Category: สุพรรณบุรี

วัดเขานางบวช

วัดเขานางบวช ตั้งอยู่บนเขานางบวช มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นวัดสำคัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเรื่องราวราวเล่าขานที่น่าสนใจ มีทั้งทางราดยางและบันได 249 ขั้น ขึ้นไปจนถึงยอดเขา เป็นวัดของพระอาจารย์ ธรรมโชติ ผู้ทรงคุณวุฒเครื่องรางของขลังสมัยศึกบางระจัน ชาวบ้านบางระจันได้นิมนต์ไปเป็นกำลังใจการสู้รบ กับพม่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ในวิหาร พระอาจารย์ธรรมโชติ ด้านหลังเป็นเจดีย์แผ่นหิน รูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ ภายในศาลามีพระพุทธรูปสมัยรัชกาลที่ 5 ประวัติ และที่มาของวัดเขานางบวช ราวปี 1826 มีหญิงชื่อชบา เป็นสนมแห่งพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทัย เกิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชสละทางโลกเข้าจำพรรษารักษาศีลอยู่ในถ้ำบนยอดเขาแห่งนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกเขาแห่งนี้ว่า “เขานางบวช” (ถ้ำอยู่ด้านหลังศาลา) ปัจจุบันปากถ้ำทรุดไม่สามารถเข้าไปได้ เล่ากันว่าภายในถ้ำมีข้าวของ เครื่องประดับจำนวนมาก สันนิฐานว่าเป็นของพวกที่ติดตามนางสนมชบา แต่ของเหล่านั้นได้สูญหายไปเมื่อปี พ.ศ.2402 และบางช่วงเวลา วัดแห่งนี้ได้เป็นวัดร้างในบางปีด้วยเครื่อประดับชิ้นสุดท้ายที่พบบริเวณปากถ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นกำไรหยกหัวพญานาค แต่ผู้พบมิได้ถวายเป็นสมบัติวัด สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ศาลาพระอาจารย์ธรรมโชติ ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเนื้อสำริด ปางห้ามสมุทร สมัยอยุธยาตอนต้น อายุกว่า 700 ปี เป็นพระพุทธรูปที่รับกาลที่ 5 ทรงโปรดรับสั่งให้นำกลับพระราชวัง […]

Read More

วัดเขาดีสลัก

วัดเขาดีสลัก ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนคา ห่างจากอำเภออู่ทอง 8 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ให้กรมศิลปากรมาพิสูจน์รอยพระพุทธบาท สรุปได้ว่าเป็นสมัยใกล้เคียงกับพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี เลยให้มีการสร้างมณฑปบนยอดเขาและสร้างถนนขึ้นเขา พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเสร็จใช้เวลา 5 ปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดเมื่อปี พ.ศ.2542 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด  รอยพระพุทธบาทวัดเขาดีสลัก เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองสร้างด้วยหินทรายแดง มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบตามที่อื่นๆ คือ เป็นรอยพระพุทธบาทนูนต่ำ ขนาดกว้างประมาณ 65.5 ซม. ยาว 141.5 ซม.บริเวณฝ่าพระบาททำเป็นรูปธรรมจักรขนาดเล็กมีกงล้อธรรมจักรจำนวน 16 ซี่ อยู่กลางฝ่าเท้าและรายล้อมด้วยภาพสลักรูปมงคล 108 ประการ อยู่ในกรอบวงกลม มีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบที่อื่น คือ รอยพระพุทธบาทนูน ขนาดกว้างประมาณ 65.5 เซนติเมตร ยาว 141.5 เซนติเมตร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีทางรถขึ้นไปชมรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ระยะทาง 2 กิโลเมตร ทางวัดปรับปรุงภูมิทัศน์บนยอดเขา มองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามในเขตอำเภออู่ทองโดยรอบ […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ภายในบริเวณศูนย์ราชการกรมศิลปากร จังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง เมื่อปีพุทธศักราช 2538 เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดีประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยวิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี หอจดหมายเหตุแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ และโรงละครแห่งชาติภาคตะวันตกจังหวัดสุพรรณบุรี ที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมือง สนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ภายในอาคารนิทรรศการถาวรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรีแบ่งเป็นห้องต่างๆ เพื่อจัดแสดงประวัติฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองสุพรรณบุรีในอดีต อาทิ “ห้องเมืองสุพรรณ” ที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้เมื่อ 3,500 ปีที่แล้ว หรือห้องที่จัดแสดงพัฒนาการของเมืองสุพรรณบุรีสมัย ทวารวดี ลพบุรี อยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ผ่านหุ่นจำลอง และระบบโสตทัศนูปกรณ์ จัดแสดงเหตุการณ์สำคัญครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชชนะศึกยุทธหัตถี มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี วัตถุมงคลแบบต่างๆ ที่หายากและมีชื่อเสียง ที่ค้นพบในจังหวัดสุพรรณทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีห้องแสดงศิลปะพื้นบ้านเมืองสุพรรณ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน นักท่องเที่ยวสามารถชมพระพิมโบราณจากกรุวัดที่มีชื่อเสียงต่างๆ ในเมืองสุพรรณบุรี รวมถึงประวัติบุคคลสำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรีในอดีต ทั้งยังได้มีการรวบรวมผลงานของศิลปินในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักร้องลูกทุ่งเพลงพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงไว้มากมาย อาทิ อย่าง สุรพล สมบัติเจริญ พุ่มพวง […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ตั้งอยู่บนถนนมาลัยแมน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างขึ้นจากความคิด นายบรรหาร ศิลปอาชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรออกแบบขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่ยาวนานถึง 5,000 ปี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบมังกรสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีนซึ่งแบ่งเป็น 21 ห้อง ตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ถึงราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิและสถาปนาระบอบประชาธิปไตย และช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็คกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยเหมาเจ๋อตุง จนมาถึงการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ทั้งนี้ ตัวมังกรมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ความยาว 135 เมตร สูง 35 เมตร กว้าง 18 เมตร ภายนอกออกแบบอย่างถูกต้องตามลักษณะความเชื่อของคนจีนแต่โบราณ ภายใต้ตัวมังกรเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร” ซึ่งห้องจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีน ตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรก เริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ ถึงราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง และการแสดงประวัติความเป็นมา ของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย […]

