Tag: ปทุมธานี

สวนสนุกดรีมเวิลด์

สวนสนุกดรีมเวิลด์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบึงยี่โถ กิโลเมตรที่ 7 เส้นทางสายรังสิต-นครนายก บริเวณคลองสาม ดรีมเวิลด์เป็นสวนสนุกและ สถานที่พักผ่อนที่รวบรวมความบันเทิงนานาชนิดเข้า ไว้ด้วยกันในเนื้อที่กว่า 160 ไร่ ประกอบด้วยดินแดนต่าง ๆ 4 ดินแดน ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ดรีมเวิลด์ พลาซ่า ดินแดนที่เต็มไปด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมอันวิจิตร พิศดารตลอดสองข้างทาง ดรีมการ์เด้น เป็นอุทยานสวนสวยที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม ท่ามกลางความเย็นสบายจากทะเลสาบ ขนาดใหญ่ และเคเบิ้ลคาร์ ที่จะพาชมความงามของทัศนียภาพในมุมสูง แฟนตาซี แลนด์ เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย ประกอบด้วย ปราสาทเจ้าหญิงนิทรา บ้านขนมปัง และบ้านยักษ์ แอดแวนเจอร์ แลนด์ ดินแดนแห่งการผจญภัย และท้าทาย ประกอบด้วย รถไฟตะลุยจักรวาล ไวกิ้งส์ เมืองหิมะ เป็นต้น ประวัติความเป็นมา “ดรีมเวิลด์” เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของ“ตระกูลกิติพราภรณ์” ซึ่งในขณะนั้นได้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสวนสนุกคือสวนสนุกแดนเนรมิต ด้วยเงินลงทุนกว่า1,000ล้านบาทจินตนาการที่ไม่มีขอบเขตและความร่วมมือร่วมใจ ของผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายสาขาทำให้“ดรีมเวิลด์” ถูกเนรมิตขึ้นมาให้เป็นโลกแห่งความสุขสำหรับครอบครัวแห่งใหม่ที่ทุกเพศทุก วัยสามารถสนุกสนานกับเครื่องเล่นที่ทันสมัยชมการแสดงต่างๆที่สุดแสนประทับใจ หรือพักผ่อนกับบรรยากาศที่สวยงามและร่มรื่นด้วยพฤกษานานาพันธุ์ สวนสนุกดรีมเวิลด์ประกอบด้วยความบันเทิงต่างๆที่ถูกออกแบบให้มีบรรยากาศแห่ง ความสุขสนุกสนานที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความงดงามของ สถาปัตยกรรมอันวิจิตรพิสดารรวมไปถึงอุทยานสวนสวยที่ถูกตัดแต่งไว้เป็นลวดลาย งดงามวิจิตรตระการตาท่ามกลางความเย็นสบายจากเลคออฟพาราไดซ์(LAKE […]

Read More

วัดสิงห์

วัดสิงห์ ไปชมวัดโบราณ สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งความเก่าแก่ และการบอกเล่าเรื่องราวในอดีตผ่านโบราณสถานในวัดกันค่ะ ตั้งอยู่ที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมือง สามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป ซึ่งวัดสิงห์เป็นวัดโบราณ ในบันทึกพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดคู่เมืองสามโคก บริเวณนี้มีการอพยพเข้าออกมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชาวมอญมาหลายยุคสมัย ตามการสันนิษฐานวัดแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ.2202-2210 ที่ตั้งของวัดอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา มีคลองเชื่อมสำหรับเรือเข้าออกเรียกว่า คลองวัดสิงห์ วัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นโบราณวัตถุที่ได้มาจากกรุโบราณของวัด ปัจจุบันยังไม่ได้ทำทะเบียนครบทุกชิ้น เป็นพระพุทธรูปโบราณ แม้จะเป็นชิ้นส่วนไม่สมบูรณ์เต็มองค์ แต่ด้วยศิลปะฝีมือช่างชั้นเยี่ยม ความสวยงามยังคงปรากฏอย่างแจ่มชัด ส่วนที่เป็นของพื้นบ้านมีตุ่มสามโคกที่เป็นของแท้สามใบ ลักษณะเป็นตุ่มดินเผาเนื้อดินสีแดงสีหมากสุก อิฐมอญแปดรู ใช้ในการก่อสร้างสมัยก่อน แท่นพระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงถวายแด่พญากราย พระภิกษุเชื้อสายเจ้ารามัญผู้เป็นเจ้าอาวาสขณะนั้น ในคราวเสด็จประพาสเมืองสามโคก ในเทศกาลออกพรรษาเดือน 11 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2358 […]

