ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง

ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง หรือ “อรดีมายานารายณ์เจงเวง”  ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง บ้านธาตุ ตำบลพังกว้าง อำเภอเมือง สกลนคร พระธาตุองค์นี้เป็นพระธาตุเก่าแก่ สมัยเดียวกันกับพระธาตุเชิงชุม เป็นพระธาตุประกอบด้วยปรางค์องค์เดียว สร้างด้วยศิลาแลง แบบเดียวกับปราสาทหินพิมาย คือเป็นหินทรายบนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ สลักลวดลายลงบนเนื้อหิน มีทับหลังจำหลักภาพพระกฤษณะฆ่าสิงห์ ในรูปแบบศิลปะเขมร สมัยบาปวน องค์เจดีย์เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม ส่วนที่เป็นหลังคาและยอด ปัจจุบันหักพังหมดแล้ว ยังคงเหลือแต่องค์พระธาตุ ซึ่งมีประตูและซุ้มประตูด้านละประตู ซึ่งภายใต้ซุ้มประตูสลักรวดลายที่สวยงาม ข้างบน สลักรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ภายในพระธาตุมีพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ

ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง

ตามตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิดวัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า กลางลำน้ำโขง(พระธาตุพนม) แต่มิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร

ปราสาทนารายเจงเวงนี้มีพระนางเจงเวงเป็นเจ้าศรัทธาสร้างโดยแข่งขันกับฝ่ายชายซึ่งสร้างพระธาตุภูเพ็ก โดยถือเกณฑ์เมื่อดาวประกายพรึกโผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาสิ้นสุดการก่อสร้าง เมื่อพอตกกลางคืนฝ่ายหญิงก็เอาโคมไปแขวนไว้บนไม้สูง ให้ฝ่ายชายเข้าใจว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้ว ฝ่ายชายจึงสร้างยังไม่เสร็จสร้าง ต้องยอมแพ้ไป ส่วนฝ่ายหญิงทำเสร็จเพราะทำได้เต็มเวลาและยังมีฝ่ายชายมาช่วยสร้างด้วยเป็นจำนวนมากด้วย ชาวบ้านเชื่อว่าแม่นางเจงเวงเป็นผู้ที่รักษาพระธาตุแห่งนี้จนถึงปัจุบัน

[adsense-2]

เมื่อครั้งปี พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดรอีสาน รวม 56 วัน โดยได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 4 เกี่ยวกับเมืองสกลนครไว้ว่า “วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เปนของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า “อรดีมายานารายณ์เจงเวง” ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี..”

ประเพณีที่น่าสนใจ  ในวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี มีงานประเพณีของพระธาตุนารายณ์เจงเวง

ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 4 จ.นครพนม (รับผิดชอบพื้นที่ จ.สกลนครด้วย) โทร. (042) 513490-1
การบินไทย โทร. (042) 712259-60
ตำรวจทางหลวง โทร. (042) 713971
หจก.ภูพานการท่องเที่ยว โทร. (042) 712676
โรงพยาบาลกุดบาก โทร. (042) 784021
โรงพยาบาลกุสุมาลย์ โทร. (042) 769023
โรงพยาบาลคำตากล้า โทร. (042) 796046
โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ โทร. (042) 713550
โรงพยาบาลเต่างอย โทร. (042) 761021
โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน โทร. (042) 789015
โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น โทร. (042) 779105
โรงพยาบาลพังโคน โทร. (042) 771222
โรงพยาบาลวานรนิวาส โทร. (042) 791122
โรงพยาบาลวาริชภูมิ โทร. (042) 781187
โรงพยาบาลสกลนคร โทร. (042) 711722
โรงพยาบาลสว่างแดนดิน โทร. (042) 721111
โรงพยาบาลส่องดาว โทร. (042) 786026
โรงพยาบาลอากาศอำนวย โทร. (042) 799000

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวงอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 5 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสายสกลนคร- อุดรธานี (ทางหลวงหมายเลข 22) ถึงบริเวณบ้านธาตุ ซึ่งอยู่ก่อนถึงสี่แยกเมืองเล็กน้อย แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 400 เมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น