Category: นครนายก

เที่ยว นครปฐม

นครปฐม “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่บารมี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน” เทศกาล/ประเพณี งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อวัดไร่ขิง จัดเป็นประจำทุกปีระหว่างวันขึ้น 13 ค่ำ  เดือน 5 – วันแรม 4 ค่ำเดือน 5 (ประมาณเดือนเมษายน) ณ วัดไร่ขิง อ.สามพราน งานเทศกาลอาหารและผลไม้นครปฐม จัดเป็นประจำทุกปีระหว่างวันที่ 1-7 กันยายน ณ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง งานประเพณีนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ จัดเป็นประจำทุกปีระหว่างวันขึ้น 12 ค่ำ – วันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 (ประมาณเดือนพฤศจิกายน) ณ บริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ มีรถสายกรุงเทพฯ-นครปฐม ,กรุงเทพฯ-ด่านช้าง(สีน้ำเงิน),กรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก,กรุงเทพฯ-เพชรบุรี รถออกทุก 15 นาที เวลา 05:30-20:00 น. […]

Read More

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัด 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมวกเหล็ก อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อำเภอปากช่อง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอนาดี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี อำเภอบ้านนา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญานามว่าเป็น “อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน” อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ปกคลุม 2,168 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้า และป่ารุ่นหรือป่าเหล่า ป่าดงดิบชื้น ลักษณะป่าชนิดนี้เป็นป่าที่อยู่ในระดับความสูง 400-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พืชพรรณมี 3,000 ชนิด,นกมี 250 ชนิดและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 67 ชนิด ซึ่งได้แก่ ช้าง […]

Read More

อุทยานวังตะไคร้

อุทยานวังตะไคร้ หรืออีกชื่อคือ จุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ อุทยาน ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก เกิดขึ้นด้วยปณิธานการเป็นผู้ให้ของ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร “จุมภฏ – พันธุ์ทิพย์ อุทยาน” มาจากชื่อเจ้าของเดิมคือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรม (พระราชนัดดาในรัชกาลที่ 5) และชายา คือ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร สำหรับชื่อ “วังตะไคร้” นั้นเป็นชื่อเดิมที่ชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันมาเนื่องจากลำห้วยบริเวณนั้นเป็นวังน้ำกว้างมีต้นตะไคร้หางนาคหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นตะไคร้น้ำ” ขึ้นเต็มริมฝั่งห้วย ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดปรานธรรมชาติและการท่องเที่ยวตามขุนเขาลำเนาไพร เมื่อได้มาพบวังตะไคร้จึงขอซื้อที่ดินและปลูกตำหนักเพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนส่วนพระองค์และญาติมิตร เสด็จในกรม คือผู้เป็นแรงบันดาลใจของ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ในการสร้างสรรค์และบุกเบิกวังตะไคร้ เพราะทรงทราบดีว่าวังตะไคร้เป็นสถานที่ที่ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร สร้างขึ้นจากความฝันที่มีมาแต่วัยเยาว์ และด้วย ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ ต้องการให้สถานที่แห่งนี้เป็นอนุสรณ์แด่เสด็จในกรม จึงได้ทุ่มเทเวลากว่า 10 ปี ดำเนินงานอย่างหนักในการวางแผนจัดสถานที่และปรับสภาพพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยต้นอ้อและหญ้าคาจนกลายมาเป็นสนามหญ้าเขียวชอุ่ม รวมถึงได้นำพันธุ์ไม้ต่างๆ […]

