Category: นครราชสีมา

วัดศาลาทอง

วัดศาลาทอง ตั้งอยู่เลขที่ 12 ถ.เบญจรงค์ ต.ในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่เศษ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ วัดศาลาทองเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยขอมยังเรืองอำนาจ ปกครองแผ่นดิน วัดแห่งนี้ครั้นเมื่อสมัยขอมยังปกครองอยู่มีชื่อว่า “วัดป่าเลไลย์”ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น”วัดป่าเลไลย์ทอง”และเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองแผ่นดินสยาม โปรดให้สร้างเมือง”โคราฆปุระ”หรือเมืองโคราช จ.นครราชสีมาในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น”วัดศาลาทอง”จวบจนปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด 1.พระอุโบสถทรงจตุรมุข หรือมีหน้าบัน 4 ด้าน อย่างพระปรางค์ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้งถ้าตัดมุขทั้ง 4 ด้านออก ซึ่งจะไม่เหมือนรูปอุโบสถอย่างไทยนิยมในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีหลังคาลาดชัน ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2481 และสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เป็นไม้ ที่มีความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นลักษณะเดิมแต่เป็นคอนกรีตทั้งหลัง เพื่อคงรักษาลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมอย่างขอมโบราณ ผู้ออกแบบพระอุโบสถคือ พระครูปลัดสัมพิพัฒน์วิริยาจารย์ (พระมหาสุทัศน์ สุทสสโน ป.ธ.6)ได้ป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง นำพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนร่วมกันก่อสร้างจนสำเร็จสมบูรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2483 ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2535 ได้มีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาครั้งใหญ่แทสีใหม่ทั้งหลังและในปีพุทธศักราช 2547 มีการบูรณะโครงหลังคาจากไม้เป็นโครงเหล็กทั้งหลัง รวมถึงบันไดทางขึ้นอุโบสถทั้ง 4 […]

Read More

วัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร วัดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 417 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกลับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ แล้วเรียกชื่อวัดอื่น ๆ ตามที่ตั้งอยู่ทิศต่าง ๆ ตามชื่อทิศ เช่น วัดบูรพ์(บูรพา) วัดอิสาน วัดพายัพ และวัดบึง วัดสระแก้ว รวม 6 วัด ที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง โดยถือเอาวัดพระนารายณ์เป็นจุดศูนย์กลาง วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเศกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. 2477 จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้ มุมวัดด้านถนนจอมพลเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนครราชสีมา สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ศาลพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ตั้งเทวรูปพระนารายณ์สี่กร อยู่ในท่ายืน สูง […]

Read More

วัดป่าสาละวัน

วัดป่าสาละวัน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อยู่หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้ ตามประวัติของวัดป่าสาลวันมีอยู่ว่า เดิมเป็นวัดประเภทอรัญญวาสี ตามประวัติได้เริ่มสร้างเป็นสำนักสงฆ์เมื่อปี พ.ศ.2474 หลวงชาญนิคม(ทอง จันทรศร) เป็นผู้ถวายที่ดินเริ่มแรก เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ขณะดำรงสมณศักดิ์พระพรหมมุนี เป็นผู้ตั้งนามให้ตามสถานที่ว่า “วัดป่าสาลวัน” เนื่องจากเห็นว่าบริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าไม้เต็งรัง เพราะคำว่า สาละ แปลว่า ต้นรัง วนะ แปลว่า ป่า สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์ เป็นเจดีย์แห่งพระกัมมัฏฐาน ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และอัฐิธาตุบูรพาจารย์ของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ภายในมีรูปแหมือน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล หลวงปู่สิงห์ ขนตยาคโม และพระอาจารย์พร พระอริยสงฆ์ของประเทศ เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างถวายครูบาอาจารย์ เป็นถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่จะทำให้ระลึกถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางวิปัสสนากิมมัฏฐานเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิริมงคลของเมืองนครราชสีมาอีกแห่งหนึ่ง การสร้างอนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์ มีวัตถุประสงฆ์เพื่อเป็นปูชนียสถานที่พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณธรรม คุณงามความดีของหลวงพ่อพุธ ฐานิโยและบูรพาจารย์ […]

