Tag: สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง) ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534] องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” […]

Read More

ศาลพระแม่ย่า

ศาลพระแม่ย่า ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรบำรุง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย เพราะศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่ย่าและดวงวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช รูปพระแม่ย่านี้ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญาสูง 1 เมตร พระแม่ย่าองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระมารดาคือ นางเสือง การที่เรียกว่า “พระแม่ย่า” นี้เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกพระมารดาว่า “พระแม่” และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา ดังนั้น จึงรวมเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า “พระแม่ย่า” แต่เดิมพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนยอดเขา มีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดดฝน ต่อมาชาวสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลาขึ้นหน้าศาลากลางจังหวัดริมแม่น้ำยม ดังเช่นปัจจุบัน และมีการจัดงานเฉลิมฉลองทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า “งานพระแม่ย่า” [adsense-2] แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานห่างจากตัวเมืองสุโขทัยไปทางจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ 7 กิโลเมตร เมื่อถึงช่วงสงกรานต์ปีประเพณีแห่แหนพระแม่ย่า เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล และที่แปลกคือทุกครั้งที่แหแหนพระแม่ย่าจะมีฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ ในปีพ.ศ. 2496 นายเชื่อม ศิริสนธิ ผู้ว่าราชการจังหวัดเกรงว่า ถ้าแห่แหนบ่อยๆ อาจทำให้ตกหล่นเสียหายได้ จึงสร้างองค์จำลองไว้ที่ถ้ำพระแม่ย่า และอัญเชิญองค์จริงมาไว้ที่ศาลากลางจังหวัด โดยสร้างเทวาลัยที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลพระแม่ย่า” และต่อมา พ.ศ. 2537 สมัยนายเกียรติพันธ์ น้อยมณี ผู้ว่าราชการจังหวัด […]

Read More

วัดโสภาราม

วัดโสภาราม ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างพระสุโขทัยองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ต.สามเรือน  อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย อยู่ติดถนนจรดวิถีถ่อง ตรงกิโลเมตรที่ 2 จากอำเภอศรีสำโรง นามเดิมชื่อว่า วัดโรงญวน หมู่ที่ 7 ต.สามเรือน อ.ศรีสำโรง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 1 งาน 64.50 ตารางวา วัดนี้ได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2360 เดิมเรียกว่า “วัดลำญวน” ตามชื่อของหมู่บ้านลได้เปลี่ยนเป็น “วัดโสภาราม” ในภายหลังได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามทะเบียนระบุ พ.ศ.2370 ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างวัดนี้ เพราะเดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของคนญวนที่อพยพมาอาศัยแล้วตั้งวัดขึ้นมา เมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว ดังหลักฐาน อุโบสถวิหาร – เจดีย์ -พระพุทธรูปเก่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวมานี้มีเพียงรากฐานปรากฏอยู่เท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ เป็นวัดโสภาราม [adsense-2] วัดโสภารามได้ทำการบูรณะมาหลายครั้ง และยังตั้งหลักฐานไม่ได้จนมาถึงปี 2520 โดยมีพระครูสุทธิธรรมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดโสภารามได้ทำการชักชวนชาวบ้านให้ร่วมมือกันก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่และจัดสร้างอุโบสถ-ศาลาอบรมธรรมพระสุโขทัยองค์ใหญ่จนถึงปี 2541 พระมนูญก็ได้มารับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสแทนจนถึงปี […]

