Category: ภาคกลาง

ถนนคนเดินกระบี่

ถนนคนเดินกระบี่ ตั้งอยู่ที่ ต.ปากน้ำ อ. เมือง ตั้งอยู่ ถ. มหาราช ซอย 8 ใกล้ๆ ห้างโวค ถนนคนเดินกระบี่แห่งนี้จะเปิดทุกคืนวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ชาวกระบี่มักไม่พลาดที่จะเดินทางไปจับจ่ายซื้อของใช้ และแวะชิมนานาอาหารที่ถนนคนเดิน ซึ่งอยู่ภายในตัวอำเภอเมืองกระบี่ จุดเด่นของถนนคนเดินคือ ปลอดโฟม 100%ค่ะ ถนนคนเดินที่นี่จะมีเวทีกิจกรรมรวมไปถึงร้านรวงต่างๆ ทั้งของใช้ ของกิน สินค้าที่ระลึกมากมาย รับรองใครเดินต้องมีกระเป๋าเบากันไปบ้าง ที่นี่มีสารพัดของอร่อย ราคาย่อยเยาว์ให้เลือกไม่อั้น ไม่ว่าจะเป็น หมึกย่าง-น้ำจิ้มรสเด็ด ผัดไทย หอยทอด ข้าวหมกไก่ ข้าวยำสมุรไพรสูตรปักษ์ใต้แท้ๆ ขนมพื้นเมือง กุ้งเผา ฯลฯ ที่สำคัญเค้าจัดโต๊ะ และเก้าอี้ให้นั่งทานหน้าเวทีการแสดง ทานไปดูการแสดงพื้นเมืองไป ฟังดนตรีเพราะๆ จากบรรดาน้องๆ เด็กนักเรียน วงดนตรีสมัครเล่น ฯลฯ ที่ผลัดเปลี่ยนมาสร้างเสียงหัวเราะ และความบันเทิงไม่ซ้ำกัน สบายใจเพลินพุงกันแล้ว แวะช้อปสินค้าจิปาถะ เสื้อยืด กระเป๋า แอคเซสเซอรี่ รองเท้า โปสการ์ด ฯลฯ กันสักหน่อยมาที่นี่รับประกันความเพลิดเพลินได้ทั้งชิมทั้งกินทั้งช็อปเลยค่ะ […]

Read More

เกาะไม้ไผ่

เกาะไม้ไผ่ หรือ เกาะไผ่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะพีพีดอน ห่างจากเกาะพีพีดอนประมาณ 3 กิโลเมตร เกาะไผ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี มีขนาดเล็กกว่าเกาะพีพีดอนและเกาะพีพีเล แต่ที่เด่นกว่าคือเป็นอุทยานฯ ทั้งเกาะจึงไม่มีความพลุกพล่านจากผู้คนและไม่มีสิ่งก่อสร้างมากมายเหมือนกาะพีพีดอน เกาะไผ่เป็นเกาะขนาดเล็กตั้งโดดเดี่ยวอยู่กลางทะเล มีธรรมชาติที่บริสุทธิ์มาก ด้านหน้าเกาะมีชายหาดยาวตลอดแนวตั้งแต่หัวเกาะยังท้ายเกาะ หาดทรายขาวสะอาดรอบๆเกาะนั้นร่มรื่นด้วยทิวสน น้ำทะเลสี่สวยดุจมรกต มากมายไปด้วยแนวปะการังน้ำตื้นทั้งปะการังเขากวาง ปะการังแผ่น ปะการังสมอง ปะการังก้อน รวมทั้งเจ้าถิ่นอย่างฝูงปลาหลากสีพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว ห่างจากเกาะไผ่ไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของเกาะยูง สามารถเหมาเรือไปดำน้ำรอบเกาะเล็กๆได้เช่นกัน สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก เกาะไผ่อยู่ในการดูแลของอุทยานแห่งชาติบนเกาะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีลานกางเต็นท์ มีเต็นท์ของทางอุทยานกางไว้ให้บริการแก่ผู้ที่ต้องการไปพักบนเกาะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ (075) 622 163 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (075) 612 611 ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว โทร. (075) 612740 สำนักงานจังหวัด โทร. (075) 611 381 โรงพยาบาลกระบี่ โทร. (075) 611 227 , […]

