Tag: ปราสาทเปือยน้อย

ปราสาทเปือยน้อย

ปราสาทเปือยน้อย  ชมปราสาทหินโบราณ ศึกษาถาปัตยกรรมปาปวน ปราสาทเปือยน้อย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “ พระธาตุกู่ทอง ” ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดในแถบอิสานตอนบนเท่าที่เคยค้นพบมา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16 – 17 เพื่อใช้เป็นศาสนสถานประกอบพิธีกรรม ลักษณะด้านสถาปัตยกรรมประกอบด้วยกลุ่มอาคารโบราณ 4 หลัง ก่อด้วยศิลาแลง หินทรายและอิฐ โดยมีกำแพงแก้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าล้อมรอบอีกชั้น ซึ่งภายในกำแพงแก้วยังมีบรรณาลัยหรือวิหารทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ ปราสาทเปือยน้อยนั้นเป็นศิลปะผสมระหว่างเขมรบาปวนและแบบนครวัดรวมกันเป็นปราสาทที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง  ผังการก่อสร้าง หมายถึง เขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาล หมายถึงที่สิ่งสถิตย์ของเหล่าบรรดาทวยเทพทั้งหลาย หน้าบรรณขององค์ปรางประธานสลักเป็นรูปนาคราชมีลวดลายสวยงามสะดุดตา ทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เช่นเดียวกับตัวปราสาทคาดการณ์ว่าน่าจะมีอายุประมาณ 800 ปี ปราสาทแห่งนี้ยังคงลักษณะของศิลปะบาปวนอยู่มาก ทั้งรูปแบบทับหลังและหน้าบัน อย่างไรก็ดี การปรากฏหน้ากาลหันข้างคายนาคที่ปลายกรอบซุ้มนั้น กลับเป็นลักษณะของศิลปะคลังที่เก่ากว่าและยังคงตกทอดอยู่ในศิลปะบาปวนในประเทศไทยหลายแห่ง ส่วนลักษณะบางประการ เช่น การปรากฏขื่อปลอมหักตั้งได้ฉากที่ด้านล่างของหน้าบัน รวมถึงกาสรปรากฏนาคทรงกระบังหน้านั้น ย่อมแสดงให้เห็นอายุที่เคลื่อนคล้อยไปสู่สมัยนครวัดแล้ว [adsense-2] ที่น่าสนใจก็คือ ปราสาทแห่งนี้อาจเป็นศาสนสถานในลัทธิไวษณพ นิกาย เนื่องจากทับหลังของปราสาทหลังกลางเป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ นอกจากนี้ ยังปรากฏภาพเล่าเรืองในไวษณพนิกายบนทับหลังอีกหลายชิ้น ส่วนภาพเล่าเรื่องในไศวนิกาย คือภาพอุมามเหศวรนั้น ปรากฏอยู่ที่หน้าบันของบรรณาลัย […]

Read More