Read More

วัดสวนแก้วอุทยานน้อย

วัดสวนแก้วอุทยานน้อยหรือเรียกกันอีกชื่อว่า วัดสระแก้ว อยู่ทางตะวันออกของวัดช้างล้อม ห่างออกมา 200 เมตร วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มโบราณสถานในวัดนี้มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีประตูทางเข้า 2 ทาง ด้านหน้าวัดและ หลังวัด โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีทางเข้าอยู่ด้านหน้า รอบเจดีย์มีเจดีย์รายแบบต่างๆ ล้อมรอบอยู่ถึง 13 องค์ วิหารของวัดนี้ มีซุ้มพระตั้งอยู่ด้านหลัง ลักษณะเป้นทรงมณฑป หลังคามณฑปเป็นรูปโค้งแหลม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย คงปรากฏให้เห็นเพียง โกลนศิลาแลงและแกนไม้สักที่ใช้เป็นแกนยึดพระกรแล้วฉาบปูน อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท หรือสามารถซื้อตั๋วรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150บาท ในกรณีที่นำยานพาหนะเข้าภายในเขตอุทยานฯ เสียค่าธรรมเนียมอีก ราคา 10 -50บาท ทางอุทยานฯ มีบริการรถรางนำชมโบราณสถานทั่วบริเวณชาวไทย 10บาทชาวต่างชาติ 30 บาท [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม อุทยานฯ […]

Read More

วัดพิพัฒน์มงคล

วัดพิพัฒน์มงคล ตั้งอยู่เลขที่ 4ุ64 หมู่ที่ 9 บ้านท่าชุม ตำบลทุ่งเสลี่ยม (ตำบลกลางดง เขต 1 ในเขตปกครองคณะสงฆ์) อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ห่างจากที่ว่าการอำเภอทุ่งเสลี่ยม ประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดสุโขทัย สร้างขึ้นบนพื้นที่ของวัดร้างกลางทุ่งบ้านท่าชุม อาคารเสนาสนะประกอบด้วย รัตนอุโบสถ พุทธวิหารลายคำ เจดีย์ อาคารสุวรรณหอคำหลวง กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาอบรมธรรม ศาลาอเนกประสงค์ อาคารเรียนพระปริยัติธรรม ศาลาราย โรงครัว พุทธมณฑจำลอง และสวนปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย พระพุทธรัตนมณี หลายสิบองค์ ซึ่งขุดพบได้บริเวณสร้างวัด และพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา วัดพิพัฒน์มงคล เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองคำ หรือพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง หล่อด้วยทองคำหนัก 9 กิโลกรัม ปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลปะสมัยสุโขทัยที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำที่ขุดพบพร้อมกับพระพุทธสุโขโพธิ์ทอง อีกจำนวนนับร้อยองค์ เมื่อประมาณ 28 ปีก่อน [adsense-2] ในวัดแห่งนี้ยังมีวิหารที่สวยงามแบบล้านนา […]

Read More

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัยอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย สถานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหารไม่มีหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่ดูจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ ซึ่งความจริงอาจสามารถกำหนดอายุได้มากกว่านี้เพราะที่ตั้งของวัดมีลักษณะเป็นศูนย์กลางของชุมชนหรือเมืองบริเวณนี้ คือ เมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับยุคทวารวดี วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเมืองเชลียง ปรากฏหลักฐานแน่ชัดในศิลาจารึกหลักที่ 1 และในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จไปปราบชุมนุมพระฝางเมืองสวางคบุรี แล้วได้เสด็จสมโภชพระบรมธาตุเมืองเชลียงนี้ด้วย และวัดนี้ยังเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเษก สำหรับพระเจ้าแผ่นดินใหม่ที่จะขึ้นเสวยราชสมบัติมาแต่ครั้งโบราณกาล โบราณสถานที่น่าสนใจภายในวัดมี ดังนี้ 1. ปรางค์ประธาน ปรางค์ประธานวัดก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ประมาณไว้ที่ พุทธศักราช 2017 ภายในองค์พระปรางค์มีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมาคล้ายถูกสร้างครอบทับ น่าจะบรรจุสิ่งของสำคัญสำหรับการบูชาอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า “หัวใจพระพุทธเจ้า” ตามผนังภายใน องค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยเดิมคงมีจิตรกรรมฝาผนัง แต่ลบเลือนไปมากเขียนด้วยสีแดงแบบโบราณ ลายพรรณพฤกษา ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นองค์ปรางค์ได้ ลักษณะฐานปรางค์องค์นี้ มีเป็นวิหารคด 3 ชั้น ก่อผนังทึบ และเจาะช่องแสง ฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน มีอายุอยู่ […]

