Category: กรุงเทพมหานคร

ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์

ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ ขาช็อป ขาชิล ขาชิม ห้ามพลาดที่นี่เลยค่ะ ตลาดนัดรถไฟ ศรีนครินทร์ ตั้งอยู่ในซอยศรีนครินทร์ 51 ด้านหลังห้างซีคอนสแควร์ ถือเป็นตลาดกลางคืนที่เอาใจคนที่ชื่นชอบของโบราณ ในบรรยากาศคล้ายๆ กับตลาดรถไฟ จตุจักร ที่ให้อารมณ์คล้ายๆ กับย้อนเข้าไปสู่ยุคเก่า เพราะเป็นแหล่งรวมเฟอร์นิเจอร์ ของสะสม ของตกแต่งบ้านสุดคลาสสิก รถโบราณ อะไหล่รถคลาสสิก จักรยานโบราณ เสื้อผ้าวินเทจ ของฝากสุดชิค ตุ๊กตาหลากแบบ และสินค้าอื่นๆ ให้เลือกชมเลือกซื้อมากมาย ใครชอบช้อปคงจะเพลิดเพลินไม่น้อย ที่สำคัญต่อรองได้ และราคาไม่แพงเกินความสามารถในการจับจ่าย รวมถึงมีอาหารอร่อยๆ เครื่องดื่มเย็นๆ ให้ได้จิบกันเพลินๆ อีกด้วย แถมยังมีพื้นที่กว้างขวาง ไม่อึดอัด เดินสะดวก มีที่จอดรถสะดวกสบาย มีรถเมล์ผ่านหลายสายด้วยค่ะ ภายในตลาด แบ่งเป็น 2 โซน คือ โซนตลาดนัด และโซนพลาซ่า สิ่งที่เห็นในตลาดนัดนั้นก็คับคั่งไปด้วยของกินอร่อยๆ ของเก่าๆ แนวๆ Retro, Vintage Style เสื้อผ้า และอื่นๆ ร้านกิน […]

Read More

สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ)

สวนวชิรเบญจทัศ(สวนรถไฟ) ไปเดินชิลๆหรือปั่นจักรยาน ออกกำลังกาย สูดอากาศบริสุทธิ์ท่ามกลางเมืองกรุงกันค่ะ สวนวชิรเบญจทัศ ตั้งอยู่ที่ ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ สวนรถไฟ แต่ก่อนเคยใช้เป็นสนามกอล์ฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีเนื้อที่ 375 ไร่ ต่อมาได้สร้างเป็นสวนสาธารณะเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนในย่านใกล้เคียง มีส่วนที่เป็นสนามกอล์ฟเดิมสำหรับให้เด็ก ๆ ได้ฝึกหัดเล่นกอล์ฟ มีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพันธุ์ไม้แก่ผู้ที่สนใจ มีสวนพฤกษศาสตร์ สวนสมุนไพรนานาชนิด ลานกีฬา สวนพุทธศาสนา สวนพิพิธภัณฑ์รถไฟ ตลอดจน สระว่ายน้ำ และยังจัดเป็นที่กางเต็นท์พักแรมของเด็กนักเรียน ซึ่งสามารถศึกษานกหลายชนิดที่มีอยู่เองตามธรรมชาติได้อีกด้วย เพราะในสวนมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ศูนย์กีฬาแห่งนี้ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องฟิตเนส ห้องฝึกโยคะ ห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว ห้องอาบน้ำ ห้องสุขา สระว่ายน้ำขนาด 25 เมตร สนามเทนนิส 7 สนาม มีสนามกลาง(Center Court) 1 สนาม และสนามฟุตซอล 4 สนาม มีสนามกลาง(Center Court) 1 สนาม […]

Read More

ตลาดนัดสวนจตุจักร

ตลาดนัดสวนจตุจักร หรือที่เรียกกันอย่างย่อ ๆ ว่า JJ Market ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ เป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ แทบจะไม่มีใครไม่รู้จักสวนจตุจักร ที่นี่เป็นแหล่งตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุด มีร้านแฟชั่นทันสมัย ร้านไม้โบราณหรือแกะสลัก ร้านขายสัตว์เลี้ยงมากมาย อย่างสุนัข นก แมวและปลาหลายชนิด ทั้งหมดเหล่านี้จะพบได้ที่นี่ สำหรับตลาดนัดจตุจักรมีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 9,000 แผงค้า และสินค้าหลากชนิดให้คุณได้เลือกสรร แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด ตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 66 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีทางราชการก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชย และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี […]