Read More

วัดพืชอุดม

วัดพืชอุดม ไปทัวร์นรก ท่องสวรรค์กันค่ะ วัดพืชอุดม ตั้งอยู่เลขที่ 27 หมู่ 9 ตำบลพืชอุดม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ในบริเวณวัดมีศาลารูปปั้นต่างๆ แสดงถึงนรกภูมิและสวรรค์ภูมิชั้นต่างๆ มีหลวงพ่อโสธรจำลองประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาเข้าชมอีกด้วยค่ะ วัดพืชอุดม สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2417 เดิมชื่อ “วัดราษฎร์ศรัทธาราม” เกิดขึ้นจากศรัทธาขอาสาธุชนในท้องถิ่นโดยมีนายแสง เอี๋ยววัฒนะ อุทิศที่ดินเพื่อสร้างวัดจำนวน 12 ไร่ 2 งาน 17 ตารางวา และมีเถ้าแก่เฮง เอี๋ยววัฒนะ นางแจ่ม เกสรบัว นายยศ นางเที่ยง ยอดเพ็ชร ร่วมบริจาคเงินอุปถัมภ์ก่อสร้างอุโบสถไม้เนื้อแข้งหลังแรก ต่อมาในสมัยพระอธิการช่วง ธมฺมโชติ เป็นเจ้าอาวาสได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดพืชอุดม” เนื่องจากบริเวณวัดและพื้นที่ใกล้เคียงกับวัดอุดมสมบูรณ์ด้วยไม้ผล ไม้ดอก และพืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ วัดพืชอุดมมีพระอาจารย์แดงเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาวัดได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมทางทิศอีกจำนวน 7 ไร่ 1 งาน 83 ตารางวา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถสถจตุรมุขหลังใหม่ รวมพื้นที่ของวัดทั้งหมด […]

Read More

วัดไผ่ล้อม

วัดไผ่ล้อม เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ในความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบริเวณวัดนั้นเป็นที่อาศัยของ “นกปากห่าง” จำนวนมาก “นกปากห่าง” เป็นนกที่อยู่ในตระกูลนกกระสา มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ลังกา อัสสัม พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม “นกปากห่าง” เป็นนกประจำถิ่นแต่มีบางพวกที่อพยพ เปลี่ยนที่หากินไปตามฤดูกาล นกนี้จะเริ่มอพยพมาอาศัยอยู่ที่วัดไผ่ล้อม ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยจะเริ่มจับคู่ทำรังและผสมพันธุ์จนกระทั่งวางไข่ และเลี้ยงลูกอ่อน เมื่อลูกนกโตขึ้นจนสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว พอเข้าฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม นกส่วนมากจะอพยพ จากวัดไผ่ล้อม ทยอยบินขึ้นไปทางเหนือยังประเทศอินเดีย หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน นกก็จะเริ่มบินกลับมาทำรังที่วัดไผ่ล้อมอีก อาหารที่นกปากห่างชอบคือหอยโข่ง นอกจากนี้ยังมีกุ้งและปลา ปัจจุบัน “นกปากห่าง” เป็นสัตว์ป่าสงวนในความดูแลของกองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ (รับผิดชอบ: สมุทรปราการ,กรุงเทพมหานคร,ฉะเชิงเทรา,นนทบุรี,ปทุมธานี) โทร. (02) 250 5500 โทรสาร. (02) 250 5511 สถานีตำรวจ […]

