ถ้ำกระแซ

ถ้ำกระแซ ไปศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย ผ่านเรื่องราวอันน่าเศร้าของเชลยศึกกันค่ะ ถ้ำกระแซ ตั้งอยู่ในอำเภอไทรโยค เป็นถ้ำเล็กๆ ตั้งอยู่ริมหน้าผาใกล้กับทางรถไฟ ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่พักของเชลยศึก ในช่วงที่มีการสร้างทางรถไฟสายมรณะ ไทย-พม่า เส้นทางรถไฟบริเวณนี้ที่ถือว่า เป็นจุดอันตรายที่สุดในการก่อสร้างทางรถไฟ เพราะเป็นการสร้างทางตัดผ่านหน้าผาหินสูงชัน อีกฝั่งเป็นเหวลึกสู่ลำน้ำแควน้อย ในช่วงเส้นทางประมาณ 400 เมตรนี้ มีความลำบากในการก่อสร้างเป็นอย่างมาก เพราะการสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ไม่ได้ใช้อุปกรณ์เครื่องจักรที่ทันสมัย มีเพียงเครื่องไม้เครื่องมือแบบชาวบ้าน จอบ สิ่ว ค้อน ขวานธรรมดา มีการทำโครงสร้างด้วยไม้ ด้วยสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในการก่อสร้าง การเผชิญกับโรคภัยต่างๆ และการขาดแคลนอาหาร ทำให้ที่นี่กลายเป็นโศกนาฏกรรมทางสงคราม ที่มีแรงงานและเชลยศึกต้องจบชีวิตลง นับหมื่นนับพันคนในช่วงการสร้างทางรถไฟผ่านช่วงถ้ำกระแซนี้

ภายในถ้ำกระแซนั้นโปร่งและมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ มองจากปากถ้ำมาที่บริเวณทางรถไฟจะเห็นทิวทัศน์ที่งดงามและมองเห็นแม่น้ำแควน้อยอยู่เบื้องล่าง บริเวณนี้เป็นจุดที่สร้างทางรถไฟยากที่สุด เนื่องจากเป็นเส้นทางโค้งเลียบเขาค่ะ

ในปัจจุบัน ถ้ำกระแซถือเป็นจุดชมวิวที่โด่งดัง และเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี เพราะถือว่าเป็นจุดที่สวยที่สุด และอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – น้ำตก หรือที่เรียกกันว่า “เส้นทางรถไฟสายมรณะ” (The Death Railway) ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนมาเพื่อมาชมวิวเส้นทางรถไฟสายมรณะบริเวณถ้ำกระแซนี้ เป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ที่ต้องการมาเที่ยวชม สามารถมาได้ทั้งทางรถยนต์ และทางรถไฟ เพราะบริเวณถ้ำกระแซยังเป็นสถานีรถไฟ สำหรับจอดรับส่งผู้โดยสารด้วยค่ะ

สถานีรถไฟถ้ำกระแซ เป็นสถานีรถไฟที่ได้รับความนิยมของการชมเส้นทางรถไฟสายมรณะ นักท่องเที่ยวจะมารอเวลารถไฟที่แล่นผ่านมาในวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นรถไฟเที่ยวพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยว ถ้ำกระแซอยู่ห่างจากสถานีนี้เพียงเล็กน้อย

[adsense-2]

ข้อแนะนำในการท่องเที่ยว

  • การที่จะสัมผัสถึงเส้นทางรถไฟสายมรณะจริงๆ นั้นต้องเดินทางด้วยรถไฟค่ะ เพราะเมื่อรถไฟผ่านเส้นทางก่อนถึงสถานีถ้ำกระแซ รถไฟจะชะลอความเร็วลง เพื่อความปลอดภัย เพราะโครงสร้างสะพานยังคงเป็นโครงไม้ดั้งเดิม และทำให้ได้ชมวิวที่สวยงาม จากทางฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ที่ไหลอยู่ด้านล่างด้วยค่ะ
  • หากมาทางรถยนต์ สามารถเดินชมวิวบนเส้นทางรถไฟ ไปตามไม้หมอน และสามารถเข้าไปสักการะพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำกระแซได้
  • บริเวณสถานีรถไฟ มีร้านอาหาร ร้านค้า ขายของที่ระลึก และสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวมากมายให้เลือกซื้อเลือกหาค่ะ
  • ถ้ำกระแซ มีเส้นทางให้ชมวิวอยู่ 2 เส้นทาง เส้นทางหนึ่งอยู่เลยบ้านกาแฟไปประมาณ 4 กิโลเมตร ทางเข้าเขียนว่าสะพานถ้ำกระแซ เข้าไป 12 กิโลเมตร เป็นส่วนที่ติดกับรีสอร์ทสวนไทรโยค บริเวณนี้อยู่ห่างจากปากถ้ำกระแซและสถานีรถไฟมาก การเดินบนรางรถไฟอาจไม่สะดวกนัก อีกเส้นทางหนึ่ง สำหรับคนที่ต้องการเข้าถ้ำกระแซ และชมวิวจุดที่เป็นทางรถไฟสายมรณะ ต้องไปที่สถานีรถไฟถ้ำกระแซ ซึ่งอยู่ห่างไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
  • เส้นทางรถจากเส้น 323 แยกเข้าอำเภอไทรโยค มีทางลงเขา และเป็นทางชัน ควรใช้เกียร์ต่ำ
  • บริเวณสถานีถ้ำกระแซ สามารถขับรถมาเที่ยวจุดชมวิวนี้ได้ มีสถานที่จอดรถอยู่ใกล้กับร้านค้า
  • นักท่องเที่ยวสามารถเดินบริเวณไม้หมอนรถไฟเพื่อชมวิวสะพานและ แม่น้ำแควน้อยได้
  • ควรระมัดระวังเมื่อเดินบนรางรถไฟ ไม่วิ่งเล่น หยอกล้อ ผลัก หรือปีนป่ายโลดโผนบริเวณทางรถไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายได้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงานการท่องเที่ยวกาญจนบุรี (034) 511 200
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี โทร. (034) 511 778, (031) 512 399
ประชาสัมพันธ์จังหวัดกาญจนบุรี โทร. (034) 512 410, (034) 514 756
สำนักงานเทศบาลเมืองกาญจนบุรี โทร. (034) 511 502-2
ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. (034) 511 040, (034) 622 952
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาญจนบุรี โทร. (034) 621 040-2
โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา โทร. (034) 622 999, (034) 511 233
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. (034) 511 387
สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี โทร. (034) 511 182
สถานีรถไฟกาญจนบุรี โทร. (034) 511 285
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาประมาณ 9 กม. จะพบสะพานลอยข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ขับมาประมาณ 7 กม. ท่านจะพบสี่แยก ให้ท่านเลี้ยวขวา ( แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปคือถ้ำค้างคาว) เพื่อไปยัง อ.เมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยกแก่งเสี้ยน ให้ขับไปทาง อ.ไทรโยค อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 55 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 323 กิโลเมตรที่ 29–30

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น