Read More

หมู่เกาะพีพี

หมู่เกาะพีพี หมู่เกาะแห่งนี้เป็นดั่งมรกตกลางอันดามันที่ใครหลายคนปรารถนาจะมาเยือน เพราะความงามของภูเขาหินปูนรูปร่างแปลกตา หาดทรายขาวละเอียด น้ำทะเลใส มีบริการด้านการท่องเที่ยวที่พร้อมพรั่ง ทั้งที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร แหล่งบันเทิง และการเดินทางที่สะดวกสบาย หมู่เกาะพีพี อยู่ในเขต อช. หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี  เป็นหมู่เกาะกลางทะเล อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร เดิมชาวทะเลเรียกหมู่เกาะนี้ว่า “ปูเลาปิอาปิ” คำว่า “ปูเลา” แปลว่า เกาะ คำว่า “ปิอาปิ” แปลว่า ต้นไม้ทะเลชนิดหนึ่งจำพวกแสม และโกงกาง ต่อมาเรียกว่า “ต้นปีปี” ซึ่งภายหลังกลายเสียงเป็น “พีพี” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งบุปผาใต้สมุทร นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวหมู่เกาะนี้ ส่วนใหญ่มาเพื่อดำน้ำดูปะการัง ดอกไม้ทะเล และปลาหลากสีที่มีสีสันสวยงาม นอกจากนี้ ยังมีเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือ สิ่งที่น่าสนใจ เกาะพีพีดอน  มีพื้นที่ประมาณ 28 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นของเกาะคือ เวิ้งอ่าวคู่ที่มีความสวยงามติดอันดับโลกของ อ่าวต้นไทร และ อ่าวโละดาลัม ทั้งนี้ อ่าวต้นไทรเป็นที่ตั้งของท่าเรือเกาะพีพี และมีสถานที่พักและร้านค้าจำนวนมาก […]

Read More

อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว

อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว ตั้งอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่จำศีลเป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญ เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่า ที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2309 อนุสาวรีย์แห่งนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. 2520 ประวัติความเป็นมา นายดอกและนายทองแก้ว ถือเป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มของ 11 วีรชนแห่งชาวบ้านบางระจัน ซึ่งการรบที่บางระจันเป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและ เมืองต่าง ๆ ที่พานมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจันในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า “เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น” และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย โดยในปี พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฏต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมือง วิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป […]

Read More

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบางเจ้าฉ่า

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรบางเจ้าฉ่า บ้านบางเจ้าฉ่าตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ตำบลนี้เป็นชุมชนที่มีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวบ้านได้เคยร่วมกับชาวแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ และชาวบางระจัน สู้รบกับพม่า ณ บ้านบางระจัน โดยมีนายฉ่าเป็นผู้นำ นายฉ่านั้นพื้นเพเป็นคนสีบัวทอง ภายหลังการสู้รบยุติแล้ว นายฉ่าจึงได้นำชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัยถาวรขึ้นในชุมชนด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำน้อยแต่เดิมเรียกว่า บ้านสร้างสามเรือนเพราะเริ่มแรกมีเพียงสามหลังคาเรือนเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การตั้งเป็นที่อยู่อาศัยปัจจุบันมีชื่อว่าบางเจ้าฉ่าเพราะนำชื่อของนายฉ่ามาตั้งชื่อซึ่งนายฉ่านั้นเป็นทั้งผู้นำและเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน บ้านบางเจ้าฉ่าแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ ซึ่งครั้งหนึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุกเพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสานและเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงามสามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาดไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพภายในหมู่บ้านมีพิพิธภัณฑ์เครื่องใช้ไม้ไผ่ แสดงอุปกรณ์เครื่องใช้พื้นบ้านต่างๆ ที่ผลิตจากไม้ไผ่และมีเก็บรวบรวมเอาไว้นอกจากนี้ที่บางเจ้าฉ่า ยังมีบริการรถอีแต๋นชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำน้อย กิจกรรมชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วง สวนมะยงชิด และสวนกระท้อน ฯลฯ ชมแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอใกล้เคียง อำเภอโพธิ์ทองอำเภอไชโยและอำเภอแสวงหา มีบ้านพักโฮมสเตย์ไว้คอยบริการด้วย [adsense-2] สิ่งอำนวยความสะดวก/ที่พัก อัตราค่าบริการหมู่บ้านบางเจ้าฉ่า มีบ้านพักโฮมสเตย์ 7 หลัง มีทั้งเรือนไทยและตึก สามารถรับนักท่องเที่ยว พักค้างได้ประมาณ 100 คน อัตราค่าที่พัก 100 บาท /คน * อาหารเช้า 30 บาท/คน * […]

