วัดกำแพงแลง

วัดกำแพงแลง หรือวัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เดิมเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูแบบขอม ปราสาทหรือปรางค์ศิลาแลงที่ยังเหลือให้เห็นเพียงบางส่วน มีซุ้มประตูเรียกว่าโคปุระทั้ง 2 ด้านยังอยู่ในสภาพดี บนผนังศิลาปรากฎลวดลายปูนปั้นสมัยทวาราวดีที่งดงาม โดยเฉพาะลายมกรคายนาคและลายกลีบบัวหัวเสา คือต้นแบบของช่างเพชรบุรีที่จะมาศึกษาแนวทางไปปรับใช้ในการผลิตงานศิลปะของตน

โบราณสถานที่วัดกำแพงแลง ถือเป็นโบราณสถานที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเพชรบุรี แสดงถึงความเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ของเพชรบุรี สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18-19 เมื่อวัฒนธรรมเขมรโบราณเริ่มขยายตัวตามดินแดนแถบนี้ ชุมชนในลุ่มแม่น้ำเพชรบุรีก็ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรโบราณ เช่นกัน มีการสร้างเมืองในรูปแบบวัฒนธรรมเขมรโบราณ เป็นรูปสี่เหลี่ยมอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี

ภายในวัดกำแพงแลงเดิมเคยมีปรางค์ 5 องค์ มีปรางค์ประธานอยู่ตรงกลางและมีปรางค์ทิศอยู่ 4 มุมปัจจุบันเหลือเพียง 3 องค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 มีผู้ขุดพบรูปสลักของพระนางอุมาในปรางค์องค์หนึ่งที่พังลง จึงสันนิษฐานว่าในปรางค์แต่ละองค์เป็นที่ประดิษฐานของเทวรูป พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ พระลักษมี และพระขันธกุมาร ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น พุทธสถานแล้วจึงมีการก่อสร้างอาคารอื่นๆด้วยอิฐ แต่ยังคงลักษณะกำแพงศิลาแลงไว้แบบเดิม เนื่องจากกำแพงวัดทั้ง 4 ด้านก่อด้วยศิลาแลง จึงเป็นที่มาของชื่อวัดกำแพงแลง

หมู่ปราสาทศิลาแลงมีทั้งหมด 5 องค์เป็นปราสาทจตุรมุขย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง ลักษณะคล้ายกับปราสาทหินพิมายในจังหวัดนครราชสีมา และปรางค์สามยอดในจังหวัดลพบุรี ลักษณะของปราสาททั้ง 5 ที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้คือ

ปรางค์องค์กลาง สร้างแบบจตุรมุขย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง ต่อยอดขึ้นไปเป็นชั้นๆ หน้าบันมีลวดลายสวยงาม ปัจจุบันประดิษฐานพระพุทธรูปหินแดง จากวัดกุฎีทอง

ปรางค์ทิศใต้ สร้างแบบจตุรมุขเช่นกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด มุขด้านทิศตะวันออกมีบันไดและทวารเข้าไปในคูหาองค์ปรางค์ได้ ปัจจุบันมีผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์ไว้ในคูหาปรางค์องค์นี้

ปรางค์องค์ทิศเหนือ สร้างลักษณะเดียวกับปรางค์องค์ทิศใต้ แต่มุขด้านตะวันออกได้พังลงมาปิดคูหาหมด และองค์ปรางค์ได้พัง
แต่ยอดลงมาแถบหนึ่ง

ปรางค์องค์ทิศตะวันตก ได้พังลงมา แต่เนินและรากฐานของปรางค์ยังปรากฏอยู่

ปรางค์องค์ทิศตะวันออก เป็นปราสาทที่สูงและใหญ่กว่าทุกปราสาทสร้างแบบจตุรมุข ภายในเป็นคูหา ท่านผู้รู้ได้อธิบายถึงปราสาทหินแห่งนี้ตรงกันว่า เดิมคงจะสร้างขึ้นในศาสนาพราหมณ์

ยังปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสารได้แก่ จารึกปราสาทพระขรรค์ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้กล่าวถึงหัวเมืองต่าง ๆ 23 แห่ง ซึ่งได้ประดิษฐานพระไชยมหานาถ รวม 6 เมือง ซึ่งให้มีการสันนิษฐานว่า ปัจจุบันอยู่ในประเทศไทยได้แก่ ลโวทยปุระ สุวรรณปุระ สัมพูกปัฎฎนะ ชัยราชบุรี ศรีชัยสิงห์บุรี และศรีชัยวัชรบุรี สำหรับศรีชัยวัชรบุรี คือ เมืองเพชรบุรี มีพระปรางค์วัดกำแพงแลง เป็นศาสนสถานสำคัญ

ในช่วงเวลาดังกล่าว เมืองเพชรบุรี น่าจะเป็นเมืองท่าค้าขายเช่นเดียวกับเมืองราชบุรีซึ่งเป็นเมืองร่วมสมัยเดียวกัน ได้พบหลักฐานเครื่องถ้วยชามจีนในชุมชนโบราณหลายแห่ง ที่เป็นชุมชนโบราณสมัยทวารวดี ได้พบเศษภาชนะดินเผาของจีน ที่มีอายุตั้งแต่สมัยห้าราชวงศ์ จนถึงราชวงศ์สุ้ง หยวน และเหม็ง เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงการติดต่อกับจีน ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16 จนถึงพุทธศตววรษที่ 18-19

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิด ทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00 – 17.00 น. ค่าเข้าชม ฟรี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี) อ.ชะอำ เพชรบุรี โทร. (032) 471 005-6
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 425 573
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (032) 428 047
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. (032) 425 544
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โทร. (032) 401 251-3
โรงพยาบาลเพชรรัชต์ โทร. (032) 417 070 – 2
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (032) 425 500, (032) 417 106
บริษัท ขนส่ง จำกัด สาขาเพชรบุรี โทร. (032) 425 307
สถานีรถไฟเพชรบุรี โทร. (032) 425 211
ไปรษณีย์เพชรบุรีโทร. (032) 425 146, (032) 425 571
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี โทร. (032) 402 220, (032) 427 579
ที่ว่าการอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 361, (032) 472 502, (032) 471 078
โรงพยาบาลชะอำ โทร. (032) 471 007
สถานีตำรวจภูธรอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 321, (032) 434 021-2
ไปรษณีย์ชะอำ โทร. (032) 471 252
สถานีรถไฟชะอำ โทร. (032) 471 159
สถานีรถปรับอากาศ (ปอ.1) โทร. (032) 471 615 (สี่แยกชะอำ) โทร.(032) 471 654, (032) 4332 88 (ชายหาดชะอำ)
ศูนย์ตำรวจท่องเที่ยวเฉพาะกิจหัวหิน-ชะอำ โทร. (032) 515 995

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากทางหลวงหมายเลข 4 แยกซ้ายเข้าตัวเมืองเพชรบุรี เจอไฟแดงสามแยกศาลหลักเมืองเลี้ยวขวา เจอสามแยกไฟแดงเลี้ยวซ้าย ตรงตามถนนราชวิถี ผ่าน 2 ไฟแดง ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเพชรบุรี เลยมาจะเป็นสี่แยกให้เลี้ยวขวามาและจะเจอสี่แยกไฟแดง เลี้ยวซ้ายประมาณ 600 เมตร ผ่านหน้าวัดใหญ่สุวรรณารามเจอสามแยกไฟแดงหน้าวัดไตรโลก ให้เลี้ยวขวาไปประมาณ 500 เมตร จะเจอวัดกำแพงแลง เลี้ยวขวาถนนพระทรง(ข้างวัดกำแพงแลง) ไปประมาณ 500 เมตรจะเจอวัดไผ่ล้อมตั้งอยู่ริมถนนด้านขวามือ

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น