พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ไปชมความวิจิตรงดงามของเรือพระราชพิธีกันค่ะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี โดยมีสำนักพระราชวังและกองทัพเรือควบคุมดูแล เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และอยู่ในสภาพทรุดโทรมต่อมาอีกหลายปี

ในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบหมายให้กรมศิลปากรบูรณะซ่อมแซมเรือพระที่นั่งและเรือเก่าที่ใช้ในพระราชพิธี ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ความงดงามทางศิลปกรรม ในปี พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรได้ขอขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ให้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอู่เรือหลวงขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี”

ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงเรือพระราชพิธีสำคัญ 9 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรืออสุรวายุภักษ์ และเรือเอกไชยเหินหาว

นอกจากเรือพระที่นั่งและเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ แล้ว ยังมีเครื่องประกอบและสิ่งของเครื่องใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ด้วย เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่าง ๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย

โขนเรือ เรือพระที่นั่ง และเรือประกอบในพระราชพิธีทั้ง 9 ลำ มีดังนี้ค่ะ

1.โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า ซึ่งเป็นต้นแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 สร้างขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อว่า มงคลสุบรรณ หัวเรือเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ต่อมาใน รัชกาลที่ 4 ได้เสริมรูปพระนารายณ์ ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณ แล้วขนานนามว่า เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ต่อมาเรือได้เสื่อมสภาพลง คงเหลือแต่ โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า เก็บรักษาไว้ และได้นำมาเป็นต้นแบบโขนเรือ ในการสร้าง เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

2.เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง เป็น มีโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นอื่นๆ ประทับเป็นแต่บางครั้ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 มีนาวาสถาปนิก หรือ ผู้ต่อ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คือ พลเรือตรี พระยาราชสงคราม รน. (กร หงสกุล) ใช้ฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธง 1 คน พลสัญญาณ 1 คน และ คนเห่เรือ 1 คน

3.เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โขนเรือเป็นรูปพญาอนันตนาคราช หรือนาค 7 เศียร เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ ใช้ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน

4.เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียว ในรัชกาลนั้น ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว แต่ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน จำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง พญานาค) ลำเรือภายนอกทางสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน

5.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9  เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง ลำเดิมสร้างขึ้น ในสมัย รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อว่า มงคลสุบรรณ หัวเรือเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ต่อมาใน รัชกาลที่ 4 ได้เสริมรูปพระนารายณ์ ยืนประทับบนหลังพญาสุบรรณ แล้วขนานนามว่า เรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ต่อมาเรือได้เสื่อมสภาพลง คงเหลือแต่ โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า เก็บรักษาไว้ แต่เนื่องจากความงดงาม และความสำคัญในสัญลักษณ์ของโขนเรือ ที่เป็นเชิงเทิดพระเกียรติ สถาบันพระมหากษัตริย์ ทางกรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักพระราชวัง สร้างเรือลำนี้ใหม่ เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเรือพระที่นั่งต่อใหม่นี้ว่า เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

โขนเรือ จำหลักรูปพระนารายณ์ 4 กร ทรงเทพศาสตรา ตรี คฑา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์ และ มงกุฏยอดชัย ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ แกะสลักจากไม้ ลงรักปิดทองประดับกระจกตลอดทั้งลำ ลวดลายเขียนลายดอกพุดตานพื้น ท้ายเรือคล้ายท้ายเรืองพระที่นั่งอนันตนาคราช แต่ส่วนเหนือมาลัยท้าย เป็นสร้อยหางครุฑ ปลายหางสุดของท้ายเรือเป็นกนกหางครุฑ ท้องลายของท่อนหางเป็นขนครุฑ ท้องเรือภายในทาสีแดง ใช้ฝีพาย 50 คน

6.เรือครุฑเหินเห็จ โขนเรือเป็นรูปครุฑ เป็นเรือประกอบขบวนในงานพระราชพิธี ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ซึ่งเรือลำนี้ ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2487 พร้อมกับ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และ เรือเอกไชยเหินหาว ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2491 หลังจากนั้น จึงนำโขนเรือเดิมมาทำขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2511 โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาบูรณะ ส่วนท้ายเรือทำใหม่ ได้รับการบูรณะเป็นระยะๆ และได้ใช้ในงานพระราชพิธี จนกระทั่งปัจจุบัน

7.เรือกระบี่ปราบเมืองมาร โขนเรือสลักรูปขุนกระบี่ ปิดทองประดับกระจก ไม่พบหลักฐานที่สร้าง ซึ่งเรือลำนี้ถูกระเบิด ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 พร้อมกับ เรือครุฑเหินเห็จ และ เรือเอกไชยเหินหาว ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ.2491 หลังจากนั้น จึงนำโขนเรือและท้ายเรือเดิม มาทำเป็นเรือขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2510 ได้รับการบูรณะเป็นระยะๆ และได้ใช้ในงานพระราชพิธี จนกระทั่งปัจจุบัน

8.เรืออสุรวายุภักษ์ โขนเรือสลักเป็นรูปยักษ์กลายเป็นนกสีคราม ปิดทองประดับกระจก เป็นเรือในหมวดรูปสัตว์ต่างๆ ได้รับการบูรณะอยู่เป็นครั้งคราว และมีการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2524 เพื่อใช้ในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ปัจจุบัน เป็นเรือหนึ่งในหมู่กระบวนเรือพระที่นั่งในงานพระราชพิธีต่างๆ

9.เรือเอกไชยเหินหาว โขนเรือเขียนลวดลายเป็นรูปจระเข้หรือเหรา(อ่านว่า เห – รา) ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ได้ถูกระเบิดเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 พร้อมกับ เรือครุฑเหินเห็จ และ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร ต่อมากรมศิลปากรได้ตัดหัวเรือและท้ายเรือเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี 2491 หลังจากนั้น ทำการตกแต่งบูรณะตัวเรือใหม่เมื่อปี พ.ศ.2508 และมีการบูรณะครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2524 เพื่อใช้ในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ปัจจุบัน เรือเอกไชยเหินหาว เป็นหนึ่งในกระบวนเรือพระที่นั่งในงานพระราชพิธีต่างๆ

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00-17:00 น. (ปิดช่วงเทศกาลวันหยุดปีใหม่และวันหยุดสงกรานต์)

อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ค่าธรรมเนียมถ่ายภาพ100 บาท วิดีโอ 200 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี โทร. (02) 424 0004
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี อยู่ที่ปากคลองบางกอกน้อย ถนนอรุณอัมรินทร์ ตรงข้าม สถานีรถไฟบางกอกน้อยค่ะ จอดรถบริเวณเชิงสะพานอรุณอมรินทร์ด้านสี่แยก ถ.ปิ่นเกล้า-ห้างพาต้า
รถประจำทาง ขึ้นรถสาย 19 57 79 80 81 91 123 124 127 147 149
รถปรับอากาศ ขึ้นรถสาย 79 503 507 509 511 ปอ.พ. 10 1.

เรือ

  1. เรือหางยาวโดยสาร:ท่าช้าง (ท่าช้าง-บางใหญ่)ท่าพิพิธภัณฑ์
  2. เรือข้ามฟาก:ท่าพระจันทร์เหนือ ท่าสถานีรถไฟธนบุรี
    ท่ายายปลา

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น