Read More

หมู่บ้านแหล่งทำกลอง

หมู่บ้านแหล่งทำกลอง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านแพ ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง แหล่งผลิตกลองที่มีคุณภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กลองดีของไทยที่ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่นี่เป็นแหล่งผลิตกลองส่งขายต่างประเทศ เช่นเกาหลี ญี่ปุ่น จีน บ้างก็รับซ่อมกลองจากต่างประเทศ ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆชาวบ้านที่นี่เริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 เมื่อได้เข้ามาสัมผัสถึงมรดกล้ำค่าภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างใกล้ชิดจะเห็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะเหล่านี้ไว้ โดยจะได้เรียนรู้กรรมวิธีการทำกลองแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ที่สำคัญมีกลองรูปทรงขนาดใหญ่ยาวที่สุดในโลกตั้งอยู้หน้าบ้านกำนันหงษ์ฟ้า หยดย้อย กลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซนติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม่จามจุรีต่อกัน6ท่อน สร้างปี 2537 ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี พร้อมด้วยกลองขนาดเล็กซึ่งเป็นของฝากคุณภาพดีราคาย่อยเยา ที่สามารถซื้อไปเป็นของฝากได้อีกด้วย ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว นอกจากคุณภาพที่ประณีตสวยงามแล้วยังมีหลายขนาดให้เลือกอีกด้วย โดยเฉพาะกลองขนาดจิ๋วจะเป็นที่นิยมหาซื้อไว้เป็นของที่ระลึกซึ่งขายดีมากค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) […]

Read More

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านบางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่บริเวณวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อ บ้านวัดตาล ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็น บ้านบางเสด็จ ศูนย์ตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จเป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ราษฎร ภายในหมู่บ้านบางเสด็จนี้ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพอันร่มรื่นและสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยังสามารถชมการปั้นตุ๊กตาชาววังที่สวยงามจากบ้านเรือนราษฎรละแวกนั้นได้อย่างเป็นกันเอง มีการรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ซึ่งจะจัดให้สมาชิกมาสาธิตการปั้นตุ๊กตาชาววังพร้อมกับจัดจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ตุ๊กตาชาววังทำจากดินเหนียวแสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและ วัฒนธรรมประเพณีไทยต่าง ๆ เช่น การละเล่นของเด็กไทย วงมโหรีปี่พาทย์ สุภาษิตคำพังเพยไทย หรือรูปผลไม้ไทยหลากหลายชนิดซึ่งล้วนมีความสวยงามน่ารักและเหมาะที่จะซื้อเป็นของฝากหรือของที่ระลึกเป็นอย่างยิ่ง ประวัติความเป็นมา อ่างทอง เป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ประชาชนมีความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก แต่เดิมพื้นที่ในแถบนี้มีอาชีพทำอิฐและเหลาไม้ก้านธูป เมื่อยามที่ฝนตกน้ำท่วมไม่สามารถเผาอิฐหรือตากธูปได้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องการทำมาหากินช่วงหน้าฝน ในปี พ.ศ. 2519 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ที่ตำบลบางเสด็จ ทรงมีพระดำริว่า น่าจะมีอาชีพเสริมอย่างอื่น โดยทรงคำนึงว่า ชาวบ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่พร้อมอยู่แล้ว คือ ดินเหนียวที่ใช้ทำอิฐ ประกอบกับทรงระลึกถึงตุ๊กตาไทยที่เรียกว่าตุ๊กตาชาววังนั้นหาดูได้ยากเกือบจะสูญสิ้นไปหมดแล้ว หากจะฟื้นฟูขึ้น ก็น่าจะช่วยสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยแบบโบราณของไทยได้อีกอย่างหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งอาจารย์จุลทัศน์ […]

