ถ้ำผานางคอย

“ถ้ำผานางคอย” อีกหนึ่งถ้ำที่มีชื่อเสียง ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นถ้ำธรรมชาติขนาดใหญ่นี้มีความสวยงาม มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ถ้ำนางคอย”

ปัจจุบันจึ่งมักนิยมเรียกว่า ถ้ำผานางคอย ตัวถ้ำอยู่บนผาสูงประมาณ 50 เมตร หน้าถ้ำมีลานหินกว้าง ตัวถ้ำมีความลึก ที่มีลักษณะยาวขนานไปในระดับพื้นดินประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร ภายในถ้ำเป็นพี้นดินเรียบ บางตอนมีเหวลึก ผนังถ้ำหินงอก หินย้อยที่สวยงาม ส่งแสงสะท้อนเป็นประกายระยิบระยับ เมื่อต้องแสงสว่างไปตลอดความยาวของถ้ำ

เมื่อเกือบถึงปากสุดของถ้ำที่ทะลุมีทางออกกว้าง ปริเวณกลางถ้ำมีหินงอกขนาดใหญ่มีลักษณะคล้ายผู้หญิงอุ้มลูกไว้ในอ้อมแขน เรียกว่า ผานางคอย เป็นจุดสำคัญของถ้ำนี้ เกือบถึงปลายถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ให้ประชาชนได้นมัสการ

เมื่อ 800 กว่าปีที่แล้ว เจ้าเมืองแห่งอาณาจักรแสนหวีมีราชธิดาผู้เลอโฉม มีพระนาม “เจ้าหญิงอรัญญณี” วันหนึ่งเจ้าหญิงเสด็จโดยชลมารคแล้วเกิดเรือล่ม คะนองเดช (ชื่อตามแอนนิเมชั่น เข้าใจว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลัง)ทหารหัวหน้าฝีพายได้เข้ามาช่วยเหลือ เจ้าหญิงแล้วเกิดรักกัน

แต่ก็เหมือนตำนานรักไม่สมหวังทั่วไป คือฝ่ายพระราชบิดากีดกันเพราะเห็นว่าไม่เหมาะสมกัน ทั้งคู่จึงพากันหนีลงมาทางใต้โดยมีทหารไล่ติดตามอย่างกระชั้นชิดจนเจ้าหญิง ถูกยิง คะนองเดชจึงพาเจ้าหิงมาหลบในถ้ำแห่งนี้ เจ้าหญิงเห็นว่าคะนองเดชกำลังเพลี่ยงพล้ำจึงให้หนีไปก่อน โดยบอกว่าจะคอยทหารอันเป็นที่รักแห่งนี้ตลอดไป กลายเป็นก้อนหินนางคอยกับตำนานรักอมตะปนเศร้าของถ้ำผานางคอยแห่งนี้

 

จุดที่น่าในใจภายในถ้ำผานางคอย

– คูหาสวรรค์วิเศษ สถานที่แสนสวยงาม และปลอดภัยที่พระนางอรัญญณี (นางคอย) ใช้เป็นที่สถิต เพื่อรอคอยพระสวามรด้วยความรักอันมั่นคง
– เทพอารักษ์นครา ดินแดนเหล่าเทพยาดาผู้คอยปกป้องนางอรัญญณี และลูกน้อย
– นาคาสถิต สถานที่สถิตขององค์นาคา ผู้รักษาดินแดนของพระนางอรัญญณี
-งามพิศอนงค์สนาน ธารน้ำใสสะอาดสวยงามที่ไหลมาจากสรวงสวรรค์ พระนางอรัญญณีใช้เป็นที่ชำระร่างกาย
-หิมพานต์วิจิตร ภาพเนรมิตที่เหล่าเทพยาดาประทานให้กับพระนางอรัญญณี ได้ชื่นชมเพื่อความรื่นรมย์คลายทุกข์โศก
-เนรมิตม่านแก้ว ม่านแก้วที่วิจิตรงดงามที่เหล่าเทพยาดาได้เนรมิตประดับไว้ในคูหาสวรรค์แห่งนี้
– มรกตเพริดแพร้ววิจิตรา อัญมณีอันล้ำค่าแหล่งกำเนิดพลังจากสวรรค์ที่เทประทานให้แก่มวลมนุษย์
-บูชาพระมุนี สถานที่บำเพ็ญตะบะขององค์พระฤาษีประจำคูหาสวรรค์
-นทีชลเนตร สถานที่พระนางอรัญญณีร่ำไห้ด้วยความเศร้าโศกโทมนัสหลั่งล้นชลเนตรดั่งสายนที
-ธานเทพอธิษฐาน ธานทิพย์จากสวรรค์ ที่เป็นสื่อรับรู้ความรักความโทมนัสและคำอธิษฐานของพระนางอรัญญณี
-คชสารพิทักษ์ โคลงช้างที่คอยปกป้องดินแดนแห่งความรักของพระนางอรัญญณี
-ลานรักพระนาง ห้องโถงและห้องบรรทมที่พระนางอรัญญณีใช้เป็นที่ฟูมฟักทะนุถนอมลูกน้อยด้วยความรัก เพื่อรอคอยพระสวามีอันเป็นที่รัก
-อลังการแห่งรักอรัญญณี ปรากฏการณ์ อันยิ่งใหญ่ของพระนางอรัญญณีที่อุ้มลูกน้อยรอคอยสามีอันเป็นที่รัก ด้วยแรงอธิษฐานจนกลายเป็นหินสถิตย์อยู่ในคูหาสวรรค์แห่งนี้

[adsense-2]

การเดินทาง

รถยนต์

ถ้ำผานางคอย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ – ร้องกวาง – น่าน (ทางหลวงหมายเลข 101) ถึงกิโลเมตร ที่ 58 – 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร

แผนที่ถ้ำผานางคอย

ความเห็น

ความเห็น