Category: พระนครศรีอยุธยา

พระราชวังบางปะอิน

พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง แต่กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งโดยสุนทรภู่ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ ปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพ สิ่งที่น่าสนใจภายในพระราชวัง พระที่นั่งไอศวรรยทิพยอาสน์ เป็นปราสาทอยู่กลางสระ สร้างในรัชกาลที่ 5 เดิมสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ต่อมา รัชกาลที่ 6 โปรดฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร อยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นพระที่นั่งเรือนไม้หมู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่างมีเฉลียงตามแบบชาเลตของสวิส ทาสีเขียวอ่อนแก่สลับกันด้วยงานช่างที่ประณีต สิ่งประดับตกแต่งภายใน ประกอบด้วย เครื่องไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรปทั้งสิ้น นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศ อันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ มีสวนดอกไม้สวยงาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ ขณะที่มีการซ่อมรักษาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งถูกทำลายไปกับกอง […]

Read More

ปราสาทนครหลวง

ปราสาทนครหลวง หรือ พระนครหลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นองค์ปราสาท เป็นพุทธสถานจตุรมุขทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 ชั้น ชั้นที่ 2 เป็นซุ้มระเบียงล้อมรอบ ชั้นบนมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอย สร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ประมาณ พ.ศ. 2174) ปราสาทนครหลวง เริ่มสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยทรงโปรดให้ช่างไปถ่ายแบบมาจากปราสาทเมืองพระนครหลวง ประเทศกัมพูชา เพื่อเป็นที่พักร้อนก่อนที่จะเสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ปราสาทนครหลวงสร้างไม่แล้วเสร็จในสมัยนั้น ต่อมาราวปี พ.ศ. 2352 ตาปะขาวปิ่น ได้สร้างวัดนครหลวงขึ้นโดยเอาปราสาทนครหลวง เข้าไปไว้ในเขตของวัดด้วย และมีการสร้างพระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานไว้บนลานชั้นบนของปราสาท จากการดำเนินงานทางโบราณคดี ได้พบว่าวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการสร้างปราสาท เป็นการสร้างเพื่อให้เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา มิใช่ที่ประทับระหว่างทางในการเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทดังที่เข้าใจกันมาแต่เดิม ปราสาทนครหลวง ก่อด้วยอิฐทั้งหลัง ตั้งอยู่บนเขา ซึ่งทำขึ้นโดยนำดินมาถมให้สูงมีระเบียงล้อมรอบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนลดหลั่นกันสามชั้นแต่ละชั้นมีประตูเข้าสู่ชั้นสูงสุดนับสิบประตู ระเบียงคดแต่ละชั้นสร้างปรางค์ประจำทิศทั้งสี่มุมและที่กึ่งกลางก็มีปรางค์ด้วย ปรางค์ มี […]

Read More

ตลาดน้ำอโยธยา

ตลาดน้ำอโยธยา ตั้งอยู่เลขที่ 65/12 หมู่ 7 ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วยเนื้อที่กว่า 60 ไร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี ภายในตลาดน้ำอโยธยานั้นออกแบบเป็นเรือนไม้ทรงไทย โดยมีสระน้ำอยู่ตรงกลางตลาดและมีทางเดินบริเวณรอบๆ สระ ซึ่งตลอดทางจะมีร้านขายสินค้าและอาหารมากมาย สินค้าส่วนใหญ่จะคละเคล้ากันไปหลายประเภท เช่น สินค้า OTOP, สินค้าพื้นเมือง, สินค้าหัตถกรรม, ของทำมือ, ของเล่น, ของที่ระลึก, ของที่ระทึกจำพวกดาบและอาวุธโบราณ ตลอดไปจนถึงเสื้อผ้าและเครื่องประดับต่างๆ เรียกได้ว่ามีให้เลือกซื้อกันอย่างจุใจ แถมราคายังสบายกระเป๋าอีกด้วย และแน่นอนว่าสิ่งที่พลาดไม่ได้อีกอย่างของการมาเดินตลาดก็คือ การชิม! บอกตรงๆ ว่าชิมกันไม่หมดจริงๆ […]