Read More

อุทยานพระพิฆเนศ

อุทยานพระพิฆเนศ ตั้งอยู่เลขที่ 24/4 หมู่ที่ 11 ถนนนครนายก-น้ำตกสาริกา ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศวรขนาดใหญ่มหึมา ที่มีความสูงถึง 9 เมตร ซึ่งเป็นองค์ปูนปั้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดสร้างขึ้นโดยพระเดชพระคุณของ “พระราชพิพัฒน์โกศล” หรือ “หลวงพ่อเณร” เจ้าอาวาสวัดศรีสุดารามวรวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะศิษย์ที่มีความเคารพนับถือในองค์พระพิฆเนศ โดยท่านพระราชพิพัฒน์โกศลได้รับการถวายที่ดินจำนวน 16 ไร่ จากลูกศิษย์หลวงพ่อภู อดีตเจ้าอาวาสวัดเวฬุราชิน ย่านบางยี่เรือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่ดินที่ล้อมรอบไปด้วยคลองธรรมชาติ ทั้งนี้เดิมทีท่านตั้งใจจะสร้างที่ดินแห่งนี้ให้เป็นบ้านพักคนชรา แต่จำต้องพักโครงการไปเสียก่อนจนที่ดินถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน จนกระทั่งในที่สุดท่านได้เกิดแนวความคิดสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมขึ้นมา โดยภายในอุทยานฯ แห่งนี้จะมีพระพิฆเนศองค์ใหญ่ 2 ปาง ตั้งอยู่ใกล้กัน ซึ่งนักท่องเที่ยวจะพบกับความสวยงามและความยิ่งใหญ่อลังการอย่างที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมองค์พระพิฆเนศปางต่าง ๆ จำนวน 108 ปาง ที่ครบสมบูรณ์อีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย ตลอดจนมีพระบรมสารีริกธาตุจาก 9 ประเทศ, หอมหาเทพ ซึ่งประดิษฐานมหาเทพสูงสุดทั้ง 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ […]

Read More

วัดอัมพวัน

วัดอัมพวัน ตั้งอยู่เลขที่8 บ้านบางอ้อ ตำบลบางอ้อ อ.บ้านนา จ.นครนายก “วัดอัมพวัน” แปลว่าสวนมะม่วง เนื่องจากใน อดีตบริเวณนี้มีต้นมะม่วงป่าขึ้นอยู่มาก วัดอัมพวันสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย เคยเป็นวัดร้างสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 ต่อมาสมัย ร.5 ร่วมกันบูรณะวัดนี้ขึ้น เป็นวัดเก่าแก่ริมแม่น้ำนครนายก แวดล้อมด้วยท้องทุ่งมีโบสถ์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น งดงามน่าชม และมีกุฎิเรือนไทยที่เคยเป็นแพมาก่อน นอกจากนี้มีทิวทัศน์ระหว่างทางไปวัดยังสวยงามเหมาะสำหรับการขี่จักรยานเที่ยว สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถวัดอัมพวัน สร้างเมื่อ พ.ศ.2458 เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ก่ออิฐถือปูนหลังคาหรือเครื่องมุงหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ขนาด ความยาว 20.4 เมตร กว้าง 9 เมตร สูง 12 เมตร อยู่ภายในกำแพงแก้ว ยาว 20.4 เมตร กว้าง 11.4 เมตร สูง 50 เมตร ลักษณะโบสถ์มีมุขด้านหน้าหรือด้านตะวันออก และด้านหลังหรือด้านตะวันตก ตรงส่วนมุขทั้งสองด้านมีเลาขนาดใหญ่ รองรับมุขละ 4 ต้น ขนาดเสา 40X40 เซนติเมตร ลักษณะเป็นเสาลบมุม ซึ่งลักษณะเสาแบบที่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 […]

