อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน เทศบาลเมืองนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่ตรงหน้าประตูชุมพล จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นประตูเมืองเก่าทางด้านทิศตะวันตก อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หล่อด้วยทองแดงร่มดํา ความสูง 1.85 เมตร น้ำหนัก 325 กิโลกรัม ประดิษฐานอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ความสูง 2.5 เมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอวหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ บริเวณฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดใกล้เคียง

ประวัติท้าวสุรนารี

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า “โม” (แปลว่า ใหญ่มาก)หรือ ท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกาพ.ศ. 2314สมัยกรุงเทพมีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อ แป้นาผล ไม่มีสามี จึงอยู่ด้วยกันจนวายชนม์ มีน้องชายหนึ่งคน ชื่อ จุก(ภายหลังได้เป็น เจ้าเมืองพนมซร๊อก ต่อมามีการอพยพชาวเมืองพนมซร๊อก มาอยู่ ริมคูเมืองนครราชสีมาด้านใต้ จึงเอาชื่อเมือง พนมซร๊อก มาตั้งชื่อ บ้านพนมศรก ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น บ้านสก อยู่หลังสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจนทุกวันนี้)

เมื่อปีพ.ศ. 2339 โม เมื่ออายุได้ 35 ปี ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว พนักงานกรมการเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมา นายทองคำขาว ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระภักดีสุริยเดช” ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็น คุณนายโม และต่อมา “พระภักดีสุริยเดช” ได้เลื่อนเป็น “พระยาสุริยเดช” ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม ชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า “คุณหญิงโม” และ “พระยาปลัดทองคำ” ท่านเป็นหมันไม่มีทายาทสืบสายโลหิต ชาวเมืองนครราชสีมาทั้งหลายจึงพากันเรียกแทนตัวคุณหญิงโมว่า แม่ มีผู้มาฝากตัวเป็นลูก-หลานกับคุณหญิงโมอยู่มาก ซึ่งเป็นกำลัง และอำนาจส่งเสริมคุณหญิงโมให้ทำการ ใดๆ ได้สำเร็จเสมอ หนึ่งในลูกหลานคนสำคัญ ที่มีส่วนร่วมกับคุณหญิงโม เข้ากอบกู้เมืองนครราชสีมาจากกองทัพเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ คือ นางสาวบุญเหลือ ท้าวสุรนารี เป็นคนมีสติปัญญา หลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลาน ไปทำบุญที่วัดสระแก้ว เป็น ประจำเสมอ ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือน เมษายน พ.ศ. 2395(เดือน 5 ปีชวด จัตวาศก จศ. 1214) สิริรวมอายุได้ 133 ปี
ท่านได้สร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่

โดยสามารถรวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้านกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์ไม่ให้รุกล้ำเข้ามาตีกรุงเทพฯเป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3 แห่งราชวงศ์จักรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี ท้าวสุรนารีเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวโคราชทุกคน ผู้คนจากทั่วทุกถิ่นมักแวะเวียนกันมากราบนมัสการไม่ขาดสาย ทั้งกลางวัน และกลางคืน เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อกราบไหว้ขอพร เสมือนที่พึ่งทางใจของ ชุมชน ชาวเมืองนครราชสีมา

[adsense-2]

สิ่งที่น่าสนใจ

  • อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นรูปหล่อทองแดงรมดำ สูง 1.85 ม.หนัก 325 กก.แต่ง กายด้วยเครื่องยศพระราชทานแบบโบราณ คือนุ่งผ้ายกทอง ห่มด้วยสไบกรองทองมีตะกรุดพิสมรมงคลสามสายทับสไบ สวมตุ้มหู อยู่ในลักษณะมือขวากุมดาบปลายชี้ลงพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งกรุงเทพฯในปี พ.ศ.2477 สมัยพระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ข้าหลวงประจำ ประจำ จ.นครราชสีมา และพันเอกพิเศษพระเริงรุกปัจจามิตร (ทองคำ รักสงบ)ผู้บังคับการมลฑณทหารที่ 5 พร้อมทั้งข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมา ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิย่าโม โดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิตรประติมากรเลื่องชื่อในช่วงสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
  • ประตูชุมพล สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อมาโคราช คือต้องลอดซุ้มประตูชุมพลที่อยู่หลังอนุสาวรีย์ เชื่อกันว่าหาลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับ มาโคราชอีกในไม่ช้า ถ้าลอด 2 ครั้งจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่ถ้าลอดถึง 3 ครั้งก็จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช ประตูชุมพล ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมืองนครราชสีมามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบด้วยคูน้ำและกำแพง มีการสร้าง ประตูเมือง 4 ประตู โดยปัจจุบันคงเหลือแต่ประตูชุมพลทางทิศตะวันตกของเมืองเท่านั้นที่เป็นประตูเดิม ส่วนอีกสามประตูคือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูพลแสนหรือประตูน้ำด้านทิศเหนือ และประตูชัยณรงค์หรือประตูผีด้านทิศใต้ ได้มีการสร้างขึ้น ใหม่แทนประตูเดิมความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตูจะมีเรือนไม้หลังเล็ก ๆ เป็นเรือนแบบไทยมีหลังคามุง กระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบน ทำเป็น รูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาท เพื่อใช้ลอบดูข้าศึกด้านนอก และมีบันไดขึ้นหอรบ กำแพงเมืองนี้แต่เดิมได้สร้าง ล้อมรอบเมืองโคราชโดย มีคูน้ำคู่ขนานกันไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นปราการอันแข็งแกร่ง เพื่อปกป้องเมืองโคราชจากข้าศึก ศัตรูมาหลายยุคหลายสมัย

เทศกาลที่น่าสนใจ

ในทุกปี ในช่วงระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของ ท้าวสุรนารีขึ้นเพื่อรำลึกถึง ความกล้าหาญในวีรกรรมครั้งนั้น โดยมีการบวงสรวงอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พิธีจุดพลุสี่มุมเมือง ซึ่งมีการเริ่มต้นครั้งแรกในปพ.ศ.2477 นอกจากนี้ในงานยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรม การออกร้าน จัดนิทรรศการของหน่วยงานราชการและเอกชน รวมทั้งกิจกรรมบันเทิง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน

ติดต่อสอบถาเมพิ่มเติม

ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) 213-666, (044) 213-030
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (044) 251-818
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, (044) 341-777-9
ท่าอากาศยานนครราชสีมา โทร. (044) 259-524
บมจ. การบินไทย (สนามบิน) โทร. (044) 255-425
โรงพยาบาลมหาราช โทร. (044) 254-990-1
สถานีขนส่งแห่งที่ 1 โทร. (044) 242-889
สถานีขนส่งแห่งที่ 2 โทร. (044) 256-006-9
สถานีตำรวจภูธร โทร. (044) 242-010
สถานีรถไฟ โทร. (044) 242-044
สำนักงานจังหวัด โทร. (044) 243-798

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน เทศบาลเมืองโคราช จากกรุงเทพฯ เข้าสู่ตัวเมืองโคราชจะเห็นป้ายอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีให้เลี้ยวขวา เลี้ยวไปตามทางได้เลย แล้วจะเห็นประตูชุมพล และอนุสาวรีย์ย่าโม วนหาที่จอดรถข้างทางแถวนั้นได้เลยค่ะ

รถประจำทาง มีวิ่งในตัวเมืองผ่านหลายสาย เช่น รถสองแถวสาย 1 รถบัสสาย 2,3,6 รถปรับอากาศสาย 15 ค่าโดยสาร 5-6 บาท

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น