บึงพลาญชัย

บึงพลาญชัย ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด มีลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งเป็นสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่างๆ หลายพันธุ์ มีเรือจักรยานน้ำและเรือพายไว้บริการประชาชนพายเล่นในบึง นอกจากนั้นยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่างๆ ภายในบึงพลาญชัยยังมี

สิ่งที่น่าสนใจถภายในบึงพลาญชัย

  • ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ดจะพากันมากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ
  • พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้
  • พานรัฐธรรมนูญ และนาฬิกาดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ ที่ฐานเป็นหกเหลี่ยมแต่ละด้านมีอักษรติดอยู่เป็นข้อความว่า เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา
  • ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์
  • สนามเด็กเล่น และ สวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
  • ศาลากลางบึงพลาญชัย ด้านข้างของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองร้อยเอ็ดด้านหนึ่งทำทางเดินไปกลางน้ำส่วนสุดของปลายทางเดินมีศาลาหลังคาคลุม เพื่อเป็นที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว เป็นศาลากลางบึงพลาญชัยจังหวัดร้อยเอ็ด เฉลิมพระเกียรติ
  • พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ด้านหน้าประตูทางเข้าสวนสาธารณะบึงพลาญชัย สร้างไว้เพื่อจารึกว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ วางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย จัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาลและลักษณะการปกครองท้องที่ ก่อกำเนิดลูกเสือ อนุกาชาด และสภากาชาดไทย ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา และขยายการศึกษาจนถึงชั้นอุดมศึกษาเป็นครั้งแรก ประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุล คำนำหน้าสตรีและเด็ก ตั้งธนาคารออมสิน และริเริ่มกิจการสหกรณ์ วางรากฐานทางคมนาคมทางอากาศ เปลี่ยนแปลงการใช้ศักราชจาก ร.ศ. เป็น พ.ศ. เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติ แก้ไขสนธิสัญญาต่างๆ ที่เสียเปรียบต่างชาติ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้เป็นจำนวนมาก ให้ยกเลิกเงินอัฐ เงินไพ และให้ใช้เงินสตางค์แทน ฯลฯ ให้แยกเมืองร้อยเอ็ดเมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคามออกจากมณฑลอีสานมารวมกันตั้งเป็นมณฑลร้อยเอ็ด ตั้งกอลพลทหารราบที่ 10 กองบินน้อย และสโมสรเสือน้ำขึ้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด

[adsense-2]

ประวัติความเป็นมาของบึงพลาญชัย

บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า เมืองสาเกตนคร หรือ อาณาจักรกุลุนทะนคร มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า พระเจ้ากุลุนทะ เมืองสาเกตเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งมีเมืองขึ้นถึง 11 เมือง จากหลักฐานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนา ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายเข้ามาเมื่อปลาย พุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานที่สำคัญ เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลข ในเขตอำเภอพนมไพร พระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพร ในเขตอำเภอเสลภูมิ คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงษ์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน

ในพุทธศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก แต่หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาด หายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ด พร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คน ได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์

ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์

ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอ มาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 จ.ขอนแก่น
โทร. (043) 244498-9
ตำรวจทางหลวง ส.ทล. กก.6 จ.ร้อยเอ็ด โทร. (043) 569091
ไปรษณีย์จังหวัด โทร. (043) 511306
สถานีขนส่งจังหวัด โทร. (043) 511466
สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง โทร. (043) 511766
โรงพยาบาลเกษตรวิสัย โทร. (043) 589073-4
โรงพยาบาลจตุรพักตร์พิมาน โทร. (043) 561073-4
โรงพยาบาลธวัชบุรี โทร. (043) 514294
โรงพยาบาลปทุมรัตน์ โทร. (043) 587073-4
โรงพยาบาลพนมไพร โทร. (043) 591321
โรงพยาบาลโพธิ์ชัย โทร. (043) 567073-4
โรงพยาบาลโพนทราย โทร. (043) 595073-4
โรงพยาบาลโพนทอง โทร. (043) 571321
โรงพยาบาลเมยวดี โทร. (043) 577073-4
โรงพยาบาลเมืองสรวง โทร. (043) 597074-5
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โทร. (043) 511754, 511205
โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ โทร. (043) 581323
โรงพยาบาลเสลภูมิ โทร. (043) 551322
โรงพยาบาลหนองพอก โทร. (043) 579073-4
โรงพยาบาลอาจสามารถ โทร. (043) 599073-4

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางกรุงเทพฯ -สระบุรี-นครราชสีมา(ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 23 มหาสารคาม -ร้อยเอ็ด

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น