วัดโพธาราม

วัดโพธาราม (วัดหลวงพ่อพระใหญ่) ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ หมู่ 5 ตำบลบึงกาฬ  เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใหญ่ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบึงกาฬ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ ทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบ เหมือนพระพุทธรูปทั่วๆไป หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ (5 ฟุต 4 นิ้ว) ศิลปะสมัยล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปโลหะที่มีการฉาบปูนโอบไว้ ภายหลังได้ทาสีทองทับเพื่อป้องกันองค์พระชำรุด ประดิษฐานบนแท่น 4 เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี 2537

ประวัติหลวงพ่อใหญ่

ตามตำนาน และคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หลายรุ่น หลายสมัยเล่าสืบต่อกันมา ว่า ประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว จนถึงยุคสมัยหลังๆ ซึ่งแต่ก่อนคนเหล่านี้ส่วนมาก ได้อพยพ ครอบครัวมาจากเมืองยศ (บริเวณจังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) มาตั้งถิ่นฐานริมฝั่งแม่น้ำโขง และร่นขึ้นมาทางเขตชัยบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอบึงกาฬ) การตั้งถิ่นฐานอยู่นั้นก็เหมือนกัน ทุกยุคทุกสมัย คือที่ใดไม่เหมาะสมในการดำรงชีวิต ต้องประสบกับภัย และโรคร้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวา โรคไข้ฝีดาด , ถูกรบกวนจากสัตว์ร้ายหรือภูตผีปีศาจต่างๆ ก็พากัน หลบหนีภัยย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆ เพื่อหาที่เหมาะสมต่อไป ชนกลุ่มนี้ก็เหมือนกันย้ายถิ่นฐานไป เรื่อยๆ เพื่อหาที่เหมาะสม จนถึงบ้านท่าใคร้ในปัจจุบัน เมื่อเห็นเป็นที่เหมาะสมดีก็ตกลงใจ กันตั้งหลักฐานที่จะหากินในบริเวณนี้ จากนั้นต่างก็จับจองพื้นที่หากินแล้วเริ่มขยายอาณา บริเวณไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณที่รกทึบที่สุดเป็นป่าดงดิบ มีไม้นานาพันธุ์ เช่นไม้ยาง ไม้ตะแบก ไม้สัก ไม้ไผ่ป่า ขี้นอยู่อย่างหนาแน่น และเต็มไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด ที่อาศัยอยู่ บริเวณดังกล่าว เนื่องจากเป็นป่ารกทึบมาก ชาวบ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆ จึงได้ร่วมกันใน การถากถาง เพื่อจะได้มีพื้นที่มากขึ้น หลังจากที่ได้ทำการถากถางอยู่เป็นเวลาหลายวัน ก็พบ พุ่มไม้ที่สูงและหนากว่าที่อื่นๆ เมื่อถางป่าดังกล่าวออก ก็พบพระพุทธรูปเดิมที่เต็มไปด้วย เถาวัลย์พันรอบองค์อยู่ จึงพากันนำเถาวัลย์ออก แล้วปัดกวาดบริเวณรอบๆ ก็พบว่าพระเกตุ มาลาของหลวงพ่อหัก เพราะถูกช้างป่ากระชากเถาวัลย์ลงมาเพื่อหากิน ตามธรรมชาติของ สัตว์ป่า และเห็นเป็นรูปร่างของสถานที่บำเพ็ญบุญ หรือสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธ ศาสนา อีกทั้งยังพบซากเครื่องปั้นดินเผา โอ่งโบราณ รวมทั้งเครื่องใช้อีกหลายอย่าง องค์พระพุทธรูปนั้นตั้งแต่ได้พบมาถึงปัจจุบัน ไม่เคยเคลื่อนย้ายหรือ ต่อเติมแต่อย่าง ใด เพียงแต่ต่อพระเกตุที่หักให้คงสภาพเดิม มีเพียงแท่นที่ประดิษฐานเท่านั้น ที่สร้างโอบ แท่นเดิมเพื่อให้มีความมั่นคงขึ้นกว่าเดิม และมีผู้ที่มาขอพรจากหลวงพ่อ เมื่อได้สมความ ปรารถนาแล้วก็ได้นำสีทองมาทาสมโภชหลวงพ่อ จึงทำให้องค์หลวงพ่อเหลืองอร่ามเป็น สีทองทั้งองค์