Read More

วัดท้ายเกาะ

วัดท้ายเกาะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก หมู่ที่ 3 ตำบลท้ายเกาะ มีเจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุด กุฏิลายจำหลักไม้สวยงามชมศาลาสองหลังต่อกัน ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 125 ซึ่งพระองค์เสด็จประทับ ณ ศาลาหลังนี้ และชมจระเข้สตาฟแต่ก่อนนั้นจระเข้บริเวณนี้ชุกชุมมาก มอญเรียกว่า “เวียงจาม” เป็นวัดที่อยู่สุดเขตจังหวัด ปทุมธานีต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประวัติความเป็นมา วัดท้ายเกาะ เป็นวัดรามัญ มีชื่อเดิมว่า วัดเวียงจาม ซึ่งเป็นภาษารามัญ แปลว่าวังจรเข้ เป็นวัดที่ชาวรามัญได้อพยพหลบภัยมาพึ่งพระโพธิสมภาร จากเมืองเย และเมืองเมาะตะมะ ดังความปรากฏพงศาวดาร ปี พ.ศ. 2206 ชาวรามัญที่อาศัยอยู่ในเมืองเมาะตะมะ ถูกกดขี่ข่มเหง เห็นจะอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว จึงอพยพครอบครัวมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เข้ามาพึ่งพระโพธิสมภารในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงโปรดเกล้าพระราชทานให้ครอบครัวชาวรามัญไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สามโคก ปลายเขตแดนติดต่อกรุงศรีอยุธยา และชาวรามัญได้รวมกลุ่มก่อตั้งหมู่บ้าน เวียงจาม และได้ก่อสร้าง วัดเวียงจาม ไว้เป็นศูนย์รวมทางพระพุทธศาสนาประจำหมู่บ้าน และได้สร้างเจดีย์ ชะเวดากอง ไว้ริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาเพื่อสักการะบูชา ต่อมาในปี […]

Read More

วัดเจดีย์หอย

วัดเจดีย์หอย ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อเงิน อำเภอ ลาดหลุมแก้ว บริเวณวัดเจดีย์หอยมีการขุดพบซากหอยนางรมยักษ์อายุในราว 8 ล้านปีมาแล้ว วัดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยท่านพระครูสุนทร คุณธาดาหรือหลวงพ่อทองกลึง สุนทโรเป็นผู้สร้างครับ ประวัติของ ทางวัดก็มีความน่าสนใจมากเพราะเกิดมาจาการที่หลวงพ่อท่านได้ไปธุดงค์ที่ประเทศพม่าพบพระอาจารย์ศิลบันตะหนึ่งพรรษา ก็ได้ ศึกษาวิชาอาคมจนแตกฉานจึงธุดงค์กลับมาที่ถ้ำโอ่งจุก อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรีซึ่งเป็นที่จุดกำเนิดให้ท่าเกิดนิมิตเห็นว่าในสถาน ณ ปัจจุบัน เมื่อ 8 ล้านปีเป็นเมืองใหญ่ ชื่อเมืองรัตนาวดี และหลวงพ่อท่านเองก็เป็นเจ้าเมืองครองเมืองอยู่ที่นี่ ท่านจึงเดินทาง มาตาม หาตามนิมิตจนพบ และมีความตั้งใจจะสร้างพื้นดินแห่งนี้ให้เป็นบริเวณอารามวัดขณะที่กำลังขุดบึงบอเพื่อ ไว้เป็นที่กักเก็บน้ำ ไว้ รดพืชสมุนไพร ก็ทำให้มาเจอกับเปลือยหอยนางรมยักษ์ที่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นดิน และมีอายุนับพันๆปีจำนวนมหาศาล และท้ายที่สุดก็นำ เปลือยหอยนางรมยักษ์ที่ค้นพบมาสร้างเป็นเจดีย์และให้ชื่อว่า“วัดเจดีย์หอย”มาจนทุกวันนี้ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เจดีย์หอย พระครูสุนทรคุณธาดา (หลวงพ่อทองกลึง สุนฺทโร) เจ้าอาวาส จึงนำซากหอยโบราณมาก่อเป็นเจดีย์ ขึ้นที่ด้านหน้าทางเข้าและเจดีย์องค์ใหญ่ในวัด 1องค์ เล็ก 1องค์ ประชาชนเริ่มหลั่งไหลมาดูหอยนางรมยักษ์ ผู้ที่มีจิตศรัทธาก็ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างวัด พิพิธภัณฑ์ รวบรวมพระพุทธรูป และศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ […]