Read More

อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ

อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ไปดูผีเสื้อหลากสีหลายสายพันธ์กันแบบชิดใกล้ ถ่ายรูปกันเพลินๆที่อุทยานแห่งนี้กันค่ะ อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม อยู่ในสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ในบริเวณอุทยานประกอบด้วยลานกิจกรรม บริเวณจัดนิทรรศการ ห้องเพาะเลี้ยงอาหาร ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ลานชมวิว ลานแมลง ลานผีเสื้อ และลานลำพู เป็นโดมขนาดใหญ่สูง  15 เมตร สามารถระบายอากาศอย่างปลอดโปร่ง สามารถเดินเล่นสบายๆ ท่ามกลางเหล่าผีเสื้อสีสวย เหมือนเป็นเจ้าหญิงในนิทานเลยทีเดียวค่ะ บริเวณอุทยานประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้ 1. ส่วนแนะนำเกี่ยวกับอุทยานผีเสื้อและแมลงด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส 2. ห้องมินิเธียเตอร์จัดฉายวิดีทัศน์เรื่องแมลงกับระบบนิเวศ 3. บริเวณนิทรรศการ ห้องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนของผีเสื้อและแมลง 4. ตัวอาคารส่วนที่เป็นกรงมีพื้นที่ 1,168 ตารางเมตร สร้างในลักษณะโดมขนาดใหญ่สูง 15 เมตร สามารถระบายอากาศได้เนื่องจากใช้วัสดุโปร่งในการก่อสร้างจัดแสดงผีเสื้อกว่า 500 ตัว 20 ชนิด บริเวณของอุทยานมีส่วนเชื่อมต่อกับสวนจตุจักรและสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ นับเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเป็นสถานที่สำหรับศึกษาค้นคว้า วิจัย รวบรวม […]

Read More

หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ(สวนโมกข์ กรุงเทพฯ)

หอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ(สวนโมกข์ กรุงเทพฯ)  หรือที่หลายคนคุ้นชื่อกันดีในนามของ “สวนโมกข์สอง” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสวนวชิรเบญจทัศ อุทยานจตุจักร (สวนรถไฟ) กรุงเทพฯ เป็นส่วนโมกข์แหล่งที่ 2 เริ่มก่อสร้างเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 สำหรับสวนโมกข์แห่งแรก “สวนโมกขพลาราม” หรือ “สวนป่าโมกข์” เป็นสถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติธรรมแห่งแรกที่ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ ได้ก่อตั้งขึ้น ณ วัดธารน้ำไหล อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี สวนโมกข์กรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นอาคารปูน 3 ชั้น ดังนี้ค่ะ ชั้นที่ 1 ชั้นล่างของอาคาร ประกอบไปด้วยลานหินโค้ง สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติธรรม โดยบริเวณดังกล่าวนี้จะมีภาพพุทธประวัติ ที่ได้มีการจำลองมาจากภาพพุทธประวัติในชุดแรกจากประเทศอินเดีย บริเวณกึ่งกลางของลานหินโค้ง เป็นที่ประดิษฐานของพระอวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นในส่วนนี้ได้จำลองแนวคิดจากลานปฏิบัติธรรมสวนโมกขพลาราม ในวัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้สวนโมกข์กรุงเทพฯ ยังมีสื่อและห้องหนังสือธรรมะ ที่รวบรวมผลงานของท่านพุทธทาสรวมไปถึงแหล่งศึกษาธรรมะให้ได้เลือกศึกษาอีกมากมาย เลยศาลาธรรมชาติไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นโรงมหรสพทางวิญญาณ ด้านในจะมีภาพปริศนาธรรม ด้านนอกจะมีภาพปูนปั้นที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ชั้น 2 จะเป็นสวนปฏิจจสมุปบาท ซึ่งจะมีห้องปฏิบัติสัทธรรม ประชุมสัมมนา ห้องนิทรรศการนิพพานชิมลอง โดยบริเวณชั้นบนสุดจะเป็นส่วนของนิทรรศการที่มีการแสดงผลงานของท่านพุทธทาส […]

Read More

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ(สวนสันติชัยปราการ)

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ(สวนสันติชัยปราการ) ตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนพระอาทิตย์ ต่อกับถนนพระสุเมรุ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยภายในบริเวณสวนมี พระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา สวนแห่งนี้มีทัศนียภาพของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามมาก นับเป็นสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำ และสามารถชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินได้อย่างชัดเจน สวนสาธารณะสันติชัยปราการ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และโบราณสถาน นับเป็นนันทนสถานเอนกประสงค์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยทั้งด้านการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการอนุรักษ์ (ป้อมพระสุเมรุ) พื้นที่โดยรอยได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกายได้หลายประเภท เช่น การเต้นแอโรบิค รำมวยจีน สามารถเป็นสถานที่จัดงานของท้องถิ่นและรัฐบาล เช่น พิธีต้อนรับแขกจากต่างประเทศ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม เช่น พิธีลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น นอกจากตัวป้อมพระสุเมรุแล้ว ในบริเวณสวนแห่งนี้ยังมี “ต้นลำพู” ดั้งเดิมอันเป็นที่มาของชื่อ […]

