วัดพระพุทธบาทภูสิงห์

พระพุทธบาทภูสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ยอดเขาภูสิงห์ภายในวัดพระพุทธบาทภูสิงห์ บ้านศาลา ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ ที่วัดแห่งนี้มีรอยพระพุทธบาทศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนมากมายหลั่งไหลมากราบไหว้ เป็นรอยเท้าด้านซ้ายลักษณะเรียบ ปลายเท้าชี้ไปทางทิศตะวันออก ในขณะที่พบปรากฏรอยกงจักรอยู่กลางรอยพระพุทธบาทอย่างชัดเจน ต่อมาภายหลังประชาชนมานมัสการรอยพระพุทธบาทจำนวนมาก ได้ตักเอาน้ำมนต์และสิ่งมงคลอื่นตามความเชื่อทำให้รอยกงจักรที่ปรากฏ อยู่กลางรอยพระพุทธบาทลบเลือนจางหายไป

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

  • รอยพระพุทธบาท เป็นรอยพระบาทข้างขวาขนาด ใหญ่ที่สลักลงในเนื้อหินทรายลึก 5 ซม. ยาว 1.47 ม. กว้าง 57 ซม. ที่กลางพระบาทเป็นรูปตราธรรมจักร อยู่ในช่วงสมัยทวารวดี บรรยากาศโดยรอบเงียบสงบ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติป่าไม้เบญจพรรณ เป็นที่ตั้ง ของสำนักสงฆ์ กรมศิลปกรนครราชสีมาได้ทำการศึกษาวิจัยรอยพระพุทธบาทนี้ พบว่ามีอายุประมาณ 1,500 -1,700 ปีมาแล้ว
  • บ่อน้ำทิพย์  บ่อน้ำทิพย์แห่งนี้อยู่บริเวณในป่าห่างจากรอยพระพุทธบาทไปประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เดิมได้เคยเหือดแห้งมาเป็นเวลานาน แล้ว กลับมาผุดขึ้นมาจากดินอีกครั้งเมื่อประมาณ ๑๐ ปีก่อน(ก่อนที่คณะของอาจารย์ยุทธนันท์ ประวงษ์จะมาทำบุญที่วัดนี้เล็กน้อย) ลักษณะของน้ำผุดนี้ ตามที่ผู้พิมพ์ไปพบมาคือมีลักษณะ เป็นน้ำพุที่ผุดขึ้นจากพื้นดินสูงประมาณ ๐.๕ – ๑ นิ้ว มีน้ำนองทั่วในบริเวณนั้น น้ำมีลักษณะใสสะอาด ล่าสุดปี ๒๕๕๑ หลังจากกลับไปที่นั่นอีกครั้ง ปรากฏว่าได้ไปสอบถามเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันเกี่ยวกับน้ำ ทิพย์ผุดปรากฏว่าเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนเลย จึงเป็นที่น่าแปลกใจว่า น้ำผุดทิพย์แห่งนี้คงกลับมาเหือดแห้งอีก ครั้งนานมากแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีการบันทึกไว้เช่นกัน แม้ว่าจะเหือดแห้งสูญหายไปแล้ว เพื่อหากว่าวันใดน้ำทิพย์ผุดแห่งน้ำ ปรากฏขึ้นอีกครั้ง จะได้มีบันทึกอ้างอิงได้ว่า ก่อนหน้านี้น้ำทิพย์ผุดแห่งนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว
  • ถ้ำภูสิงห์ อดีตจากส้นรอยพระพุทธบาทลงเนินหินไปบริเวณนั้นจะมีถ้ำตื้นถ้ำหนึ่งเป็นชงอนหินสำหรับพระธุดงค์ และผู้ปรารถนาความหลุดพ้น ที่ได้เดินทางมากราบรอยพระพุทธบาทและอาศัยถ้ำชงอนหินนั้นเป็นที่บำเพ็ญบารมีญาณ ในอดีตกาลบริเวณหน้าถ้ำนั้นจะมีรูปสลัก เป็นรูปสิงห์ ๒ ตัวยืนเฝ้าอยู่หน้าถ้ำ ขนาดไม่ใหญ่นัก ปัจจุบันได้มีการเคลื่อนย้ายจนไม่ทราบแล้วว่าตอนนี้ไปอยู่ที่ไหน และเนื่องด้วย

[adsense-2]

ประวัติการค้นพบรอยพระพุทธบาทภูสิงห์

ตอนบ่ายของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2526 วันนั้นเป็นวันพระขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งวันนี้จะมีญาติโยมไปทำบุญที่วัดกันพอประมาณ เมื่อถวายภัตตาหารเพลเสร็จ ทุกคนที่ไปทำบุญทานอาหารกลางวันกันเรียบร้อยแล้ว แม่ชีมากกับแม่ชีเผียะ เอ่ยปากชวนญาติโยมไปทำบุญพากันถือไม้กวาดเพื่อกวาดลานวัด ซึ่งเป็นพื้นหินธรรมชาติกว้างพอประมาณ