Read More

ตลาดโก้งโค้งบ้านแสงโสม

ตลาดโก้งโค้งบ้านแสงโสม “แค่แวะมาเยี่ยมชม เราก็แอบนิยมอยู่ในใจ” ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ บ้านแสงโสม หมู่ 5 ถนนบางปะอิน – วัดพนัญเชิง (ติดวัดบ้านเลน) ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คำว่า ตลาดโก้งโค้ง เป็นคำที่ใช้เรียกตลาดในสมัยโบราณ ที่คนขายสินค้าจะนั่งขายสินค้าอยู่บนพื้นดิน ดังนั้นคนที่มาซื้อสินค้าจะต้องโก้งโค้ง เพื่อเลือกดูสินค้าที่ตนสนใจ โดยอากัปกิริยา โก้งโค้ง ของคนไทยนั้น ทำได้สุภาพ นุ่มนวล ไม่เหมือนใคร และไม่มีชนชาติใดทำได้เหมือน เพราะเป็นกิริยาที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นกิริยาสุภาพที่ต้องโน้มตัวลงไป ส่วนคนขายสินค้าก็นั่งกับพื้นแบบไม่ถือตัว จะเป็นภาพการซื้อขายสินค้าที่แสดงถึงความอ่อนโยน เต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ตลาดแห่งนี้มีลักษณะเป็นบ้านเรือนไทยหมู่ใหญ่ ที่คงความเป็นสถาปัตยกรรมไทยโบราณไว้อย่างเด่นชัด นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับบรรยากาศเก่าๆ แบบสมัยกรุงศรีอยุธยา และพบกับวิถีชีวิตของไทยในอดีตที่ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเอาไว้ อย่างไรก็ตาม บริเวณบ้านแสงโสมในอดีตเป็นด่านขนอน (ด่านเก็บภาษีในอดีต) และเป็นสถานที่ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด ทั้งที่เป็นสินค้าชุมชนและสินค้าที่มาจากต่างเมืองค่ะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานีของไทยมายาวนานถึง 417 ปี ในอดีตที่แห่งนี้เคยมีสิ่งที่ดีงามอยู่มากมาย มีทั้งสิ่งก่อสร้าง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของผู้คนที่เต็มไปด้วยน้ำใจไมตรี อยู่ด้วยกันอย่างสงบร่มเย็น รักกันเหมือนพี่เหมือนน้อง และตลาดโก้งโค้งที่กล่าวมาแล้ว ได้เคยอยู่คู่กับกรุงศรีอยุธยามาเป็นเวลานาน เป็นตลาดที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น […]

Read More

เจดีย์ภูเขาทอง

เจดีย์ภูเขาทอง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาในเขตเกาะเมือง ของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถมองเห็นได้แต่ไกล สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปี พ.ศ. 1930 และเมื่อปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนี้ เจดีย์ที่สร้างนี้เรียกว่า ภูเขาทอง และวัดที่อยู่ต้ดกับเจดีย์นี้ก็เรียก ว่า วัดภูเขาทอง เจดีย์ภูเขาทอง ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้น่าจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นมหาเจดีย์สูงเด่นในระหว่างรัชสมัยพระมหาธรรมราชาถึงสมัยพระเพทราชา (ระหว่าง พ.ศ.2112 – 2246) และมีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าบรมโกศ หรืออยุธยาตอนปลาย นั่นคือ มีฐานทักษิณ 4 ชั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยชั้นพื้นยาวด้านละ 69 เมตร ชั้นที่ 2 ยาวด้านละ 63 เมตร ชั้นที่ 3 ยาวด้านละ 49.4 เมตร และชั้นที่ 4 ยาวด้านละ 32.4 เมตร ทั้ง 4 ด้านมีบันไดขึ้นไปจนถึงฐานทักษิณชั้นบนสุด […]

Read More

เที่ยว พระนครศรีอยุธยา

พระนครศรีอยุธยา “ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา” เทศกาล/ประเพณี งานประจำปีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงปลายเดือนมกราคม ณ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อ.บางไทร งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จ.พระนครศรีอยุธยา จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ 12-14 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วิหารรพะมงคลบพิตร และรอบเกาะเมือง อ.พระนครศรีอยุธยา งานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลกและงานกาชาด จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนธันวาคม บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อ.พระนครศรีอยุธยา การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถทัวร์ไปจอดส่งที่ท่ารถเจ้าพรหม (ในตัวเมือง) เวลา 06:00/07:00/11:00/17:00  น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1-2 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 56 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 รถตู้ คิวรถที่ไปจอดส่งในตัวเมือง(บริเวณตลาดเจ้าพรหม) ขึ้นได้ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ บริเวณห้างแฟชั่นมอลล์ รถออกทุก 25 oาที เวลา 05:00-19:30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ […]

Read More