Category: บุรีรัมย์

สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม

สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม นอกจากปราสาทหินพนมรุ้งที่เป็นที่เลือเลื่องของจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียมแห่งนี้ ยังเป็นอีก 1 สถานที่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดที่แฟนบอลไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งค่ะ สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบายและบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์และยังจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า เอเอฟซี และ เอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกเพียง 256 วัน สนามนี้มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็น สำนักงานห้องแถลงข่าว,ห้องสื่อมวลชน,ร้ายขายสินค้าที่ระลึก,ห้องนักกีฬาทีม เหย้า-เยือน,ห้องพักผู้ตัดสิน,ห้องปฐมพยาบาล และ ห้องประชุม ชั้นที่ 2 จะเป็นห้องจัดเลี้ยงใหญ่จำนวน 400 […]

Read More

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เที่ยวปราสาทหิน ชมปฏิมากรรมสุดอลังการของคนสมัยโบราณกันค่ะ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป็ก ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร (คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาใหญ่”) ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอดอันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด […]

Read More

แหล่งหินตัดบ้านกรวด

แหล่งหินตัดบ้านกรวด ตั้งอยู่ที่ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นลานหินกว้าง มีร่องรอยการตัดหินที่คนสมัยขอมตัดหินเอาไปสร้างปราสาทต่างๆ   เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่างๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพรมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ตามชายแดนไทย – กัมพูชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก มีภูมิประเทศที่สวยงาม ถนนลาดยางถึงแหล่งหินตัด (หินทราย) ทางเดินชมความสวยงามของภูมิประเทศ เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง ที่นี่เป็นแหล่งหินทรายสีชมพูและหินทรายทั่วไปที่คนสมัยขอม (เขมรโบราณ) ตัดหินเอาไปใช้สร้างสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทหินอื่น ๆ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว มีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ที่น่าสนใจคือ หินทรายบางก้อนปรากฏรอยตอกเนื้อหินให้เป็นรูเรียงกันเป็นแนวยาว หินทรายบางก้อนถูกเซาะสกัดเป็นร่องขาดจากกัน และยังมีหินทรายที่ถูกตัดและงัดขึ้นมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมอยู่ทั่วไป ถือเป็นอีก 1 สิ่งมหัศจรรย์และเห็นความพยายามของผู้คนในสมัยโบราณที่เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ทันสมัยเท่าปัจจุบันแต่สามารถตัดหินออกมาเป็นชิ้นๆเพื่อสร้างปราสาทได้อย่างสวยงาม นอกจากนั้น บริเวณนี้ยัง เป็นสถานปฏิบัติธรรมของวัดสวนธรรมศิลา ได้รับการดูแลและ ปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม และมี ทางเดินจากแหล่งหินตัดไปยังจุดชมวิวบนยอดเขา [adsense-2] ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานสุรินทร์ (รับผิดชอบพื้นที่ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ จ.ศรีสะเกษ) อ.เมือง สุรินทร์ โทร. (044) 518-152 […]

Read More

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน อ.นาโพธิ์

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน อ.นาโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองโก หมู่ที่ 6 ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนในพื้นที่อำเภอนาโพธิ์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมมาตั้งแต่บรรพบุรุษซึ่งสืบเชื้อสายมาจากลาวพรวน ที่มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2314 และถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนผ้าไหมผลิตขึ้นเพื่อใช้เอง แลกสิ่งของ และใช้ในงานพิธีสำคัญ ส่วนมากเป็นที่นิยมสวมใส่ของผู้สูงอายุ ในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบ ลวดลาย และสีสรรขึ้น เพื่อความเหมาะสม แก่ยุกต์สมัย และตรงความต้องการของตลาด อำเภอนาโพธิ์จึงได้ส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหมแก่ประชาชน โดยการสร้างศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขึ้นในปี 2542 และได้ มีการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตและการตลาดอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้น ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตามโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรได้ระดับ 5 ดาว พร้อมทั้งส่งผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสมาชิกเข้าประกวด OTOP ระดับประเทศได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทผ้าเชิงพานิชย์ และในปี พ.ศ.2547 ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมขึ้นอีกระดับ หนึ่ง […]

Read More

วัดหงษ์(วัดศรีษะแรด)

