วัดเทพธิดาราม

วัดเทพธิดาราม ตั้งอยู่เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง วัดนี้เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382 สถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 บุษบกที่รองรับพระประธานภายในโบสถ์ประดิษฐ์อย่างสวยงาม และที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์แบบอย่างในรัชกาลที่ 3

นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2383-2385 วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีบทพรรณนาลักษณะปูชนียสถานปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด บรรยายถึงความงามของพระอารามไว้ และเรียกว่า “กุฏิสุนทรภู่” มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงกวีเอกผู้นี้ในวันที่ 26 มิถุนายน เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่งเรียกว่า บ้านกวี เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน

คำว่า เทพธิดา หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงได้รับใช้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระราชบิดา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามด้วย

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

รูปหมู่พระอริยสาวิกา (ภิกษุณี) ภายในพระวิหารมีรูปหมู่ภิกษุณีหล่อด้วยดีบุก หน้าตัก กว้าง 11 นิ้ว สูง 21 นิ้ว จำนวน 52 องค์ ประดิษฐานบนแท่นหน้าพระพุทธปฏิมาประธานฯ ภิกษุณีทั้งหมดจะมีลักษณะ ท่าทางที่แตกต่างกัน เป็นของเก่าแก่หาดูได้ยาก มีอยู่แห่งเดียวในโลก

พระประธานในพระอุโบสถ สลักด้วยศิลาขาว บริสุทธิ์ หน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 20 นิ้วปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้อัญเชิญมา จากพระบรมมหาราชวัง แล้วให้ประดิษฐานไว้เหนือ เวชยันต์บุษบกอันประณีตงดงาม ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลดุลยเดช ได้ทรงเฉลิมพระนาม พระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธเทววิลาศ” ตามหนังสือ ราชเลขาธิการที่ รล.0002/2522 ลงวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2514 (แต่ประชาชนโดยทั่วไปจะนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อขาว”)

พระพุทธรูปทรงเครื่อง ด้านหน้าของพระประธานมีพระพุทธรูปทรงเครื่อง อิริยาบถยืน ปางห้ามสมุทร 2 องค์ ประดิษฐานอยู่ด้าน ซ้ายและ ด้านขวาของพระพุทธเทววิลาศ กล่าวกันว่าเป็น สัญลักษณ์ ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าหญิงวิลาศ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ

เครื่องประดับพระอาราม เครื่องประดับพระอารามเหล่านี้ คือ ตุ๊กตาศิลาสลักแบบจีน เป็นรูปคนและสัตว์ มีลักษณะท่าทางและอิริยาบถต่างๆ กัน มีการแต่งกายแบบจีนบ้าง แบบไทยบ้าง ตั้งประดับอยู่บริเวณรอบพระอุโบสถบ้าง พระวิหารบ้าง ศาลาการเปรียญบ้าง ตุ๊กตาเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพชำรุดและบางส่วนถูกขโมยลักไปบ้าง

พระปรางค์จตุรทิศ ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ 15 เมตร ตั้งอยู่บนลานทักษิณสูงมุมของพระอุโบสถทั้ง 4 ทิศ คือ ทิศอาคเนย์ ทิศหรดี ทิศพายัพ และทิศอีสาน ที่ฐาน ของพระปรางค์ แต่ละองค์จะมีรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร ประจำรักษาในทิศทั้ง 4

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 5.00-21.00 น.

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

วัดเทพธิดาราม โทร. (02) 225 7425, (02) 222 3046-7
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว วัดเทพธิดาราม ตั้งอยู่ที่ ริมถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ จอดรถภายในบริเวณวัด

รถประจำทาง ขึ้นรถสาย 5 35 56

เรือ  ขึ้นเรือท่าผ่านฟ้าลีลาศ (คลองแสนแสบ)

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น