วัดมหาวันวนาราม

วัดมหาวันวนาราม ถือว่าเป็นพระอารามหลวงในสมัยพระนางจามเทวี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองลำพูน มีพื้นที่ติดกับด้านหลังที่ว่าการอำเภอหลังเดิม วัดมหาวันวนาราม มีเนื้อที่ทั้งหมด 5 ไร่ ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ 70 เมตร วัดมหาวันวนารามแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองมาหลายชั่วกษัตริย์ และเลื่องชื่อลือชาในด้านพระเครื่อง นั่นก็คือพระรอด วัดมหาวันแห่งนี้นี่เอง จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าในแต่ละวันจะมีผู้คนมากมายต่างเดินทางเข้ามาบูชาพระรอดที่วัดมหาวันวนารามแห่งนี้กันอย่างล้นหลาม ทริปนี้หมูหิน.คอมก็อยากจะมาชมพระรอดและขอบูชาไว้สักองค์หนึ่งเพื่อความเป็นสิริมงคล

วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูนวัดมหาวันวนารามสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองนครหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิม อยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤาษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ 500 องค์มาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก 2 องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ)

[adsense-2]

เมื่อถึงนครหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) ต่อมานครหริภุญไชยเกิดสงครามกับขุนลัวะวิลังขะ พระฤาษีจึงใช้พระศิลาดำเป็นต้นแบบสร้างพระเครื่องแจกจ่ายชาวเมืองเพื่อใช้ออกศึก พระเครื่องส่วนที่เหลือบรรจุไว้ในเจดีย์ที่วัดมหาวัน ต่อมาในยุคหลัง เมื่อเจดีย์ที่บรรจุพระเครื่องส่วนที่เหลือนั้นได้ปรักหักพังลง ชาวบ้านจึงพบพระเครื่องที่เก็บไว้ต่างก็นำไปบูชาและพบกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ต่างๆ พระเครื่องเหล่านี้คือ พระรอดมหาวันที่โด่งดังนั่นเอง

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด คือ

พระรอดหลวง ( พระพุทธสักขีปฏิมากร ) หรือพระศิลาดำ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ซึ่งพระนางจามเทวี อัญเชิญมาจากเมืองละโว้ ครั้งมาสร้างแคว้นหริภุญชัย เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิ แกะสลักจากหินดำ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองชาวลำพูน

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว
วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่บนถนนจามเทวี ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูน ประมาณ 500 เมตร โดยเลียบไปตามคูเมืองเก่า

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น