พระราชวังสนามจันทร์

พระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ประมาณ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 888 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากพระองค์สวรรคต พระราชวังสนามจันทร์ใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดนครปฐม รวมทั้ง เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน พระราชวังสนามจันทร์อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักพระราชวัง

พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า เนินปราสาท เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต

สิ่งที่น่าสนใจภายในพระราชวังสนามจันทร์

พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2450 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น แบบตะวันตก แต่ดัดแปลงให้เหมาะกับเมืองร้อน ช่องระบายลมและระเบียงลูกกรงโดยรอบฉลุฉลักเป็นลวดลายตามแบบไทยอย่างประณีตงดงาม พระที่นั่งชั้นบนประกอบด้วยห้องต่างๆ ซึ่งยังมีป้ายชื่อ ปรากฏอยู่จวบจนปัจจุบัน คือห้องบรรทม ห้องสรง ห้องบรรณาคม ห้องภูษา ห้องเสวย และห้องพระเจ้า ซึ่งเป็นหอพระ มีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอยู่องค์หนึ่ง และยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) ซึ่งงดงามน่าชมมาก พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับ (โดยเฉพาะก่อนเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลราชย์สมบัติ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๕๘) ที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯ มากกว่าพระที่นั่ง และพระตำหนักองค์อื่นๆ ในปัจจุบันบนพระที่นั่งได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี

พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี พระที่นั่งอภิรมย์ฤดี ตั้งอยู่ด้านใต้ของพระที่นั่งพิมานปฐม เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2ชั้นแบบตะวันตก ประดับลวดลายไม้ฉลุเหมือนกับพระที่นั่งพิมานปฐมโดยมีทางเชื่อมกับพระที่นั่งพิมานปฐมใช้เป็นที่ประทับเจ้านายฝ่ายในในสมัยนั้นปัจจุบันพระที่นั่งอภิรมย์ฤดีชั้นบนจัดแสดงห้องพระบรรทมห้องทรงงานเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในสมัยก่อนในปัจจุบันบนพระที่นั่งได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

พระที่นั่งวัชรีรมยา พระที่นั่งวัชรีรมยาเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน2ชั้นสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2460พระที่นั่งองค์นี้มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยแท้วิจิตรงดงามตระการตาหลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบเป็นหลังคา2ชั้นเหมือนกับหลังคาในพระบรมมหาราชวังมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้งคันทวย มีมุขเด็จด้านทิศใต้หน้าบันมุขเด็ดแกะสลักเป็นเข็มวชิราวุธอยู่ภายใต้วงรัศมีมีกรอบล้อมรอบพร้อมด้วยลายกนกลงรักปิดทองหน้าพระที่นั่งมีชานชาลาทอดยาวออกมาจรดกับพระที่นั่งพิมานปฐมด้วย พระทวารของบัญชรทั้ง2ชั้นของพระที่นั่งองค์นี้มีลักษณะคล้ายกับเรือนแก้วเป็นบันแถลงเสียบไว้ด้วยยอดวชิราวุธภายในมีเลข6อยู่ในลายพิจิตรเลขาเป็นมหามงกุฎมีลายกนกลงรักปิดทองล้อมรอบบนพื้นที่ประดับตกแต่งไปด้วยกระจกสีน้ำเงินพื้นเพดานชั้นบนของพระที่นั่งองค์นี้ทาด้วยสีแดงสดเข้มมีดอกดวงประดับประดาละเอียดอ่อนทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองส่วนชั้นล่างนอกจากจะทาสีแดงและปิดทองแล้วนั้นชั้นล่างมีความแตกต่างกันตรงที่ลายฉลุนั้นเป็นดาวประดับพระที่นั่งองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็นที่ประทับเป็นครั้งคราวโดยมากจะใช้เป็นห้องทรงพระอักษรในปีพ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรงซ้อมเสือป่าที่บ้านโป่ง โพธาราม เมืองราชบุรี และพระองค์เสด็จกลับมาประทับ ณ พระที่นั่งองค์นี้เป็นเวลา1คืนก่อนจะเสด็จไปประทับ ณ สวนนันทอุทยาน1เดือนและกลับมาที่พระราชวังสนามจันทร์และกลับมา ณ พระที่นั่งองค์นี้เป็นเวลา1สัปดาห์ก่อนกลับพระบรมมหาราชวัง

พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เป็นพระที่นั่งที่มีส่วนเชื่อมต่อกับใกล้เคียงคือพระที่นั่งวัชรีรมยา หน้าบันพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์อยู่ทางทิศเหนือเป็นรูปหลักท้าวอมรินทราธิราชประทานพรประทับอยู่ในปราสาทสามยอด พระหัตถ์ขวาทรงวชิระ พระหัตถ์ซ้ายทรงประทานพรแวดล้อมด้วยบริวารซึ่งประกอบด้วยเทวดาและมนุษย์5หมู่ ท้องพระโรงยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ1เมตรมีอัฒจันทร์2ข้างต่อกับพระที่นั่งวัชรีรมยามีพระทวารเปิดถึงกัน2ข้างซุ้มพระทวารทั้ง2และซุ้มพระบัญชรใกล้ๆพระทวารทั้ง2ข้างแกะสลักเป็นรูปกีรติมุขลงรักปิดทองภายในพระที่นั่งโดยรอบมีเสานางจรัลแบ่งเขตท้องพระโรงกับเฉลียงส่วนที่เป็นเฉลียงลดต่ำลงมา20เซนติเมตรเสานางจรัลมีลักษณะเป็นเสาทรง8เหลี่ยมเช่นเดียวกับพระที่นั่งวัชรีรมยาทำเป็นลายกลีบบัวจงกลโดยรอบเสาตลอดทั้งต้นเพดานพระที่นั่งมีลักษณะเช่นเดียวกับเพดานชั้นล่างพระที่นั่งวัชรีรมยาเพดานสีแดงเข้มปิดทองฉลุ เป็นลายดาวประดับ มีโคมขวดห้อยอย่างงดงาม

พระที่นั่งองค์นี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้เป็นสถานที่จัดงานหลายอย่าง เช่น งานสโมสรสันนิบาต เสด็จฯออกพบปะขุนนาง เป็นสถานที่ฝึกอบรมกองเสือป่า และใช้เป็นที่แสดงโขนละครต่างๆ เนื่องจากพระที่นั่งองค์นี้กว้างขวางและสามารถจุคนเป็นจำนวนมาก จึงมีชื่อเรียกติดปากชาวบ้านว่า โรงโขน ซึ่งครั้งหนึ่งระองค์ได้เคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระมหาเศวตฉัตรมาประดิษฐานไว้ภายในนี้ด้วย

เมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้ในพระราชพิธีพระราชทานเหรียญตราแก่นายทหารและทรงประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาแก่ทหารรวมทั้งเสือป่า
และวันที่10 มิถุนายน 2465 มีงานพระราชทานเลี้ยงแก่พระอินทราณีเนื่องในวันเกิดและให้ร่วมประทับโต๊ะเสวยพร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการมีพระราชดำรัสว่าวันนี้พระองค์จะทรงหลั่งพระมหาสังข์แก่พระอินทราณีและทรงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาขึ้นเป็น พระวรราชชายาเธอ พระอินทรศักดิ์ศจี (พระยศในขณะนั้น)

พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย เป็นพระที่นั่งโถงทรงไทย สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2457 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรปาฏิหาริย์แห่งองค์พระปฐมเจดีย์เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระราชวังสนามจันทร์ หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงวังย้ายพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยมาประดิษฐานบนชาลาด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อปี พ.ศ. 2470 และกรมศิลปากรได้อัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยไปประดิษฐานยังสนามหญ้าด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย

ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังสนามจันทร์ โดยผู้ดูแลพระราชวังได้กราบบังคมทูลขอให้มีการอัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยกลับมาประดิษฐาน ณ พระราชวังสนามจันทร์ พระองค์จึงมีพระราชดำริให้สำนักพระราชวังส่งหนังสือมายังกรมศิลปากรในการอัญเชิญพระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนยกลับมาประดิษฐาน ณ พระราชวังสนามจันทร์ดังเดิม หลังจากการบูรณะซ่อมแซมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ เป็นพระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่งในพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2451 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ เป็นพระตำหนัก2ชั้นหลังคามุงกระเบื้องสีแดงชั้นบนมีเพียง2ห้อง ชั้นล่างมี2ห้อง มีระเบียงล้อมรอบ3ด้านของตัวพระตำหนักทั้ง2ชั้น จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอเนซองส์ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทยผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตรเป็นอาคาร2ชั้นชั้นล่างเป็นห้องบันไดอีกด้านหนึ่งเป็นห้องเสวยและห้องส่งเครื่องชั้นบนประกอบด้วยทางเดินกลางแบ่งอาคารเป็น2ข้างแต่ละข้างมีห้องใหญ่เป็นห้องบรรทมและห้องเล็กเป็นห้องทรงพระอักษรล้อมด้วยระเบียงสามด้านยกเว้นด้านหลังทางด้านตะวันออกและตะวันตกมีเฉลียงเป็นรูปครึ่งวงกลมประกอบด้วยเสาขนาดใหญ่หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดงจุดเด่นของพระตำหนักอยู่ที่ป้อมหรือหอคอยที่มุมอาคารยอดหลังคาเป็นกรวยแหลมนอกจากนี้ทางเข้ากลางด้านหน้ายังทำเป็นมุขแบบชนบทลายซุ้มหน้าบันเหนือระเบียงมีลายแบบยุคกลางของยุโรปด้านใต้มีประตูเปิดไปสู่ฉนวนซึ่งทอดยาวไปพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์

ในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 แต่เดิมพระตำหนักหลังนี้ชื่อว่า พระตำหนักเหล ซึ่งตั้งตามนามของย่าเหล สุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาล

พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก ของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วน ให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพานจากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีฯ สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปี พ.ศ. 2459 โดยมีหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมภายนอกคล้ายกระท่อมไม้ในชนบททาสีแดงหลังคาทรงปั้นหยายกจั่วสูงผังอาคารเป็นรูปไม้กางเขนแต่แขนยาวไม่เท่ากันภายในแบ่งออกเป็น2ชั้นโดยชั้นล่างด้านตะวันออกเป็นโถงใหญ่โล่งถึงชั้นบนส่วนแกนเหนือใต้เป็นห้องโถงทางเข้าด้านหนึ่งและห้องนอนมหาดเล็กชั้นบนมี4ห้องได้แก่ห้องโถงทางทิศเหนือมีประตูเปิดสู่ฉนวนน้ำที่เชื่อมกับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ห้องทรงพระอักษรอยู่ทางทิศเหนือห้องบรรทมอยู่ทางทิศใต้มีประตูออกสู่ระเบียงและห้องสรงอยู่ด้านตะวันตกของห้องพระบรรทม

พระตำหนักทับแก้ว เป็นอาคารตึกสองชั้นตั้งอยู่ที่เชิงสะพานสุนทรถวาย เป็นที่ประทับในฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการเสือป่า กองเสนารักษ์ราบเบารักษาพระองค์ระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่ารวมทั้งเป็นสถานที่พระราชทานสัญญาบัตรแก่ข้าราชการและเป็นที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถและเสวยพระสุธารสลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกเป็นตึก2ชั้นขนาดเล็กทาสีเขียวอ่อนภายในมีเตาผิงและหลังคาปล่องไฟตามบ้านของชาวตะวันตก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เปนที่พักของปลัดจังหวัดนครปฐมจนกระทั่งได้รับการบูรณะในปีพ.ศ. 2546เพื่อใช้เป็นวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยศิลปากรทำให้มหาวิทยาลัยศิลปากรที่นครปฐมชื่อว่าวิทยาเขตทับแก้ว

ปัจจุบันสำนักพระราชวังได้อนุญาตให้สมาคมประวัติศาสตร์ฟุตบอลแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดแสดงเป็น “พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าในพระราชกรณียกิจด้านกีฬาฟุตบอลของชาติ

พระตำหนักทับขวัญ เป็นหมู่เรือนไทยมีชานเชื่อมต่อกันหมดเช่นหอนอน2หอเรือนโถงเรือนครัวหอนกอยู่ที่มุมของเรือนใช้วิธีเข้าไม้แบบโบราณฝาเรือนทำเป็นฝาไม้ปะกนกรอบลูกฟังเชิงชายและไม้ค้ำยันสลักสวยงามออกแบบโดยพระยาวิศวกรรมศิลป์ประสิทธิ์(น้อย ศิลป์) เป็นนายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างรอบๆเรือนปลูกไมไทยเช่นนางแย้ม นมแมว ต้นจันและจำปี และพระตำหนักหลังนี้ได้รับการบูรณะเมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์200ปี

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2454 พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักองค์นี้เป็นเวลา ๑ คืน และเมื่อมีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์

เทวาลัยคเณศร์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ ที่อันเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับประดิษฐานพระพิฆเนศวร ซึ่งนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อมองจาก พระที่นั่งพิมานปฐมจะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์และพระที่นั่งพิมานปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน

อนุสาวรีย์ย่าเหล
อนุสาวรีย์ย่าเหล เป็นอนุสาวรีย์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงย่าเหลสุนัขทรงเลี้ยง โดยประดิษฐานไว้หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่ง ฉลองพระองค์ชุดเสือป่าราบหลวงอย่างเก่าแบบทรงม้า เป็นฝีมือของช่างจากกรมศิลปากร ส่วนราชการจังหวัดฯ ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้กลางพระราชวังสนามจันทร์ หลังเทวาลัยคเณศร์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2525

ศาลาธรรมมุเทศน์โอฬาร ในราชกิจจานุเบกษาใช้ว่า “ศาลาธรรมเทศน์โอฬาร” คือ “ธรรมศาลาสำหรับพระราชวังสนามจันทร์” เป็นศาลาที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประชุมใหญ่และอบรมเสือป่า เนื่องจากเสือป่ามีจำนวนมากขึ้นทุกปี เมื่อมีการประชุมใหญ่พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์จุเสือป่าได้ไม่เพียงพอจึง แต่จนสิ้นรัชกาลก็ไม่มีการสร้างศาลานี้

ปราสาทศรีวิไชย เป็นอนุสาวรีย์แห่งพระเจ้ากรุงศรีวิไชย ตั้งอยู่บนเนินปราสาทเก่า อย่างไรก็ดีตลอดจนสิ้นรัชกาลไม่ปรากฏว่าได้สร้างปราสาทศรีวิไชยขึ้น

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมเวลา 9:00-16:00น. ปิดขายบัตรเวลา 15:30น.
อัตราค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 30บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท (มีการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้ชมวันละ 2รอบ เวลา 11:00น. และเวลา 14:00น.)

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พระราชวังสนามจันทร์ โทร. (034) 244 236-7 Fax. (034) 244 235
ตำรวจภูธรภาค 7 โทร. (034) 243 751-2, (034) 241 426
ที่ทำการไปรษณีย์นครปฐม โทร. (034) 251 986, (034) 242 356
เทศบาลเมืองนครปฐม โทร. (034) 253 850-4
โทรศัพท์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 251 070, (034) 242 356
ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 011-2
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย โทร. (034) 332 061, (034) 332 067, (034) 332 109
โรงพยาบาลศูนย์นครปฐม โทร. (034) 254 150-4
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. (034) 251 155, (034) 514 438
สถานีตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 886, (034) 511 560
สถานีรถไฟจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 242 305
สำนักงานขนส่งนครปฐม โทร. (034) 241 378
สำนักงานจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 243 811, (034) 258 678
ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร. (034) 512 500, (034) 623 691
ศูนย์การท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดนครปฐม โทร. (034) 340 065-6
หอการค้าจังหวัดนครปฐม โทร. (034) 254 231, (034) 254 647, (034) 210 230
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว
ให้ใช้แยกนครชัยศรีเป็นหลัก ซึ่งถ้าวิ่งมาจากกรุงเทพจะสามารถมาได้จาก ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) และถนนสายปิ่นเกล้า – นครชัยศรี (ทางหลวงหมายเลข 338 ) เพื่อมุ่งหน้าสู่นครปฐม ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่านแยกนครชัยศรี

จากแยกนครชัยศรี ขับตรงไปประมาณ 8.5 กิโลเมตร จะถึงแยกบ้านแพ้ว (ถ้าเลี้ยวซ้ายจะไปบ้านแพ้ว ถ้าตรงไปจะไปนครปฐม ราชบุรี) ให้ขับตรงไปอีกประมาณ 500 เมตร จะพบสะพานไปตัวเมืองนครปฐม ให้ขับขึ้นสะพาน (ถ้าตรงไปจะไปราชบุรี) จากนั้นขับตรงไปอีกประมาณ 3.4 กิโลเมตร จะพบ 4 แยกไฟแดง (ถ้าตรงไปก็คือ องค์พระปฐมเจดีย์ ถ้าเลี้ยวขวาจะเข้าไปยังตลาดนครปฐม ถ้าเลี้ยวซ้ายจะไปจังหวัดสุพรรณบุรี) เลี้ยวซ้าย แล้วขับตรงไปประมาณ 200 เมตร จากนั้นเลี้ยวขวา แล้วขับตรงไปประมาณ 1.9 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาที่ไฟแดง เลี้ยวขวาแล้วให้ขับตรงไปประมาณ 400 เมตร ก็จะถึงพระราชวังสนามจันทร์

รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ นั่งรถสายกรุงเทพฯ – สุพรรณบุรี ไปลงที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร (นครปฐม) จากนั้นเดินเท้าประมาณ 400 เมตร จะถึงพระราชวังสนามจันทร์

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น