หมู่บ้านปั้นหม้อ

หมู่บ้านปั้นหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ชาวบ้านมีอาชีพปั้นหม้อดินเผาซึ่งชาวอีสานใช้ใส่น้ำและเป็นภาชนะในการปรุงอาหาร เดิมชาวบ้านมีอาชีพหลักคือ การทำนา และเป็นชาวบ้านที่อพยพหนีความแห้งแล้งทุรกันดารของท้องถิ่นจากอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ในตอนแรกมีประมาณ 3-9 หลังคาเรือน มีความรู้เรื่องการปั้นหม้อมาก่อน เมื่อหนีความแห้งแล้งก็มาเจอปัญหาดินเค็ม ผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวจึงไม่สามารถทำรายได้เพื่อจับจ่ายเป็นการยังชีพตลอดปีได้ จึงได้ยึดอาชีพการปั้นหม้ออีกอาชีพหนึ่ง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในฤดูที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล นับแต่นั้นเป็นต้นมาคนในหมู่บ้านจึงยึดการปั้นหม้อเป็นอาชีพหลัก การทำนาเป็นอาชีพรอง

เมื่อเสร็จภารกิจจากการทำนา ชาวบ้านที่เป็นผู้ชายจะลงไปขุดเอาดินเหนียวที่อยู่ใต้น้ำดินที่ใช้ปั้นหม้อได้จากหนองน้ำใกล้หมู่บ้าน เรียกว่า หนองเบ็น บรรทุกดินใส่เรือขึ้นฝั่งกลับบ้านดินเหนียวดังกล่าวนี้จะถูกนำไปเก็บไว้ใต้ถุนบ้านของแต่ละครอบครัวเมื่อได้เวลาชาวบ้านก็จะนำดินเหนียวที่ได้มาส่วนหนึ่งมาผสมกับแกลบในปริมาณที่เท่าๆกันปั้นให้เป็นก้อนขนาดเท่าลูกมะตูมนำไปผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำเอาไปเผาไฟจนแดงดินที่ถูกเผาไฟ แล้วนี้นำมาบดหรือโขลกด้วยครกไม่ให้เป็นผงละเอียด ชาวบ้านเรียกดินนี้ว่า ดินเชื้อ ชาวบ้านจะนำเอาดินเชื้อไปนวดผสมกับดินเหนียวที่เตรียมไว้อีกส่วนหนึ่ง เมื่อนวดเข้ากันแล้วก็นำมาขึ้นรูปหม้อประเภทต่าง ๆ เมื่อนวดดินเหนียวได้ที่แล้วบรรดาผู้หญิงก็จะนำมาขึ้นรูปโดยขึ้นทางด้านปากก่อน ชาวบ้านจะใช้ความชำนาญของมือและเข่าหมุนวนเพื่อขดปากหม้อให้กลมโดยไม่ใช้แป้นหมุน ต่อจากนั้นก็ใช้ไม้แบนๆ ที่มีด้ามตีด้านนอกอีกมือหนึ่งจับก้อนดินเผาที่ปั้นเป็นรูปโค้งกลมมีด้ามจับ เรียกว่า หินดุ ดุนไว้ข้างในหม้อตีให้ได้ผิวเรียบและควบคุมความหนาให้สม่ำเสมอจนจรดที่ก้นหม้อแล้วจึงขัดผิวให้เรียบด้วยน้ำ โคลนเหลวก็เป็นอันว่าเสร็จการปั้นหม้อหลังจากนั้นก็นำไปวางคว่ำเรียงกันเอาไว้ในบริเวณที่เตรียมไว้แล้วผึ่งลมเอา ไว้2-3มวันหม้อจะแห้งและแข็งตัวจึงนำไปเผานอกบ้าน ชาวบ้านเตรียมบริเวณกลางแจ้งสำหรับวางฟืนที่เป็นกิ่งไม้เล็กๆกับฟางไว้ด้าน ล่างแล้วนำเอาหม้อที่แห้งแล้วนี้ไปวางเรียงไว้ด้านบนตามจำนวนต้องการแล้วก็นำเอาฟางและฟืนวางทับสุมลงไปอีก ครั้งหนึ่งโดยกะประมาณจำนวนเชื้อเพลิงให้มีปริมาณพอเหมาะกับจำนวนเครื่องปั้นดินเผาที่จะให้สุกพอดีโดยชาวบ้านจะไม่ ใช้เครื่องชั่งตวงกิโลเมตร  นอกจากหม้อแล้วยังมีผลิตภัณฑ์ทำมืออื่นๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น ตุ่มน้ำ กาน้ำ เตา เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ ได้รับการพัฒนารูปทรงให้เหมาะสม ทันสมัย ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมซื้อไปใช้และเป็นของที่ระลึกอยู่เสมอ

[adsense-2]

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานขอนแก่น(รับผิดชอบพื้นที่ ขอนแก่น,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์)
ที่อยู่ 277/20-21 ถ.กลางเมือง (ถนนรอบบึงแก่นนคร ด้านทิศตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทรศัพท์. 043-227-714-6 โทรสาร. 0432-27-717, 043-227-719 อีเมล: [email protected]
หรือโทร. 1672

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว  หมู่บ้านปั้นหม้ออยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงสาย 208 มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด ประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น