Read More

สยามโอเชี่ยนเวิร์ล

สยามโอเชี่ยนเวิร์ล  เป็นอุทยานสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของสยามพารากอน ศูนย์การค้าชื่อดังที่เป็นทั้งแหล่งช้อปปิ้งและความบันเทิงอย่างเต็มรูปแบบ ที่นี่คุณจะได้สัมผัสความน่ารัก และสวยงามของโลกใต้ทะเลอย่างใกล้ชิด เปิดโลกกว้างให้คุณได้เรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์จริงเกี่ยวกับชีวิตใต้น้ำ ตื่นตาตื่นใจไปกับอาณาจักรใต้ทะเลอันน่ามหัศจรรย์ ผจญภัยไปกับกิจกรรมสนุกสนานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ให้ทั้งความรู้ ประสบการณ์แปลกใหม่และความสนุกสนานท้าทายกับการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย พลาดไม่ได้เลยค่ะ อุทยานสัตว์น้ำแห่งนี้มีความกว้างใหญ่เป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อที่กว่า 10,000 ตารางเมตรและจุน้ำได้ถึง 4 ล้านลิตร ภายในอุทยานจะมีการจัดแสดงสัตว์น้ำ แบ่งเป็นโซนๆดังนี้ค่ะ โซนแรก “โซนแปลกประหลาดและอัศจรรย์เกินคาด” ในบริเวณนี้ นักท่องเที่ยวจะได้พบกับสิ่งมีชีวิตแปลกๆที่ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็นมาก่อนมากมาย โซนที่ 2 “โซนแนวปะการัง” บริเวณนี้ ผู้ชมจะได้เห็นว่ามีสิ่งมีชีวิตอะไรบ้างที่อาศัยบริเวณแนวปะการัง ทั้งนี้ โซนนี้จะมีการจัดแสดงในแทงก์ขนาดใหญ่ ที่มีความสูงถึง 8 เมตร โซนที่ 3 “โซนกฎเหล็กเพื่อการอยู่รอด” บริเวณนี้ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตเพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูและสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถมีชีวิตรอดต่อไปได้ โซนที่ 4 “โซนป่าดิบชื้น” บริเวณนี้นอกจากจะแสดงป่าดิบชื้นแบบเสมือนจริง จนทำให้คนดูรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าจริงๆแล้ว ยังสามารถเข้าชมการจัดแสดงปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้อีกด้วย โซนที่ 5 “โซนชีวิตสุดขอบขั้ว” บริเวณนี้จะได้เรียนรู้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณผืนดินและผืนน้ำมาบรรจบกัน อย่างเพนกวิน และสามารถสัมผัสดาวทะเลได้ด้วย โซนที่ 6 “โซนมหาสมุทรสุดกว้าง” บริเวณนี้จะได้พบกับมหาสมุทรอันกว้างใหญ่เสมือนจริง ภายใต้อุโมงค์ใสใต้น้ำ […]

Read More

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม)

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) มาที่นี่แล้วเราจะได้รู้ว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่สถานที่เฉพาะเด็กๆเท่านั้นค่ะ เพราะที่นี่เป็นพิพิธภัณฑสถานแนวใหม่ในยุคแห่งการเรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ที่เน้นกระตุกต่อมคิด จุดประกายความอยากรู้สู่การค้นพบความคิดใหม่ๆ ด้วยตนเองตลอดเวลา เพื่อการเรียนรู้อย่างไม่รู้จบค่ะ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) ตั้งอยู่ที่ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ (กระทรวงพาณิชย์เดิม ตรงข้ามโรงเรียนวัดราชบพิธ) เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่บนถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง มิวเซียมสยามดูแลโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในมิวเซียมสยามนี้ แสดงถึงความเป็นมาของชนชาติไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังตั้งอยู่ในสถานที่สวยงาม การจัดแสดง การจัดพื้นที่ภายในแบ่งเป็นเนื้อหาย่อย 17 ธีม ในรูปแบบ “เรียงความประเทศไทย” ให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ได้แก่ 1.เบิกโรง (Immersive […]

Read More

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร

ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ประวัติความเป็นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 6:54 นาฬิกา การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าให้ขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร […]

Read More

วัดอรุณราชวราราม

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอัมรินทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ […]

Read More