วัดหงษ์(วัดศรีษะแรด) ตั้งอยู่ที่ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จ. บุรีรัมย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งถูกค้นพบในราวพ.ศ. 1792 โดยท้าวศรีปาก (นา) และไพร่พลซึ่งตามแรดใหญ่มา จึงได้มีการตั้งรกรากในบริเวณนั้น แต่ก็ได้เสื่อมลงตามกาลเวลา ต่อมาในพ.ศ. 2200 พรานป่า 2 คนได้ตามหงส์เข้ามาในป่า ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง  ซากเจดีย์ นอแรดและกระดูกของแรด จึงชวนผู้คนมาตั้งรกราก ตั้งชื่อว่า บ้านศีรษะแรด และสร้างวัดชื่อ วัดหงส์ และในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการขุดค้นพบพระปรางค์สูง 70 เซนติเมตร ในบริเวณวิหารพระเจ้าใหญ่อีกด้วย พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพุทไธสงมาแต่โบราณ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพื้นเมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ หรือวัดศีรษะแรด เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนจำนวนมากที่เรียกว่า “พระเจ้าใหญ่” ในภาษาไทยอีสาน มิใช่เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ แต่หมายถึงความยิ่งใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการสาบานและอธิษฐาน เล่ากันว่า ผู้ที่ผิดคำสาบานมักได้รับภัยพิบัติต่างๆ จึงมีผู้ไปสาบานงดเว้นอบายมุข เลิกดื่มสุรา […]

Read More

วัดโพธิ์ย้อย

วัดโพธิ์ย้อย ตั้งอยู่ที่บ้านปะคำ หมู่ที่ 1 ตำบลปะคำ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ เป็นวัดที่ไม่เก่าแก่นัก จึงไม่ได้ถูกมองและศึกษาในรูปแบบของศิลปะการก่อสร้าง หากแต่มีความสำคัญด้วยมีโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียงเก็บรักษาไว้ ได้แก่ ทับหลัง 5 ชิ้น ใบเสมา 3 แผ่น เสาศิลา 5 หลัก ชิ้นส่วนเสากรอบประตูและฐานศิวลึงค์อย่างละชิ้น สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ทับหลังด้านหน้าพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับในซุ้มเรือนแก้ว แวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา กล่าวกันว่าเป็นทับหลังที่เคลื่อนย้ายมาจาก ประสาท หินบ้านโคกปราสาท หรือที่เรียกว่า ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ซึ่งตั้งห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร ทางทิศ เหนือ ทับหลังด้านซ้ายสลักเป็นภาพเล่าเรื่องการถวายสตรีให้กับบุคคลผู้มีอำนาจ อาจเป็นกษัตริย์หรือเทพ ภาพบุคคลนั่งเรียงกันภายในซุ้ม มีลายพันธุ์พฤกษาล้อมรอบ และมีปลายทับหลัง 2 ข้าง เป็นภาพมังกรหัน หน้าออกคายลายก้านต่อดอก ทับหลังด้านหลังพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอิศวรทรงโคในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล ซึ่งใช้มือทั้งสองยึดจับที่ท่อนพวงมาลัย 2 ข้าง มีลายมาแบ่งที่เสี้ยวเป็นรูปบุคคล นั่งในซุ้มเหนือดอกบัวมี ก้านประกอบและทับหลังบนกุฏิอีก 1 […]

Read More

วัดเขาพระอังคาร

วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่ที่บ้านเจริญสุข ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ รอยู่ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งประมาณ 20 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดี เพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก เป็นวัดที่สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ น่าจะสร้างในยุคเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ส่วนสถาบัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่า ตัววัดตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 ก.ม. ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ วัดเขาพระอังคาร มีจุดเด่นคือ ภายในบริเวณวัดเคยมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น (เป็นใบเสมาที่ของสมัยทวารวดีที่พบได้น้อยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานแต่สามารถพบได้ที่วัดเขาอังคาร) จากร่องรอยที่เหลืออยู่บางส่วนแสดงให้เห็นถึงการนับถือ พุทธศาสนาของชุมชนโบราณในบริเวณนี้ สันนิษฐานได้ว่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 และภายในวัดยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงามเช่น มีการก่อสร้างโบสถ์ ศาลาและอาคารต่างๆ เลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบและมีพระพุทธรูปตั้งเรียงรายล้อมรอบโบสถ์วัดเขาอังคาร รวมถึงภายในโบสถ์วัดเขาอังคาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงมีพระพุทธรูปปางประทับนอนองค์ใหญ่อยู่บนยอดเขาอังคาร ตำนานเขาอังคาร เขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ ภูเขาพระอังคาร เดิมชื่อ ภูเขาลอย เหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคาร เพราะตามประวัติลายแทงธาตุพนม กล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 8 ได้มีพญาทั้ง 5 […]

