หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่

หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่ เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมที่ขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของประเทศ นักท่องเที่ยวที่มาเยื่อนที่นี่จะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน ตั้งแต่การเลี้ยงหม่อน เพื่อให้ได้เส้นไหมไปจนถึงการย้อมสีจากธรรมชาติ และการทอผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงาม ชาวบ้านที่นี่มีการรวมกลุ่มทอผ้าใช้ชื่อว่า “กลุ่มไหมไทยหลุ่งประดู่” หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่ ตั้งอยู่ที่บ้านหลุ่งประดู่ หมู่ที่ 1 ตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา  ประชาชนในตำบลหลุ่งประดู่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน เพราะอยู่ในที่ราบสูงในขณะเดียวกันแม่บ้านมีการรวมกลุ่มกันปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ในครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน รวมถึงเป็นการใช้เวลาว่างจากการทำงานบ้านให้เกิดประโยชน์ด้วย ในระยะเริ่มแรกภายในหมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าเพื่อใช้สอยในครัวเรือนเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2539 ได้ก่อตั้งกลุ่มแต่การดำเนินการไม่ดีจึงพัฒนาปรับปรุงระบบของกลุ่ม พัฒนาทักษะการผลิตสินค้าและการตลาดในปี พ.ศ.2541 และจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเมื่อปี พ.ศ.2552 เป็นกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมแท้แบบครบวงจร ตั้งแต่การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหม การทอผ้าไหม การย้อมไหมด้วยสีธรรมชาติ จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ อาทิเช่น มะพร้าว คูน สีเสียด มะเกลือ ขนุน ครั่ง ทับทิม สนิมเหล็กและดินลูกรัง เป็นต้น ด้วยตระหนักดีว่าสิ่งที่ได้จากธรรมชาติจะก่อให้เกิดปัญหาแก่สิ่งแวดล้อมน้อยไม่เป็นอันตรายแก่มนุษย์ผู้ใช้ผ้าไหม ทั้งยังสามารถปลูกหรือเพาะเลี้ยงขึ้นทดแทนได้อีกด้วย

ผ้าสมัยแรกๆไม่สวยนัก ต่อมาได่มีการพัฒนาโดยมีหน่วยงานเข้ามาสอนการให้สีให้ลายการย้อมแบบธรรมชาติ จนในที่สุดก็สวยจนได้รับรางวัลลายเอกลักษณ์ มีหลายหน่วยงานที่เข้ามาพัฒนาหมู่บ้านการท่องเที่ยวแต่เพิ่งจะเป็นเรื่องเป็นราวสมัยนี้เองพัฒนาชุมชนมาทำยุทธศาสตร์ไหมให้งบประมาณเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเส้นทางสายไหม เป็นรูปธรรมขึ้นมาก มีการเปิดตัวหมู่บ้านวิถีชาวบ้านเอกลักษณ์ไหมไทย เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวบ้าน อยู่กับธรรมชาติเรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าด้วยภูมิปัญยาชาวบ้าน มีการแปรรูปผ้าไหมเป็นผืนให้เป็นของที่ระลึก เช่น หมวก กระเป๋า ดอกไม้ประดิษฐ์ กล่องกระดาษทิชชู่ผ้าไหม พวงกุญแจ แฟ้มผ้าไหม และอื่น ๆ หลากหลายผลิตภัณฑ์โดยฝีมือของกลุ่มทอผ้าไหม หากไปแวะเยี่ยมเยียน ขอแนะนำโฮมเสตย์เพื่อพักค้างคืน รับประทานอาหารพื้นบ้าน ผักปลอดสารพิษ ถ้าไปขณะนี้ก็จะมีแกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง แกงผักหวานใส่ไข่มดแดง ดื่มชาใบหม่อน หรือจะจิบน้ำดอกอัญชัญ สมุนไพรใกล้ตจัวที่มีประโยชน์ แล้วหัดทอผ้ากับชาวบ้าน แวะเยี่ยมศูนย์หม่อนไหมภูมิปัญญาไทยที่รวบรวมผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ให้เลือกซื้อ เลือกเป็นของฝากในราคามิตรภาพ ก่อนกลับอย่าลืมแวะไปถ่ายรูปกับหนอนไหมหน้าหมู่บ้านด้วยละ จะได้ยืนยันว่ามาเที่ยวหลุ่งประดู่จริง ๆ

กลุ่มไหมไทยหลุ่งประดู่ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาเสนอแก่ผู้บริโภคโดยคำนึงถึงคุณภาพและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และมีลักษณะเด่น คือเป็นไหมไทยแท้ทอมือ เนื้อแน่นให้ความรู้สึกเมื่อสัมผัส มีเฉดสีที่ดูนุ่มนวลและสีไม่ตกผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ ผ้าไหมเนื้อเรียบ ผ้าไหมพันคอ ผ้าไหมพื้น ลายในตัว และผ้าไหมมัดหมี่ โดยลายที่เป็นเอกลักษณ์คือลายหางกระรอก ซึ่งกลุ่มได้คิดลายใหม่และประยุกต์เข้ากับลายเดิม ทำให้มีเอกลักษณ์ สวยงามแปลกตา ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) อีกทั้งยังได้รับรางวัลสุดยอด OTOP 5 ดาว จากการส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวดการคัดสรรสุดยอด OTOP ในปี พ.ศ.2549 และปี พ.ศ.2552 และได้รับรางวัลยูงเงินและยูงทอง จากการแข่งขันระดับจังหวัดอีกด้วย

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สนใจผลิตภัณฑ์สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
โทร. 0-4439-1147 โทรสาร 0-4430-1175
ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) 213-666, (044) 213-030
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (044) 251-818
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, (044) 341-777-9
ท่าอากาศยานนครราชสีมา โทร. (044) 259-524
บมจ. การบินไทย (สนามบิน) โทร. (044) 255-425
โรงพยาบาลมหาราช โทร. (044) 254-990-1
สถานีขนส่งแห่งที่ 1 โทร. (044) 242-889
สถานีขนส่งแห่งที่ 2 โทร. (044) 256-006-9
สถานีตำรวจภูธร โทร. (044) 242-010
สถานีรถไฟ โทร. (044) 242-044
สำนักงานจังหวัด โทร. (044) 243-798

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

หมู่บ้านไหมไทยหลุ่งประดู่ อยู่ห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์พิมายเพียง 20 กม. ใช้ทางหลวงหมายเลข 2163 เส้นทางพิมาย-หินดาด บริเวณกิโลเมตรที่ 21 ผ่านทางแยกให้เลี้ยวขาเข้าหมู่บ้านหลุ่งประดู่ ถ้าเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมา จะผ่านอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สู่เส้นทางหินดาด เลี้ยวซ้ายสู่เส้นทางเข้าบ้านหลุ่งประดู่

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น