Read More

วัดสี่ร้อย

วัดสี่ร้อย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ชื่อตำบลสี่ร้อยและชื่อวัดเป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ขุนรองปลัดชู และชาวบ้านวิเศษชัยชาญ 400 คน ที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เมืองกุย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ 2302 วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ นามว่า “หลวงพ่อโต” หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อร้องไห้” เมื่อปี พ.ศ 2530 มีข่าวใหญ่ว่าหลวงพ่อวัดสี่ร้อยมีโลหิตไหลออกมาจากพระนาสิก ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปทั้งชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงต่างหาโอกาสมานมัสการ “หลวงพ่อร้องไห้” นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถวัดนี้เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอยุธยา ที่มีความงดงามมาก ปัจจุบันภาพลบเลือนไปหมดแล้ว ประวัติท่านขุนรองปลัดชู กองอาทมาต และวัดสี่ร้อย วัดสี่ร้อย ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “ กองอาทมาต […]

Read More

วัดม่วงคัน

วัดม่วงคัน ตั้งอยู่ที่บ้านม่วงคัน หมู่ที่ 9 ตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ที่วัดแห่งนี้มีพระเกจิอาจารย์ดังที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ คือพระครูสิริบุญเขต (หลวงพ่อมี จิตฺตธโม) พระเกจิอาจารย์ขมังเวทย์เข้มขลังอยู่ยงคงกระพันชาตรี และมหาอุด ทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลโชคลาภ ทำผงพุทธคุณมนต์พระสังข์ เมตตามหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง มีสมาธิจิตแก่กล้า ไม่ยึดติด ละแล้วซึ่งโลภ โกธร หลงและโทสะ โมหะทั้งปวง บริสุทธิ์ผ่องแผ้วทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นศิษย์ผู้สืบทอดไสยเวทย์พุทธาคม สายหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จากหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว สืบสายวิชาจากหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี และเรียนวิชาไสยเวทย์ตามตำราไสยเวทย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโด จ.อยุธยา ที่มีอยู่ในวัดม่วงคันของอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงคัน ชาติภูมิ หลวงพ่อมี จิตฺตธโม มีนามเดิมว่า บุญมี ขอผึ้ง ถือกำเนิดวันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2470 เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อมี […]

Read More

วัดม่วง

วัดม่วง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง หากได้มาเที่ยวที่จังหวัดอ่างทอง แล้ว ไม่ได้แวะเวียนไปที่อำเภอวิเศษชัยชาญ เพื่อสักการะ “หลวงพ่อใหญ่” ที่ “วัดม่วง” อาจ พูดได้ไม่เต็มปากว่าได้มาเยือนอ่างทองแล้ว เพราะที่แห่งนี้จัดได้ว่าเป็นแลนด์มากร์กที่สำคัญของจังหวัดเลยทีเดียวค่ะ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในวัดก็เห็นจะเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผู้คนแวะเวียนมาสักการะบูชากันอย่างไม่ขาดสายค่ะ ประวัติความเป็นมาของวัดม่วง เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ […]

Read More