Read More

พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์

พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระคชาธารออกศึก และองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2135 และในปี พ.ศ. 2495 กองทัพบกได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวงและเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พร้อมกันนั้นทางจังหวัดได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ทุกปี เลยจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร เป็นที่ตั้งของ พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการบูชาอยู่เสมอ [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ 07.00 – 16.30 น. เสาร์ – อาทิตย์ 07.00 – […]

Read More

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระบรมวงศานุวงษ์ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญอักษร พระปรมาภิไธย ภปร. อักษรพระนามาภิไธย สก. สว. มวก. สธ. และ อักษรพระนาม จภ. ประดิษฐานที่หน้าบัน ทั้ง 6 ด้าน ประดิษฐาน พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระพี่นางพระสุพรรณกัลยา บริเวณโดยรอบเป็นอุทยานหินประวัติศาสตร์พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงเสด็จสวรรคต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ประวัติตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราช สมภพเมื่อเดือน 1 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวัง จันทรเกษม จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 แห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี อันเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หงสาวดีบุเรงนองได้นำสมเด็จพระนเรศวรไปยังหงสาวดีเพื่อเป็นตัวประกัน ขณะเมื่อทรงมีพระชันษาได้เพียง 8 พระชันษา […]

Read More

น้ำตกตะเพินคี่

น้ำตกตะเพินคี่ ตั้งอยู่ในเขตพิ้นที่ของอุทยานแห่งชาติพุเตย อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นน้ำตก 2 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปี ผืนป่าและต้นน้ำตะเพินคี่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่มากว่า 200 ปี เป็นป่าที่ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติอย่างสวยงาม เหมาะสำหรับการ ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย โดยตัวน้ำตกนั้นอยู่เลยไปจากน้ำตกพุกระทิง โดยใช้เส้นทางจากทุ่งมะกอกไปบ้านป่าผากแล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นเขาไปบ้านตะเพินคลี่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวกระเหรี่ยงเก่าแก่ อยู่ติดเขตแนวกันชนมรดกโลก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วย ขาแข้ง เป็นหมู่บ้านปลอดอาวุธทุกประเภท น้ำตกตะเพินคี่ อยู่ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดมีน้ำตกไหลตลอดปี มองจากน้ำตกจะเห็นยอดเขาเทวดาสูง 1,123 เมตร น้ำตกแห่งนี้เคยมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวที่สำคัญของทางจังหวัดสุพรรณบุรี น้ำตกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ น้ำตกตะเพินคี่น้อย น้ำตกขนาดเล็กใกล้หมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ ที่มีความสวยงามเป็นธรรมชาติอันเกิดจากสายน้ำไหล ลัดเลาะ ลงมาตามผาหินน้อยใหญ่ ซับซ้อน สู่ลำธารด้านล่างทั้งมีสภาพแวดล้อมโดยรอบชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย น้ำตกตะเพินคี่ใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณขึ้นหมู่บ้านกะเหรี่ยงตะเพินคี่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติพุเตย ประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งลำธารสายนี้เกิดจากผืนป่าตะเพินคี่อันอุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความเป็นธรรมชาติ ควรเดินทางท่องเที่ยวในช่วง ปลายฝน ถึง ต้นหนาว ตั้งแต่เดือน กันยายน […]

