วัดถ้ำผาบิ้ง

วัดถ้ำผาบิ้ง ตั้งอยู่ที่บ้านผาบิ้ง ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นวัดที่ก่อตั้งโดยหลวงปู่หลุย จันทสาโร มีรอยพระพุทธบาทถ้ำผาบิ้ง ได้รับการเคารพสักการะจากชาววังสะพุงและพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป อีกทั้งวัดผาบิ้งยังเป็นสถานที่ร่มรื่นเงียบสงบ เหมาะกับการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมและสักการะพระพุทธบาทถ้ำผาบิ้งได้ทุกวันค่ะ

สิ่งที่น่าสนใจายในวัด

  • เจดีย์จันทสาโรนุสรณ์ เป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์สำหรับบรรจุอัฐิธาตุ และเครื่องบริขารของหลวงปู่หลุย จันทสาโร
  • ถ้ำผาบิ้ง อยู่บริเวณเชิงเขาในบริเวณวัดถ้ำผาบิ้ง ภายในถ้ำมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่บนเพดานถ้ำบริเวณชะง่อนผาลึกซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่ ต้องเดินเข้าไปที่พระพุทธรูป แล้วกลับหลังเงยหน้ามองเพดานถ้ำ จึงจะเห็นรอยพระพุทธบาทอยู่สูงขึ้นไปประมาณ 4 กม. เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่และแปลกกว่าทุกแห่งที่เคยเห็นมา คือรอยพระบาทประทับอยู่ที่ผนังถ้ำด้านบนเหนือศีรษะ แทนที่จะประดิษฐานอยู่ที่พื้นเหมือนแห่งอื่นๆ รอยพระบาทมีขนาดยาว 1 ม.กว้าง 0.5 ม.  แต่ลวดลายและรอยนิ้วพระบาทไม่ปรากฏชัดเจน กรมศิลปากรจดทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถาน พร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก เมื่อปี พ.ศ.2498  พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยมาจำพรรษาที่นี่สองครั้ง คือในปี พ.ศ.2454 และปี พ.ศ.2461 พระอาจารย์เป็นผู้ชี้ว่าคือรอยพระพุทธบาท

ประวัติหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร 

หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของ คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลารุ่งอรุณจวนสว่าง ได้ชื่อว่า วอ มีพี่สางต่างบิดา 1 คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก 1 คน

เมื่อเข้าโรงเรียน ท่านมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ออกความเห็นเหมือน ครูบา จึงถูกเรียกว่า บา ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาดจนจบชั้นประถมปีที 3 ซึ่งขณะนั้นถือเป็นการศึกษาชั้นสูงสำหรับเมืองชายแดน

ต่อมาท่านได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

ขณะที่อยู่ที่เชียงคาน ด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว ท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศส และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

[adsense-2]

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

ชีวิตราชการของท่านไม่ค่อยราบรื่นนัก ท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่งประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่ายกับการต้องคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารในงานเลี้ยงที่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คิดอยากบวชเพื่อแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้ว ท่านจึงตัดสิ้นใจลาออกจากชีวิตราชการเข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปีพุทธศักราช 2466 โดยมีอัยการภาคเป็นเจ้าภาพบวชให้

ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ระหว่างทางได้พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่งมาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ได้แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุตที่จังหวัดเลย หลังจากเกณฑ์ทหารแล้วท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย

ต่อมาท่านได้กลับมาอยู่กับ พระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวัวซอ และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่ง ณ ที่นี้เอง ท่านได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และอยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก พระอาจารย์เสาร์ โดยมี พระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยง จากนั้น ก็ได้ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มหาเถระที่ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น จวบจนเข้าพรรษา จึงกลับมาจำพรรษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก

ในพรรษานี้ ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญ จึงให้ญุตติจตุถกรรมใหม่ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468 โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูสังฆวุฒิกรป็นพระอุปัจฌาย์ และ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ท่านจึงได้บวชถึง 3 ครั้ง คือ ปี 2466, 2467 และ 2468

ละสังขาร

หลวงปู่หลุย ท่านได้เริ่มอาพาธหนัก โดยไม่อ้างกาลเวลา แม้อาพาธอย่างหนัก ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา 23.30 น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว ขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย และในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เวลา 00.43 น. หลวงปู่หลุยท่านได้มรณภาพด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

ประเพณีที่น่าสนใจ ในวันมาฆบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (หรือเดือน 4 ในปีที่มีอธิกมาส) ของทุกปี ทางวัดถ้ำผาบิ้งและอำเภอวังสะพุงได้จัดให้มีงานฉลองสมโภชรอยพระพุทธบาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย โทรศัพท์ (042) 812812
สอบถามข้อมูลท่องเที่ยว 1672
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง 1193
บริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669
ประชาสัมพันธุ์จังหวัดเลย (042) 811258
เทศบาลเมืองเลย (042) 811324
ตำรวจภูธรจังหวัดเลย (042) 811254
สถานีตำรวจภูธรเมืองเลย (042) 811254
โรงพยาบาลเลย (042) 862123
โรงพยาบาลเมืองเลยราม (042) 833400 -19
สถานีขนส่งจังหวัดเลย (042) 833586
ที่ทำการไปรษณีย์เลย (042) 812022

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว วัดถ้ำผาบิ้ง อยู่ห่างจากอำเภอวังสะพุง 9 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 201 (อำเภอเมือง-วังสะพุง) แล้วเลี้ยงขวาเข้าไปอีก 7 กิโ,เมตร จะเห็นวัดอยู่ทางขวามือ

รถประจำทาง ขึ้นรถสายวังสะพุง-นาแก ลงที่วัดถ้ำผาบิ้ง

รถรับจ้าง เหมารถสองแถวจากตลาดวังสะพุง ราคา 150 บาท

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น