Read More

วัดใหญ่ทักขิณาราม

วัดใหญ่ทักขิณาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครนายก อ้างอิงโดยหนังสือพระพุทธศาสนาในเอเชียโดยพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวกันว่า เมื่อเกิดสงครามลาวกับฝรั่งเศส สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้กวาดต้อนประชาชนชาวเวียงจันทน์ได้อพยพลงมาทางใต้ของประเทศไทย โดยตัดสินใจลงหลักปักฐานในเขตที่ปัจจุบันคืออำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เรียกกันในสมัยนั้นว่า “หมู่บ้านลาว” โดยมีสมาชิกอยู่ประมาณ 300-400 หลังคาเรือน และได้ช่วยกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นในปีพุทธศักราช 2323 แต่เดิมเรียก “วัดใหญ่ลาว” อย่างไรก็ตามในปีพุทธศักราช 2484 ได้เปลี่ยนชื่อวัดให้เป็น “วัดใหญ่ทักขิณาราม” ที่เรียกจวบจนปัจจุบัน ภายหลัง กรมศิลปากรได้จดทะเบียนให้วัดใหญ่ทักขิณารามแห่งนี้เป็นโบราณสถาน โดยร่วมมือกับทางวัด ทำการบูรณะอุโบสถให้กลับมามีสภาพแบบเดิม เมื่อวันที่ 8 เมษายน แล้วเสร็จเมือวัที่ 4 ตุลาคม ทธศักราช 2546 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระอุโบสถ  มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 10.15 เมตร และสูง 10 เมตร ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วซึ่งสร้างโดยฝีมือช่างชาวเวียงจันทน์ ตัวพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ก่ออิฐถือปูน บานประตูเป็นไม้แกะสลักรอบด้านขวามือเป็นรูปยักษ์ถือกระบองชูขึ้นและเท้าเอว หน้าบันไดเป็นไม้แกะสลักรูปเทพพนม กำแพงแก้วมีซุ้มประตูโค้งเลียนแบบศิลปะตะวันออก […]

Read More

วัดท่าช้าง

วัดท่าช้าง เดิมชื่อ วัดคเชนทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 60 บ้านย่านซื่อ ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก ฐานะเดิมเป็นสำนักสงฆ์ สร้างโดยชาวจีนต่อมาสมัยพระจุลจอมเกล้า ร.5 พระราชทานเงินสร้างพระอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ มี 5 เสา มีพระพุทธรูปปูนปั้นปรางมารวิชัยขนาดหน้าตัด 3-10 ม.สูง 3-5 ซม. ประตูหน้าต่างมีลายแกะสลักและลายปูนปั้นอย่างสวยงาม คำว่า คเชนทร์ มีความหมายตามบันทึกในพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อ พ.ศ.2264 จังหวัดนครนายกมีช้างชุกชุม จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณย่านซื่อ เคยเป็นท่าช้างของโขลงช้างจากทุ่งดงละคร ไปยังทุ่งอำเภอบ้านนา ต่อมาเปลี่ยนชื่อ วัดคเชนทร์ เป็นวัดท่าช้าง และเปลี่ยนชื่อตำบลย่านซื่อ เป็นตำบลท่าช้าง มาจนถึงปัจจุบันนี้ วัดท่าช้างมีความหมายเกี่ยวข้อง กับช้างมาตั้งแต่ต้น จึงได้ใช้สัญลักษณ์ช้างไว้ที่หน้าอุโบสถหลังเดิม เป็นช้างสามเศียร และตราประทับเป็นรูปช้าง [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานภาคกลางเขต 8 จ.นครนายก (037) 311 273 , (037) 311 273 , […]

Read More

วัดทองหลาง

วัดทองหลาง ตั้งอยู่ที่ ตำบลทองหลาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองชลประทาน ไม่มีใครทราบประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน ตั้งอยู่ท่ามกลางดงต้นยางนาที่ร่มรื่นวัดทองหลาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2200 บนเนื้อที่ 16 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา โดยไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างต่อมาในปี 2461 วิหารหลังเก่าได้ชำรุด นางสิน ภรรยาหมื่นวิเศษภาษาและบุตรธิดา ได้ร่วมกันบูรณะขึ้นใหม่ต่อมาได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2469 พ.ศ.2480 ได้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ชื่อทองโสภณธรรมวิทยาคาร พ.ศ.2492 วัดทองหลางมีอาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2469 ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.2509 หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492 กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลัง วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ.2461 เหนือประตูมีภาพเขียนลายจีนโบราณสวยงามมาก ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2505 ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน […]