Read More

วัดทุ่งเสลี่ยม

วัดทุ่งเสลี่ยม เป็นวัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อศิลา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินทรายปางนาคปรกที่งดงามที่สุดองค์หนึ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเสลี่ยม หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2482 หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปศิลานาคปรกปางสมาธิสลักจากหินทรายสีเทา สวมมุงกุฎเทริดติ่งหูทั้งสองประดับด้วยตุ้มหูทรงกรวย ต้นแขนทั้งสองข้างประดับกำไล นั่งสมาธิบนฐาน 3 ชั้น มีพญานาค 7 เศียร ปรกอยู่เหนือเศีย หน้าตักกว้าง 44 ซม. สูง 85.50 ซม.เป็นศิลปลพบุรีแบบบายน สันนิฐานว่าสร้างประมาณ ปีพุทธศักราช 1300 – 1800 ประดิษฐาน ณ วัดทุ่งเสลี่ยม อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย [adsense-2] หลวงพ่อศิลา แต่เดิมประดิษฐานอยู่ในถ้ำเจ้าราม กลางป่าลึกในเขตติดต่ออำเภอบ้านด่านลานหอย ต่อมาชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม เมื่อราวปี พ. […]

Read More

วัดชมชื่น

วัดชมชื่นตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ห่างจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาทางทิศตะวันออกประมาณ 400 เมตร โบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงกลมก่อด้วยศิลาแลง วิหารหน้าเจดีย์ประธานก่อด้วยศิลาแลง เป็นวิหารขนาด 6 ห้อง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ด้านหลังวิหารเชื่อมต่อกับมณฑป คล้ายเป็นห้องทึบอยู่ท้ายวิหาร หลังคาใช้ศิลาแลงก่อเหลื่อมเข้าหากันเป็นรูปจั่วแหลม ด้านหน้าทั้งสองข้างมณฑปทำเป็นซุ้มจรนัม 2 ซุ้ม ด้านหลังมีซุ้มจรนัมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีลวดลายปูนปั้นที่หน้าบันด้านหลังมณฑป แม้รูปแบบสถาปัตยกรรมวัดชมชื่น จะเป็นลักษณะของศิลปะสมัยสุโขทัย แต่จากการขุดแต่งบริเวณวิหารพบฐานอาคารเดิมก่อด้วยอิฐและถูกสร้างทับด้วย วิหารศิลาแลงจากการศึกษารูปแบบภายในเจดีย์ประธาน ศาสตราจารย์ ชอง บัวส์เซลิเย ให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นปรางค์แบบขอมมาก่อน เนื่องจากพบอาคารสี่เหลี่ยมมีซุ้มคล้ายปรางค์แบบขอมอยู่ภายในองค์เจดีย์ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด มีการสำรวจพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ก่อนชุมชนยุคสุโขทัย มีสภาพสมบูรณ์ 15 โครง ในระดับลึก 7-8 เมตร กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 9 และพัฒนาจนถึงสมัยทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 และได้พบกลุ่มโบราณสถานก่อด้วยอิฐที่มีขนาดใหญ่ และพบเครื่องถ้วยเชลียงจำนวนมาก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 จนเข้าสู่ชั้นสุโขทัยที่ร่วมสมัยกับวัดชมชื่น ปัจจุบันก่อสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดคลุมหลุมที่ขุดพบ โดยจัดแสดงโครงกระดูกที่ขุดพบในลักษณะต่างๆ […]