Read More

วัดโนนกุ่ม

วัดโนนกุ่ม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ วัดหลวงพ่อโต  ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ 42 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีการสร้างรูปหล่อทองเหลืองรมดำของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหฺมรังสี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยโบสถ์มีการสร้างอย่างงดงามและใหญ่โต ขนาดนี้ยังสร้างไม่แล้วเสร็จกำลังดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องโดยคุณสรพงษ์ ชาตรี ดารานักแสดงได้เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อโต และโบสถ์ อื่นๆ ภายในวัด ผู้ที่มาวัดนี้นอกจากจะได้สักการะ ขอพรจาก หลวงพ่อโต แล้ว ยังได้สัมผัสกับสิ่งก่อสร้างภายในวัดและสวนหย่อมที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามอีกด้วยค่ะ ภายในวัดแห่งนี้นอกจากจะได้มากราบไหว้หลวงพ่อโต เพื่อความศิริมงคลแล้วยังมีโรงอาหารหรือโรงทานให้รับประทานอาหารและบริจาค เงินตามกำลังศรัทธา ในโรงทานก็จะมี อาหาร และขนม ของหวานมากมายให้ทานกันค่ะ บริเวณโดยรอบจะมีอุทยานสวนหย่อมต่างๆ มีบ่อปลาที่สวยงาม บรรยากาศร่มรื่นให้นั่งพักผ่อนและถ่ายรูปด้วยค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์โต โทร. 081-6401281, 081-9110622 ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) 213-666, (044) 213-030 ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. (044) 251-818 ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, […]

Read More

วัดธรรมจักรเสมาราม

วัดธรรมจักรเสมาราม  ตั้งอยู่ที่ ตำบลเสมา อ. สูงเนิน แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่หลายๆ ก้อนประกอบกันขึ้นตามแนวทิศเหนือทิศใต้ มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร อายุราว พ.ศ. 1200 พระเศียรอยู่ทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมประกอบด้วยหินทรายสี่แผ่นวางซ้อนกัน พระวรกายประกอบด้วยหินทรายรวมกันเป็นแผ่นในแนวตั้ง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระนอนหินทราย อายุกว่า 1,300 ปี เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ศิลปะทวาราวดี ก่อด้วยหินทรายที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดของประเทศไทย พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออกตามขนบของศาสนสถานในศาสนาพุทธ ในส่วนของพระพักตร์ใช้หินทรายแดงสี่ก้อนวางประกอบซ้อนกันแล้วจึงสลักเป็นรูปวงพระพักตร์ ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างกว้างทรงแย้มพระสรวลที่มุมพระโอษฐ์ชี้ขึ้น ส่วนพระศอเป็นหินทรายทรงกลมหนึ่งก้อน หนาประมาณ 35 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตร และพระวรกายประกอบด้วยหินทรายขนาดใหญ่หลายก้อน พระนอนหินทรายเป็นพุทธลักษณะที่เป็นศิลปะทวารวดี ซึ่งเป็นยุคแรกเริ่มของประวัติศาสตร์ เป็นพระนอนเก่าแก่ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือมีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1200 และที่วัดแห่งนี้ยังมีธรรมจักรเก่าแก่ […]