ตามประวัติไม่มีหลักฐานระบุชัดว่าหลวงพ่อพระใหญ่สร้างขึ้นในสมัยใด มีเพียงคำบอกเล่าของชาวบ้านระบุว่า ได้มีการพบองค์หลวงพ่อพระใหญ่ในบริเวณป่าทึบเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว(บางความเชื่อก็ว่าท่านลอยน้ำมาติดที่ริมน้ำโขง)

หลวงพ่อพระใหญ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองศูนย์รวมจิตใจของชาวบึงกาฬ และชาวจังหวัดใกล้เคียงรวมไปถึงในสปป.ลาว ที่อยู่ในลุ่มน้ำโขงแถบนี้

[adsense-2]

ปฏิหาริย์ของหลวงพ่อ

1. เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ปรากฏว่ามีแสงสว่างจ้า กว่าแสงตะเกียงเจ้าพายุ ที่ลอยจากโบสถ์วัดบ้านท่าไคร้ ข้ามไปยังปากบึง ฝั่งลาว แล้วข้ามกลับมาที่เดิมแล้วดับลงที่โบสถ์

2. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 ได้รื้อซากโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ ช่างและคนงานล้วนเป็นคนญวน พากันขุดเพื่อลงรากเสาเข็ม พอขุดลงไปพบพระพุทธรูป องค์เล็กจำนวนมากหลายพันองค์ พวกคนงานเหล่านั้นเห็นว่าเป็นของเก่าก็พากันเอาไป โดยมิได้ บอกใคร หลังจากนำเอาพระพุทธรูปเหล่านั้นไปยังไม่ทันข้ามคืนเกิดเป็นบ้าบ้างเกิดท้องร่วง อย่างรุนแรงบ้าง เป็นไข้อย่างฉับพลันบ้าง จนต้องนำเอาพระพุทธรูปกลับคืนมาไว้ที่เดิม ในตอนกลางคืน และอาการที่ป่วยต่าง ๆ หายไปเหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

3. เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2496 – 2497 เด็กหญิงชาวบ้านท่ทาไคร้ ไปอยู่กับญาติ ที่ชลบุรี ได้ขี่จักรยานไปซื้อของถูกรถสิบล้อชนจนจักรยานหักป่นปี้ส่วนเด็กหญิงคนนั้นตก กระเด็นไปตกฟากถนนอีกฝั่งหนึ่งลุกขึ้นได้ปัดฝุ่นแล้วก็เดินได้สบาย ไม่มีบาดเจ็บแม้แต่น้อย รถสิบล้อคันที่ชนไฟลุกใหม้ท่วมเสียหายทั้งคัน หนูน้อยคนนี้มีรูปถ่ายของหลวงพ่ออัดกรอบ พลาสสติกห้อยคอเท่านั้น

4. เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 เด็กสาวบ้านท่าไคร้กับเด็กหญิงผู้เป็นน้องไปธุระที่ บ้านดงหมากยางขากลับจวนค่ำถูกคนร้ายจี้เอาสร้อยคอมทองคำหนัก 3 บาทไปจึงต้องครึ่ง วิ่งครึ่งเดินกลับบ้านบอกเล่าเหตุการให้พ่อ – แม่ฟังแล้วรีบไปบอกหลวงพ่อขอให้ติดตามเอา สร้อยกลับคืนมาเวลาล่วงมา 3 วันคนในบ้านหลังนั้นแทบจะไม่เชื่อสายตา เพราะสร้อยคอเส้นที่ถูกจี้เอาไปทิ้งอยู่ระเบียงหน้าบ้าน โดยสร้อยอยู่ในสภาพเดิมทุกประการ

