องค์พระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์ หรือที่ชาวปากน้ำเรียกว่า พระเจดีย์กลางน้ำ ตั้งอยู่ที่ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ เป็นปูชนียสถาน อันเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญและเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดสมุทรปราการ ทางราชการได้ถือเอาพระสมุทรเจดีย์เป็นตราจังหวัดสมุทรปราการ ธงของจังหวัดมีสีพื้นเป็นสีน้ำทะเล กลางผืนธงมีรูปพระสมุทรเจดีย์สีขาว ใต้รูปพระสมุทรเจดีย์มีคำว่า “สมุทรปราการ” คันธงมีแถบสีเหลือง 2 แถบ สถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้ได้มีผู้คนมาเคารพแวะเวียนมาสักการบูชามากมาย ผู้คนทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากเดิม บริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมา เชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์ สมุทรปราการ เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าอยู่แถบอำเภอพระประแดงและมีชื่อเรียกว่า “เมืองพระประแดง” เป็นสถานที่พักของเมืองสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรง ต่อมา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก

ลักษณะองค์พระสมุทรเจดีย์
เป็นเจดีย์ทรงกลม ฐานล่างย่อมุมไม้สิบสอง คติการสร้างโดยรวมต้นแบบเป็นอย่างสุดขทัย เพิ่มเติมอย่างรัตนโกสินทร์ รอบนอกเป็นกำแพงแก้ว สูง 2 ศอกคืบ มีช่องทางเดินสำหรับทีกษิณาวัตร ฐานล่างเจาะเป็นซุ่งช่อง 40 ช่อง แต่ละช่องมีช้างเผือกยืนหันหน้าออก บันไดขึ้นสู่ ชั้น 2 และ 3 ส่วนมุมทั้ง 4 มีพระเกี้ยวมุมละ 1 องค์ ชั้นนี้มีทางเดินโดยรอบองค์พระเจดีย์ที่ฐานเจดีย์ชั้นนี้จะมีซุ้มจระเข้นำ ขึ้นไปเป็นฐานล่างของเจดีย์ทรงกลม นับเป็นฐานบัวคว่ำ บัวหงาย ขึ้นไปถึงองค์ระฆัง เสาหานปล้องไฉน ส่วนยอดสุดตรงหยาดน้ำค้างสร้างได้สัดส่วนสวยงาม

ประวัติความเป็นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตระหนักหลังจากมีการสร้างเมืองสมุทรปราการเสร็จในปี พ.ศ. 2365 และได้มีการสร้างป้อมที่สำคัญขึ้น 6 ป้อม ได้แก่ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช ป้อมผีเสื้อสมุทร (ปัจจุบันเหลืออยู่สมบูรณ์ป้อมเดียว) ผู้ที่ทรงโปรดเกล้าฯ ในการเป็นแม่กองในการก่อสร้างป้อมทั้ง 6 นี้คือ พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุญนาค) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชดำริว่า การที่พระองค์ได้สละพระราชทรัพย์ครั้งนี้ก็เพื่อสวัสดิภาพของชาติและพระศาสนา จึงควรจักได้มีอนุสาวรีย์ไว้ให้ปรากฏพระเกียรติยศสืบไป ทรงเห็นเกาะหาดทรายอยู่ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร(ป้อมผีเสื้อสมุทรเป็นเกาะกลางน้ำ) เหมาะแก่การที่จะประดิษฐานพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับ เจ้าพระยาพระคลัง เป็นผู้อำนวยการสร้าง รับสั่งให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาศักดิพลเสพ กับพระยาราชสงคราม จัดเขียนแผนผังรูปพระเจดีย์ถวาย เมื่อทรงทอดพระเนตรและทรงแก้ไขจนพอพระราชหฤทัยแล้ว จึงทรงเฉลิมพระนามว่า “พระสมุทรเจดีย์” ทั้งนี้คงจะมีพระราชประสงค์ให้เป็นคู่พระบารมีและอยู่คู่กับเมืองสมุทรปราการ ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้บูรณะขึ้นไว้แต่ยังมิทันจะได้ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์ เพราะยังไม่วางพระราชหฤทัยทรงเกรงพื้นฐานเกาะจะไม่แข็งแรงพอจึงทรงให้ปรับปรุงพื้นฐานให้มั่นคงต่อไปเสียก่อนแต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งยังมิทันที่พระองค์จะได้ทรงสร้างองค์พระสมุทรเจดีย์ขึ้นตามพระราชประสงค์ก็เสด็จสู่สวรรคตเสียก่อนในปี พุทธศักราช 2367 นั้นเอง

[adsense-2]

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อมาทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ พระเมรุท้องสนามหลวงในครั้งนั้น เจ้าอนุผู้ครองนครเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยาม ได้คุมราษฎรชาวเมืองเวียงจันทน์มาร่วมงานถวายพระเพลิงด้วย เมื่อการถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาศรีธรรมราชกับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองในการจัดสร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้นตาม พระราชประสงค์ของสมเด็จพระชนกต่อไป ราษฎรที่เจ้าอนุเวียงจันทน์คุมลงมาในครามถวายพระเพลิงจำนวน 1,000 คน ได้มีส่วนช่วยในการสร้างฐานรากขององค์พระสมุทรเจดีย์ ด้วยการตัดต้นตาลและลำเลียงต้นตาล จากจังหวัดเพชรบุรีและสุพรรณบุรี ลงมาทำรากฐานองค์พระสมุทรเจดีย์ จึงนับได้ว่าชาวเวียงจันทน์ได้มีส่วนร่วมบำเพ็ญกุศลสร้างฐานรากขององค์พระสมุทรเจดีย์ด้วย ครั้นถึง วันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1189 ปีกุล นพศก ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม พุทธศักราช 2370 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาศรีธรรมราช (น้อย) กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุญนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างพระสมุทรเจดีย์ขึ้น เพื่อเป็นการสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถต่อไป

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

สำนักงาน ททท.ภาคกลางเขต 8 โทร. (037) 312 282, (037) 312 284
ททท.สมุทรปราการ (02) 250 5500
จส.100 (02) 711 9151-8 หรือ 1137
สถานีวิทยุ สวพ.91 (02) 562 0033-5 หรือ 1644
สถานีตำรวจภูธรคลองด่าน (02)330 1187-8
สถานีตำรวจภูธรบางบ่อ (02) 338 1199
สถานีตำรวจภูธรบางปู (ย่อย)  (02) 323 3150-2
สถานีตำรวจภูธรบางพลี  (02) 740 3271-6
สถานีตำรวจภูธรบางพลีน้อย  (02) 337 6333
สถานีตำรวจภูธรบางเสาธง (02) 338 1559
สถานีตำรวจภูธรพระประแดง (02) 463 4481-3
สถานีตำรวจภูธรพระสมุทรเจดีย์ (02) 462 7888
สถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ (02) 394 5896-7
สถานีตำรวจภูธรสำโรงเหนือ (02) 758 4932-6
สถานีตำรวจภูธร เมืองสมุทรปราการ (02) 389 5541-7

การเดินทาง

รถยนต์สวนตัว จากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลวงหมายเลข 303) มุ่งไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระสมุทรเจดีย์

รถสารประจำทาง แบบปรับอากาศและแบบธรรมดา สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำท่าดินแดง) ลงที่สามแยกพระสมุทรเจดีย์แล้วต่อรถรับจ้างไปที่วัดได้

ความเห็น

ความเห็น