Read More

วัดขุนก้อง

วัดขุนก้อง ตั้งอยู่เลขที่ 224 บ้านนางรอง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2150 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดย “ขุนกอง” ซึ่งเป็นนายทหารผู้ควบคุมเสบียงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ขณะที่ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ ได้ยกกองทัพไปปราบเขมร ได้มาตั้งทัพพักอยู่ในเมืองนางรองเป็นผู้สร้างขึ้นและเรียกว่า “วัดขุนกอง” เมื่อกาลเวลาล่วงมานานเข้าชื่อเรียกวัดก็เพี้ยนมาเป็น “วัดขุนก้อง” แต่บัดนั้นมาจนถึงบัดนี้ วัดนี้สร้างมาก่อนพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 ประกาศใช้มีอายุยาวนานถึงปัจจุบันเป็นเวลา 405 ปี สิ่งที่น่าสนใจ รูปปั้นทหาร 2 นาย ขนาดสูง 3 เมตร โดยการปั้นใช้ปูนและทราย ผสมกับน้ำมันยาง ยืนถือปืนเฝ้ายามอยู่หน้าซุ้มประตูทางเข้าวัด แทนรูปปั้นยักษ์ เจ้าอาวาสชี้เพื่อให้เห็นถึงที่มาของวัดอันเก่าแก่ ที่สร้างขึ้นจากทหารผู้ภักดี ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เจ้าอาวาสวัดขุนก้องเล่าว่า การปั้นรูปนายทหารยืนเฝ้าหน้าประตูวัด แทนที่จะเป็นยักษ์วัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์นั้น สืบเนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2260 ซึ่งมีการสร้างกำแพงโดยรอบพระอุโบสถสูง 1.50 เมตร และที่ประตูกำแพงพระอุโบสถทางทิศใต้ได้มีการปั้นรูปทหาร 2 นาย ซึ่งเรียกว่า […]

Read More

วนอุทยานเขากระโดง

วนอุทยานเขากระโดง ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่น่าไปเยือนค่ะ ที่นี่เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วค่ะ นอกจากจะได้พักผ่อนหย่อนใจกันแล้วนักท่องเที่ยวที่มาเยือนที่นี่ยังจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะ มีโบราณสถานกู่เขากระโดง เป็นที่ประดิษฐานรองพระพุทธบาทจำลอง และมี”พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ อยู่บนยอดเขา และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเต็งรัง เนื้อที่ประมาณ 6 พันไร่ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่หาชมได้ยาก เช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ ที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ  รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด ป่าเขากระโดงมีพื้นที่ 6,212 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศให้เป็นวนอุทยานเขากระโดงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยะมหาราช) พ.ศ. 2521 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า “พนมกระดอง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขากระดอง (เต่า)” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น […]

Read More

พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด

พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บเครื่องเคลือบโบราณในอำเภอบ้านกรวดและจัดแสดงให้นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าชมและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของอำเภอ เปิดให้ประชาชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าเข้าชม เว้นแต่จะร่วมบริจาคสมทบศูนย์วัฒนธรรมที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ บ้านกรวดเป็นชุมชนเขมรดั้งเดิม เรียกว่าเขมรป่าดง บ้านกรวดมีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่อยู่ติดแนวชายแดนไม่มีอะไรนอกจากป่าไม้ดงดิบที่ทึบหนา ประมาณ ปี พ.ศ.2503 ทางการได้ไปจัดนิคมให้ประชาชน ทำให้มีคนจากทุกสารทิศไหล่บ่าเข้าไปจับจองที่ทำมาหากิน มีการขุดโค่นต้นไม้ถางป่า หลังจากนั้นก็มีการขุดพบเครื่องเคลือบคือ จำพวกไห คนโท ฯลฯ ปัจจุบันถูรวบรวมมาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบที่สำคัญ มีภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่งเคลือบสีที่ผลิตโดยใช้แป้นหมุน สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตรวรรษที่ 15-17 เปิดให้ประชาชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าเข้าชม เว้นแต่จะร่วมบริจาคสมทบศูนย์วัฒนธรรมที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ ประวัติความเป็นมา ในอดีตบ้านกรวดเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอมโบราณ ในท้องที่อำเภอบ้านกรวด อำเภอละหานทราย อำเภอประโคนชัย และบางส่วนของอำเภอกาบเชิงรวมกัน พบเตาเผาเครื่องเคลือบประมาณ 300 กว่าเตา แต่ในกัมพูชาเองกลับไม่พบร่องรอยของการเผาหรือเตาเผา ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย คุณพิมาน บาลโสง เจ้าหน้าที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวดเล่าว่า หลังจากที่มีการขุดค้นเมื่อประมาณปี […]

Read More