Read More

วัดเจดีย์ทอง

วัดเจดีย์ทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองควาย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี อยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองควาย ในวัดนี้มีเจดีย์ทรงรามัญ สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองของพม่า และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นด้วยหยกขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยรามัญ ประวัติความเป็นมา วัดเจดีย์ทองเป็นวัดเก่ามีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลักฐานที่พบ คือ เสมาขนาดใหญ่หินทรายแดง ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวรามัญอพยพหนีพม่าจากเมือง เมาะตะมะ โดยมีพระยารามราชบุตรเขยพระยาเจ่ง เป็นพระเจ้ามหาโยธาเป็นผู้นำ เข้ามาอยู่ทั่วเมืองสามโคก เป็นผู้ริเริ่มบูรณะและสร้างถาวรวัตถุ กุฏิศาลาขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2508 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เจดีย์สีทอง สร้างในสมัยต้น กรุงรัตน โกสินทร์โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองของพม่าเป็นเจดีย์ทองบ้างเจดีย์สีขาวบ้าง สถูปทรงระฆังก่อด้วยอิฐฐานรูปสี่เหลี่ยม มีซุ้มจระนำโค้ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ด้าน ลงรักปิดทอง ประดับกระจกสี ยอดประดับด้วยฉัตร 9 ชั้น กุฏิเรือนไทย และกุฏิทรงปั้นหยา หอสวดมนต์ ตกแต่งด้วยลวดลายและแกะสลักและลายฉลุเชิงชายช่องลม นอกจากนี้ยังมีใบเสมาศิลาพายแดงศิลปอยุธยา พระพุทธรูปศิลปแบบรามัญ เจดีย์พระปรางค์ประดับกระเบื้องเคลือบแบบจีนอีกด้วยค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ (รับผิดชอบ: […]

Read More

วัดจันทน์กะพ้อ

วัดจันทน์กะพ้อ ตั้งอยู่เลขที่ 41 บ้านตากแดด หมู่ที่ 3 ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นวัดที่สร้างโดยชาวมอญ ที่อพยพมาจากเมืองเมาะตะมะภายใต้การนำของสมิงสอดเบา เรียกว่ามอญใหม่ (มอญที่มาครั้งพระยาเจ่งเรียกว่ามอญเก่า) อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อได้สร้างวัดขึ้นแล้วขนานนามว่า “วัดโกว๊ะ” ซึ่งเป็นภาษารามัญแปลว่า “ต้นจันทน์กะพ้อ” ซึ่งชาวมอญ ถือว่าเป็นไม้มงคลเหมือนต้นราชพฤกษ์ ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า “วัดกะพ้อ” ต่อมาได้เปลื่ยนนามใหม่เป็น “วัดจันทน์กะพ้อ”  ภายในวัดมีหอวัฒนธรรม ซึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุมอญ และยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ประกอบพิธีสำคัญของชาวปทุมธานีเช่น พิธี ออกฮ้อยปะจุ๊ แข่งธงตะขาบ งานตักบาตรพระร้อย เป็นต้น ปูชนียวัตถุ.ในวัดที่น่าสนใจมีเจดีย์อายุประมาณ 100 ปี และพระประธานในพระอุโบสถและเสาหงส์ [adsense-2] ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานกรุงเทพฯ (รับผิดชอบ: สมุทรปราการ,กรุงเทพมหานคร,ฉะเชิงเทรา,นนทบุรี,ปทุมธานี) โทร. (02) 250 5500 โทรสาร. (02) 250 5511 สถานีตำรวจ อ.เมืองปทุม (02) […]

Read More

เที่ยว ปทุมธานี

ปทุมธานี “ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม” เทศกาล/ประเพณี ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 (ประมาณเดือนกันยายน) ณ วัดสุทธาวาส อ.ลาดหลุมแก้ว ประเพณีตักบาตรพระร้อย จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลออกพรรษาในวันแรม 1-14 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) ณ วัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว จังหวัดปทุมธานีเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ด้วยถนนหลายสาย จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดปทุมธานีได้ 5 เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ 1 ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) หรือถนนวิภาวดีรังสิต หรือโทลล์เวย์ จนถึงรังสิต แล้วแยกซ้ายเข้าใช้เส้น ทางหมายเลข 346 (รังสิต-ปทุมธานี) จนถึงอำเภอเมืองปทุมธานี เส้นทางที่ 2 ใช้ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด (ทางพิเศษอุดรรัถยา) ออกจากทางด่วนที่ทางออกบางพูน-รังสิตแล้วใช้เส้น ทางหมายเลข 346 […]

Read More