ขณะที่ทุกคนพากันกวาดจนเหนื่อยเมื่อยล้าและนั่งพักที่ใต้ร่มไม้นั้นเอง แม่ชีมากวัย 70 ปีเศษ ไม่ยอมหยุดพัก ได้ตั้งใจกวาดใบไม้ด้วยความเพลิดเพลิน บังเอิญสายตาก็เหลือบไปเห็นรอยเท้าประหลาดที่ปรากฏบนลานหิน จึงได้เรียกทุกคนให้มาดู ก็เห็นเป็นอัศจรรย์และได้พากันไปนมัสการ ให้หลวงพ่ออ้วน ธัมมวโร เจ้าอาวาสและพระเณรที่มาอยู่จำพรรษา ณ วัดบนลูกเขาแห่งนั้นรับทราบ เมื่อทุกคนได้ประจักษ์แก่สายตาของตัวเองและเห็นอัศจรรย์อย่างยิ่งแล้ว ได้พากันนำดอกไม้มากราบไหว้ด้วยความศรัทธายิ่งนัก

ข่าวการค้นพบรอยพระพุทธบาทได้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จึงมีพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลได้พากันหลั่งไหลมานมัสการแทบทุกวัน ระยะนั้นกิ่งอำเภอภูสิงห์ยังขึ้นอยู่กับอำเภอขุขันธ์ เพิ่งแยกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอในปี 2534 ขณะนั้นทางนายอำเภอขุขันธ์ พร้อมด้วยท่านศึกษาธิการอำเภอและหน่วยงานทางราชการส่วนอื่นๆ ได้พากันไปตรวจสอบก็พบว่าเป็นอัศจรรย์ตามคำเล่าลือ จึงได้รายงานไปยังจังหวัดศรีสะเกษให้ทราบ จังหวัดได้รายงานต่อไปยังกรมศิลปากร กรมศิลปากรก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกมาตรวจสอบ และได้แจ้งผลการตรวจสอบให้อำเภอได้ทราบตั้งแต่บัดนั้น

ในปีต่อๆ มา ได้มีผู้มีจิตศรัทธาจากต่างจังหวัด ได้นำผ้าป่ามาทอดที่วัดพระพุทธบาทภูสิงห์แทบทุกปี และได้ปัจจัยเหล่านั้นก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกหลายอย่าง

ปีงบประมาณ 2538 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้อนุมัติงบประมาณ 1,400,000 บาท ก่อสร้างถนนจากหมู่บ้านศาลา ขึ้นไปยังวัดพระพุทธบาทภูสิงห์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่จะไปแสวงบุญในเวลาต่อไป

นอกเหนือจากรอยพระพุทธบาท ซึ่งตั้งอยู่ย่านพนมสิงห์แห่งนี้แล้ว ยังปรากฏหลักฐานว่าเป็นเมืองแห่งความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนและเป็นดินแดนที่นับถือพระพุทธศาสนา ดังหลักฐานทางโบราณวัตถุเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ รูปปั้นพระสิวลี ใบเสมา และบัลลังก์หิน ที่วัดตะเคียนราม วัดบ้านโคกตาล และแถบบริเวณกิ่งอำเภอภูสิงห์อีกหลายแห่ง

คำนมัสการรอยพระพุทธบาทภูสิงห์

มะยัง อิมานิ ทีปะทูปะ ปุปผะวะรานิยา
สิงหะคีรียาฐิตัง พุทธะปาทะวะลัญชัง อภิปูเชมะ
อัมหากัง พุทธะปาทะวะลัญชัสสะปูชา ทัฆะรัตตัง
หิตะ สุขาวะหาโหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ประดิษฐานอยู่บนเขาภูสิงห์ ด้วยธูปเทียนและดอกไม้ อันประเสริฐเหล่านี้ กิริยาที่บูชาแด่รอยพระพุทธบาทนี้ จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสเทอญ

เทศกาลที่น่าสนใจ วัดพระพุทธบาทภูสิงห์ ได้จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทขึ้น ในวันเพ็ญเดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา ของทุกปี

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุรินทร์ (รับผิดชอบ จ.สุรินทร์,จ.บุรีรัมย์,จ.ศรีสะเกษ) (044) 514447
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษ (045) 611840
สอบถามข้อมูลท่องเที่ยว 1672
ตำรวจท่องเที่ยว 1155
ตำรวจทางหลวง 1193
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ (045) 612545
สถานีรถไฟศรีสะเกษ (045) 611525
ตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ (045) 611555
โรงพยาบาลศรีสะเกษ (045) 611434
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร (045) 818021

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว วัดพระพุทธบาทภูสิงห์ ตั้งอยู่ที่ ยอดเขาภูสิงห์ภายในวัดพระพุทธบาทภูสิงห์ บ้านศาลา ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 75 กิโลเมตร ขับรถตามเส้นทาง ศรีสะเกษ – ขุขันธ์ – ภูสิงห์

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น