พระรามราชนิเวศน์(วังบ้านปืน)

พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า พระรามราชนิเวศน์เป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2453

เมื่อเดินดูโดยรอบแล้ว จะได้พบเห็นการออกแบบของพระราชวังที่งดงาม มีการก่อสร้างด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโมเดิร์นสไตล์ ด้านหน้าหันไปทางทิศใต้ ซึ่งห่างจากแม่น้ำเพชรบุรีด้านทิศตะวันออกประมาณ 50 เมตร หลังคาสีน้ำตาลเป็นกระเบื้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีลักษณะเช่นเดียวกับพระราชวังของพระเจ้าวิลเฮิร์มไกเซอร์แห่งประเทศเยอรมัน โดยทำแบบสองชั้นมียอดสองยอดคือยอดพระตำหนักและยอดมุข ส่วนของอาคารภายนอกดูเรียบง่าย แต่เน้นความอลังการของตัวอาคาร ความงดงามของลวดลายบานประตูและหน้าต่าง

พอเข้าชมภายในอาคาร จะพบกับห้องโถงกลมขนาดใหญ่ มีหลังคาเป็นรูปโดมสวยแปลกตา ตามสไตล์ยุโรป ด้านข้างมีบันไดด้านซ้ายและขวา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องชั้นบนส่วนใหญ่ปูด้วยพื้นไม้ และมีสภาพเป็นห้องโถงโล่ง ๆ ผนังห้องตกแต่งด้วยไม้แกะสลัก มีความงดงามมาก ช่องหน้าต่างประดับด้วยกระจกสีเป็นลวดลายต่าง ๆ ด้านชั้นล่างตรงกลางจะมีทางเดินออกไปสู่สวนน้ำพุเล็กๆ ที่ล้อมไปด้วยห้องโถงรอบๆของพระราชวัง

พระรามราชนิเวศน์แห่งนี้ เป็นพระราชวังที่มีความงดงาม สวยแปลกตาตามสไตส์ยุโรปแบบไทยๆ ถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของ จังหวัดเพชรบุรี แห่งหนึ่งเลย

ประวัติพระรามราชนิเวศน์

ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะมีพระราชวังนอกพระนครเพื่อประทับค้างแรมได้โดยสะดวก จังหวัดเพชรบุรีที่พระองค์มีพระประสงค์จะให้เป็นพระราชวังที่ใช้ประทับยามหน้าฝน พระองค์จึงมีพระราชโองการให้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นแม่งานควบคุมการก่อสร้าง และมีพระบัญชาให้ คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง (Karl Siegfried Dohring) ผู้เคยออกแบบ วังบางขุนพรหม วังวรดิศ และวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐมาแล้ว เป็นสถาปนิกออกแบบ

นายดอห์ริงได้เลือกผู้ร่วมงานทั้งสถาปนิก วิศวกร และมัณฑนากรเป็นชาวเยอรมันทั้งสิ้น เพื่อการทำงานให้มีศิลปะเป็นแบบเดียวกันพระที่นั่งองค์นี้จึงมีรูปแบบศิลปะตะวันตกอย่างเต็มตัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่ต้องการพระตำหนักแบบโมเดิร์นสไตล์ สถาปนิกจึงได้ออกแบบมาในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน โดยได้แบบแผนมาจากตำหนักในพระราชวังของพระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมันที่ทรงเคยประทับ

วังบ้านปืน สร้างสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์ให้สร้างพระราชวังแบบยุโรป เพื่อใช้สำหรับแปรพระราชฐานในฤดูฝน สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป พระราชวังแห่งนี้ถือว่าเป็นพระราชวังที่งดงามแห่งหนึ่งของไทย

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม พระรามราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 – 16.00 น.

อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20บาท เด็ก 10 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี ราชบุรี) อ.ชะอำ เพชรบุรี โทร. (032) 471 005-6
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 425 573
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (032) 428 047
ที่ว่าการอำเภอเมือง โทร. (032) 425 544
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า โทร. (032) 401 251-3
โรงพยาบาลเพชรรัชต์ โทร. (032) 417 070 – 2
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. (032) 425 500, (032) 417 106
บริษัท ขนส่ง จำกัด สาขาเพชรบุรี โทร. (032) 425 307
สถานีรถไฟเพชรบุรี โทร. (032) 425 211
ไปรษณีย์เพชรบุรีโทร. (032) 425 146, (032) 425 571
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเทศบาลเมืองเพชรบุรี โทร. (032) 402 220, (032) 427 579
ที่ว่าการอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 361, (032) 472 502, (032) 471 078
โรงพยาบาลชะอำ โทร. (032) 471 007
สถานีตำรวจภูธรอำเภอชะอำ โทร. (032) 471 321, (032) 434 021-2
ไปรษณีย์ชะอำ โทร. (032) 471 252
สถานีรถไฟชะอำ โทร. (032) 471 159
สถานีรถปรับอากาศ (ปอ.1) โทร. (032) 471 615 (สี่แยกชะอำ) โทร.(032) 471 654, (032) 4332 88 (ชายหาดชะอำ)
ศูนย์ตำรวจท่องเที่ยวเฉพาะกิจหัวหิน-ชะอำ โทร. (032) 515 995

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ใช้ถนนเพชรเกษม เมื่อผ่าน รพ.เพชรรัตน์ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนดำรงรักษ์ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร หรือจากตัวเมืองเพชรบุรีให้ใช้ถนนราชดำเนิน ถึงสี่แยกตัดกับถนนดำรงรักษ์ เลี้ยวซ้ายไป 500 เมตร พระราชวังจะอยู่ทางด้านขวา

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น