Read More

วัดเขานางบวช(วัดพระพุทธบาทจำลอง)

วัดเขานางบวช(วัดพระพุทธบาทจำลอง) ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก การสร้างวัดเขานางบวชนั้น สร้างตั้งแต่เมื่อใดไม่สามารถหาหลักฐานการสร้างได้ แต่ มีการเล่าตำนานการสร้างวัดอยู่ 2 ตำนาน คือ ท้าวปาจิตกุมารและนางอรพิม และหญิงหม้ายหนีมาบวชชี และเจริญธรรมจนเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2464 มีพระเถระฉายาว่า พระอมราภิรักขิต สำนักวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานครได้จาริกมาถึงวัดเขานางบวช จึงดำริก่อสร้างมณฑปบนยอดเขานางบวช พร้อมกับหลวงพ่อทา เจ้าอาวาสวัดเขานางบวชร่วมกับชาวบ้านที่ใจบุญ โดยนายอุ่น เชี่ยวชาญ เป็นกำลังสำคัญบอกบุญตามที่ต่าง ๆ ทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์มาก่อสร้างเริ่มก่อสร้างต้นพ.ศ.2464 เมื่อเริ่มพิธีบวงสรวงก็เกิดอัศจรรย์ มีแก้วลูกโตประมาณเท่าฝาบาตรโผล่ขึ้นตรงศาลเพียงตา การสร้างมณฑปนี้ เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 15175 บาท 18 สตางค์ มีบันไดขึ้น 248 ขั้น โดยช่างฝีมือชาวจีนชื่อนายหลา การก่อสร้างได้สำเร็จเมื่อปลาย พ.ศ. 2464 มีงานฉลองเดือน 5 ของทุกปีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีประชาชนจากถิ่นต่าง ๆ ไปทัศนาจร ปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขานี้เป็นจำนวนมาก ทุกปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2500 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกสมัยนั้น (นายชูสง่า ฤทธิประศาสน์) ได้ทำพิธีแห่พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ […]

Read More

เมืองโบราณดงละคร

เมืองโบราณดงละคร เป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ห่างจากตัวจังหวัดนครนายกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร จุดสูงสุดของเมืองอยู่ที่เนินดินทางด้านทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 34 เมตร เดิมเป็นผืนป่าดงที่เต็มไปด้วยเนินดินซากโบราณ ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองลับแล มีคนได้ยินเสียงมโหรีเหมือนละครในวังดังออกมาจากป่ารกร้างแห่งนี้บ่อยๆ ทำให้บริเวณนี้ถูกตั้งชื่อว่า “ดงละคร” โดยรัชกาลที่ 5 ได้มาสำรวจพื้นที่นี้และมีวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นเมืองของราชินีเขมร ไม่มีใครกล้าเข้ามายุ่งเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้ จนกระทั่งคนฉะเชิงเทราเข้ามาทำไร่ทำสวน และกรมศิลป์เข้ามาขุดแต่งทำผังเมืองในปี พ.ศ.2531 พื้นที่แห่งนี้ก็ลดความวังเวงลงไปเยอะ กลางเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสวนผลไม้ไปเกือบหมด แต่แนวกำแพงเมืองโดยรอบก็ยังคงเป็นเนินป่าที่มีต้นไม้ขึ้นรก ตอนเข้าไปชมเมืองดงละครจะพบศาลไหว้เทวดาผู้ปกปักษ์รักษาพื้นที่อยู่หลายแห่ง เมืองโบราณดงละคร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 สิ่งที่น่าสนใจ โบราณสถานหมายเลข 1 โบราณสถานหมายเลข 1 บริเวณทางขวาของภาพในเงาไม้ จะเห็นแท่นอยู่ 2 อัน อยู่ในเขตชั้นนอกของตัวเมืองดงละคร ห่างประตูเมืองชั้นในทางทิศเหนือ 250 เมตร ลักษณะเป็นกำแพงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 12 เมตร มีทางเข้าอยู่ทางทิศใต้ […]

Read More