Read More

วัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดเจดีย์เจ็ดแถว เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยตัววัดตั้งอยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อม หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ วัดนี้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ ในเมืองศรีสัชนาลัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมาย เช่น เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมด้านหลังพระวิหารซึ่งเป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เจดีย์ราย 26 องค์ สาเหตุความเป็นมาที่วัดนี้ชื่อว่า “วัดเจดีย์เจ็ดแถว” นั้น ชื่อนี้เป็นชื่อที่เรียกขึ้นภายหลังโดยราษฎรในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกเนื่องจากพบเจดีย์จำนวนมากมายหลายแถวภายในวัด วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้น่าจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในเมืองศรีสัชนาลัย เนื่องจากเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในแนวแกนหลักของเมือง โดยดูได้จากแผนที่เมือง อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่ราษฎรธรรมดาจะเป็นผู้สร้างขึ้น ดังปรากฏในพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในหนังสือ เที่ยวเมืองพระร่วง ว่า “วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้เป็นวัดใหญ่ เพราะฉะนั้นจำจะต้องลองสันนิษฐานดูว่าเป็นของใคร นายเทียนกล่าวว่า วัดนี้เดิมเขาเรียกว่า วัดกัลยานิมิต เพราะว่านางพญาธิดาแห่งพระมหาธรรมราชา (บาธรรมราช) เป็นผู้สร้างขึ้น นายเทียนอ้างหนังสือที่ไฟไหม้นั้นเป็นพยานอีก” ส่วน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยว่าวัดนี้เป็นวัดที่มีความสวยงามกว่าวัดอื่นๆ อาจเป็นวัดของกษัตริย์ที่ครองเมืองนี้ และเจดีย์รายอื่นๆ คงเป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายในราชวงศ์สุโขทัย [adsense-2] สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆหลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกามด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถงส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดากษัตริย์[2] […]

Read More

สาธร พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ

สาธรพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ  ตั้งอยู่เลขที่ 477/2  บ้านหาดเสี้ยว ตำบลหาดเสี้ยว บริเวณเดียวกับร้านสาธรศูนย์จำหน่ายผ้าทอพื้นเมืองสุโขทัย คุณสาธร โสรัจประสพสันติ เจ้าของร้านสาธรเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวผ้าทอมือลายโบราณ และผ้าที่มีความวิจิตรงดงามที่เก็บสะสมด้วยใจรัก ด้วยความผูกพัน มาเป็น พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำบ้านหาดเสี้ยว การสะสมผ้าเก่าที่มีอายุเกิน 100 ปี ผ้าตีนจกลวดลายต่างๆ ผ้าคลุมหัวช้างลวดลายโบราณ ผ้าขิด ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ เป็นเสมือนหนึ่ง การเก็บบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวของผ้าทอมือลายโบราณ เป็นการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความวิจิตรงดงามเหล่านี้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย และยังเป็นพิพิธภัณฑ์ทางปัญญาสำหรับผู้สนใจใฝ่เรียนรู้เรื่องผ้าทอมือของไทยได้เป็นอย่างดี คุณสาธร โสรัจประสพสันติ ได้รวบรวมผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ 9 ลายไว้อย่างครบถ้วน ผ้าซิ่นตีนจกเหล่านี้มีอายุมากกว่าร้อยปี การให้รายละเอียดและสีสันบนตัวผ้าของผ้าซิ่นเหล่านี้เป็นรูปแบบดั้งเดิมที่สวยงามและหาดูได้ยากยิ่ง ในพิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำบ้านหาดเสี้ยว มีจุดเด่นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ การจัดรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในพิธีแต่งงานของชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว เครื่องกองบวช เครื่องแต่งกายสตรีไทยพวนในอดีต นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นตีนจกจากแหล่งต่างๆ เช่น จากอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงเรือนไทยของชาวไทยพวน เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น กระต่ายขูดมะพร้าว เคียวเกี่ยวข้าว เกวียน ฯลฯ และยังสาธิตการทอผ้าซิ่น ผ้าพันคอ เป็นต้น […]

Read More