Read More

ถ้ำเวฬุวัน

ถ้ำเวฬุวัน ตั้งอยู่ในบริเวณวัดวังคัน ห่างจากอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี สภาพภายในถ้ำ มีไฟฟ้าสว่างพอให้นักท่องเที่ยวเห็นสภาพภายในถ้ำ ซึ่งมีหินงอกและ หินย้อยสวยงาม และมีพระพุทธรูปจำลองปางป่าเลไลยก์ให้นักท่องเที่ยวได้สักการะบูชา เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไหว้พระทำบุญและชมความงามของธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน นอกจากนั้นในบริเวณวัด ทางอำเภอได้จัดทำเป็นสวนไผ่เทิดพระเกียรติ มีพันธุ์ไผ่ต่าง ๆ ปลูกไว้ประมาณ 10 กว่าชนิด ทางเข้าถ้ำมีบันไดคอนกรีตจำนวน 61 ขั้น ทอดยาวเป็นระยะทางประมาณ 100 เมตร ขึ้นถึงบริเวณปากถ้ำ ถ้ำแห่งนี้ยังใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมอีกด้วย [adsense-2] ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 6.00-17.00 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัด (035) 535 376 ประชาสัมพันธ์จังหวัด (035) 535 423 เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (035) 522 974 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี (035) 525 777 ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี (035) 536 030 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี (035) 525 583-4 ตำรวจทางหลวง […]

Read More

ตลาดเก้าห้องร้อยปี

ตลาดเก้าห้องร้อยปี ตั้งอยู่ ในเขตเทศบาลตำบล บางปลาม้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปี สร้างประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเอกสารที่มีผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติตลาดเก้าห้อง และจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ คำว่า “ตลาดเก้าห้อง” น่าจะนำมาจากชื่อของบ้านเก้าห้อง ซึ่งเป็นบ้านโบราณมีประวัติสืบทอดมายาวนาน ตลาดเก้าห้องเล่ากันว่าสร้างขึ้นโดยชาวจีนคนหนึ่งชื่อ “นายฮง“ อพยพมาจากกรุงเทพฯ มาทำมา ค้าขายอยู่บริเวณละแวกบ้านเก้าห้อง กิจการค้ารุ่งเรืองดี ในราว พ.ศ. 2424 ได้แต่งงานกับ “นางแพ” ซึ่งเป็นหลานสาวของขุนกำแหงฤทธิ์แห่งบ้านเก้าห้อง และได้ประกอบอาชีพค้าขายที่แพซึ่งสร้างขึ้นไว้ 1 หลัง จอดอยู่ริมน้ำหน้าบ้านเก้าห้อง ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านค้าขายที่มีเรือนแพขายของสองฝั่งแม่น้ำ นายฮง หรือที่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า “เจ๊ก-รอด” ทำการค้าขายสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะเครื่องบวช เครื่องมืออุปกรณ์ทำนาและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหลายจนร่ำรวยและรู้จักกันในนามต่อมาว่า“นายบุญรอด เหลียงพานิช” ในปี พ.ศ. 2467 โจรได้ปล้นแพของนายบุญรอด และได้ทำการประทุษร้ายนางแพจนถึงแก่กรรม หลังจากนั้นไม่นานนายบุญรอดได้สมรสกับ นางส้มจีน นายบุญรอดเริ่มวางแผนผังและสร้างตลาดบริเวณฝั่งตรงข้ามบ้านเก้าห้อง โดยโยกย้ายแพทั้งหลายขึ้นไปค้าขายบนบกคือในตลาด เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำในบริเวณนั้น และเปิดการค้าทางบกมากขึ้นและนำชื่อบ้านเก้าห้องมาเป็นชื่อตลาด คือ “ตลาดเก้าห้อง” ต่อมาในปี […]

Read More

เขื่อนกะเสียว

เขื่อนกระเสียว ตั้งอยู่ที่ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในสถานที่ที่สามารถชมความงดงามยามพระอาทิตย์ตกดินที่สวยที่สุด ของจังหวัดสุพรรณบุรี ยิ่งในช่วงหน้าหนาว แสงสีที่ค่อยๆเปลี่ยนไป ภาพดวงอาทิตย์สีแดงกลมโต ที่ค่อยๆเลื่อนลงเหนือยอดเขา และแสงเงาที่กระทบลงผืนน้ำ อากาศที่หนาวเย็น นับเป็นช่วงเวลาที่มีความหมาย เป็นช่วงเวลาที่เราจะได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง และบริเวณริมเขื่อนยังมีสถานที่เหมาะกับการกางเต็นท์พักแรมในหน้าหนาวอีกด้วยค่ะ เขื่อนกระเสียว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำสร้างกั้นลำห้วยกระเสียว ยาว 4,250 เมตร สูง 32.5 เมตร พื้นที่กักเก็บน้ำ 28,750 ไร่ ปริมาณ น้ำที่สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุด 240 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนดินที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่ง เพราะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทิวทัศน์สวยงาม กลางวันอากาศค่อนข้างร้อน ช่วงเย็นอากาศดีมาก โดยเฉพาะจุดตั้งแค้มป์ริมเขื่อนเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม เขื่อนกระเสียว โทร. (035) 595 120 สำนักงานจังหวัด (035) 535 376 ประชาสัมพันธ์จังหวัด (035) 535 423 เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี […]

Read More