5. เมื่อประมาณ พ.ศ. 2512 – 2513 ก่อนสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน ก็มีแสงสว่างออก มาจากต้นโพธิ์ข้างโบสถ์แล้วข้ามไปบ้านปากบึงประเทศลาวอีก แสงสว่างเช่นนี้จะปรากฏใน วันพระ 2 – 3 เดือนต่อครั้ง และมักจะมีผู้พบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง

6. ร.อ คำม้าว จันทวงศ์ เป็นคนบ้านปากบึงฝั่งประเทศลาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านท่าไคร้ ก่อนไปราชการสงครามทุกครั้ง ได้บนหลวงพ่อไว้ ไปราชการ เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุถึง 3 ครั้ง รอดพ้นชีวิตมาทุกครั้งเขาจึงศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อและได้ บริจาคเงินจำนวน 2 หมื่นบาทสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน

7. เมื่อพ.ศ. 2528 ผู้เขียนประสบด้วยตนเองประชุมชาวบ้านตกลงกันเอาช่างมาถ่าย รูปหลวงพ่อ เพื่ออัดกรอบพลาสติกเพื่อให้ผู้ศรัทธาบูชาไปสักการะประจำตัว ก่อนช่างถ่ายภาพจะได้ตกแต่งขันธ์ข้าวดอกไม้เพื่อสักการะและขอขมาแล้วจึงลงมือถ่ายรูป ถ่ายรูปหลวงพ่อประมาณ 10 กว่าท่า เมื่อนำเอาไปล้างแล้วไม่มีรูปหลวงพ่อติดเลยแม้แต่น้อย ฟิล์มมืดดำไปชัตเตอร์ไม่ลั่น กดก็ไม่ลงเหมือนมีอะไรมาขัดไว้

พระพุทธคุณ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองมีตำแหน่งการงานที่ใหญ่ขึ้น มีโชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย การสักการะ บนบาน สักการะด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และบนบานด้วยบั้งไฟ ตะไล ซึ่งในอุโบสถจะให้ผู้ชายเท่านั้นเข้าไปกราบไหว้ ส่วนสุภาพสตรีให้กราบไหว้ บนบานหน้าอุโบสถ

หมายเหตุ โบสถ์แห่งนี้ให้เฉพาะผู้ชายเข้าได้เท่านั้น ส่วนผู้หญิงให้กราบไหว้สักการะบูชาที่หน้าโบสถ์ค่ะ

เทศกาลที่น่าสนใจ

ชาวบึงกาฬได้จัดให้มีการสมโภชหลวงพ่อพระใหญ่ปีละ 2 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1 จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 3 จะทำบุญข้าวจี่ พร้อมกับปราสาทผึ้ง 2 หลัง เป็นการ สักการะแด่หลวงพ่อ

ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในเทศกาลวันสงกรานต์ ของทุกปีมีการสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ งานนี้ถือเป็นงานใหญ่ประจำปี มีผู้มีจิตศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมากทั่วทุกสารทิศ พิธีสรงน้ำพระใหญ่ มักจะจัดหลังวันมหาสงกรานต์ หนึ่งสัปดาห์ตรงกับวัน เสาร์ อาทิตย์

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)สำนักงานอุดรธานี (รับผิดชอบพื้นที่ อุดรฯ หนองคาย บึงกาฬ) โทร.0-4232-5406-7
ศูนย์บริการข่าวสารท่องเที่ยว ททท. 1672
สำนักงานจังหวัด โทร. 0-4249-1797-8
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
สถานีตำรวจภูธร โทร. 0-4249-1256, 0-4249-1254,0-4249-1258
โรงพยาบาลบึงกาฬ โทร. 0-4249-1162-3
สำนักงานขนส่งจังหวัด โทร. 0-4249-1245

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว

วัดโพธาราม อยู่ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 5 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 (บึงกาฬ-นครพนม)

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น