ้าขึ้นผิดทางจะไปยังวัดร้างอีกด้านหนึ่ง ให้สังเกตดีๆนะคะ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น