Read More

วัดเขาจันทน์งาม

วัดเขาจันทน์งาม ชมภาพเขียนสีอายุกว่า  4,000 ปี วัดเขาจันทร์งาม หรือ สำนักสงฆ์เขาจันทน์งาม เดิมชื่อ วัดเลิศสวัสดิ์ ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 58 ถนนมิตรภาพ บ้านเลิศสวัสดิ์ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา วัดเขาจันทน์งาม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ วัดตั้งอยู่บนเขาเขื่อนลั่น แวดล้อมไปด้วยป่าไม้ มีความร่มรื่นและเงียบสงบ เป็นสำนักปฏิบัติธรรม (สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 26 และเป็นวัดป่าสาขาของวัดหนองป่าพง สาขาที่ 34) ภายในอุโบสถประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระสาวกธาตุ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ภาพเขียนสีโบราณ ถือจุดเด่นของวัดนี้ ที่มีชื่อเสียง เป็นภาพเขียนสีโบราณ ที่มีอายุกว่า 4,000 ปี และหากใครได้มาที่วัดแห่งนี้แล้ว ก้าวแรกที่ลงจากรถ จะรู้สึกได้ถึงความร่มเย็น และสงบเงียบ จากภูมิประเทศโดยรอบของวัดแล้ว บริเวณนี้น่าจะเคยเป็นที่อยู่ของคนยุคโบราณ เนื่องจากเป็นบริเวณของรอยแยกหิน เป็นลักษณะร่องเขา คล้ายกับแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคหิน หรือยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากที่จอดรถ จะมีทางเดินเป็นทางปูนซีเมนต์ เดินขึ้นเขาประมาณ 100 เมตร ผ่านป่าและต้นไม้สองข้างทางอันหนาแน่น และร่มเย็น ซักพักจะมีทาง 3 […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสุทธจินดา ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด จัดแสดงศิลปวัตถุทั้งที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดารวบรวมไว้ โบราณวัตถุที่กรมศิลปากรได้สำรวจขุดพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงและที่มีผู้บริจาค ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป มีทั้งพระศิลาสมัยขอม พระพุทธรูปสมัยอยุธยา พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ เครื่องเคลือบดินเผา เครื่องใช้สมัยโบราณ ภาพไม้แกะสลักซึ่งนำมาจากวัดโบราณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ เป็นอาคารโถงชั้นเดียวไม่ใหญ่โต แต่มีโบราณวัตถุสำคัญหลายอย่างที่ที่พบในเขต จ.นครราชสีมาและจังหวัดอื่นๆในภาคอีสาน โดยจัดเป็นหมวดหมู่เรียงลำดับยุคสมัย เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผากลองมโหระทึกทำด้วยสำริด ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ยุคต่อมาคือยุคประวัติศาสตร์จัดแสดงพระพุทธรูป ศิลาจารึก และข้าวของเครื่องใช้ที่หน้าสนใจอีกหลากหลาย โบราณวัตถุต่างๆ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บางส่วนเคยเป็นสมบัติส่วนตัวของสมเด็จมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาซึ่งได้สะสมโบราณวัตถุจากจังหวัดต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาได้มอบให้กรมศิลปากรเพื่อจัดแสดงเผยแพร่ เพื่อการศึกษาแก่สาธารณชนทั่วไป ในปีพ.ศ.2497 กรมศิลปากรจึงสร้างอาคารขึ้นบริเวณวัดสุทธจินดา จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมกับนำโบราณวัตถุที่ได้จากแหล่งโบราณคดีอื่นๆที่ประชาชนบริจาคเพิ่มเติมนำมาจัดแสดงไว้ให้ชมด้วย สิ่งที่น่าสนใจภายในพิพิธภัณฑ์ พระพุทธรูปสมัยทวารวดี เป็นพระพุทธรูปที่ได้จากแหล่งโบราณคดีเมืองเสมา และเมืองโคราฆปุระที่เชื่อว่าเป็นชุมชนแรกเริ่มของโคราช พระพุทธรูปทวารวดีมีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธรูปลพบุรี คือ ปากหนา ตาโปน วงหน้าเป็นเหลี่ยมและนิยมทำพุทธรูปปางนาคปรก เครื่องถ้วยและภาชนะดินเผา เป็นเครื่องถ้วยที่เผาจากเตาบุรีรัมย์ สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเมืองแถบนี้ เครื่องถ้วยและไหมีหลายขนาดจัดแสดงไว้จำนวนสองตู้ มีทั้งสีเขียว สีน้ำตาล มีลวดลายสวยงามต่างๆ เช่น ลายนก […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ตั้งอยู่เลขที่ 184 หมู่ 7 ถ.มิตรภาพ – หนองปลิง บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ. นครราชสีมาแต่เดิมหน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมทรัพยากรธรณี ในเวลาต่อมาได้ย้ายมาเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีพื้นที่ 80 ไร่ ภายใต้งบประมาณการก่อสร้าง 150 ล้านบาท โดยการสนับสนุน ผลักดันหรืออนุมัติโดย ฯ พณ ฯ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในสมัยที่เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ โดยการประสานงานจากนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รวมทั้งการสนับสนุนจากจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานโยธาธิการจังหวัด กองทัพภาคที่ 2 ศูนย์ รพช. องค์การบริหารส่วนตำบลสุรนารี เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ทั้งนี้ด้วยพระมาหากรุณาธิคุณ แห่งสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ได้ทรงให้การสนับสนุน และสนพระทัย นับแต่การเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการไม้กลายเป็นหิน […]

Read More

พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ

พิพิธภัณฑ์โครงกระดูกซากช้างโบราณ ตั้งอยู่ที่ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ชมซากช้างโบราณ ซากช้างถูกค้นพบจากบ่อทรายที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทุกบ่อทรายจะมีสภาพชิ้นส่วนของซากช้างแตกต่างกันไป แต่ละบ่อความลึกประมาณ 30-50 เมตร จากระดับดินเดิม จะพบซากสัตว์ชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะซากช้างโบราณยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณีสถาบันราชภัฎนครราชสีมา และต่างประเทศ ได้วินิจฉัยว่าเป็นซากช้างดึกดำบรรพ์ คอมโพเธอเรียม มีความสูงประมาณ 2 เมตร มีงวงสั้นกว่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง 2 คู่ จากขากรรไกรบนและล่าง เป็นช้างที่มีวิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรกแห่งดินแดนอียิปต์ที่มีขนาดเท่าหมู ใหญ่ที่มีชื่อ “โมริธิเรียม” สำหรับที่พบที่ตำบลท่าช้างนี้ มีอายุตอนปลายของสมัยไมโอซีน ตอนกลางมีอายุราว 13-15 ล้านปีก่อน ขณะนี้ชิ้นส่วนกระดูกช้างส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ ที่อาคารโครงกระดูกซากซ้างโบราณ ซึ่งอยู่ชั้นล่างของที่ทำการเทศบาลตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งแต่ละวันจะมีบุคคลที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมโดยตลอดกรมทรัพยากรธรณีได้แจ้งว่า ผลการตรวจฟอสซิลจากบ่อทราย ตำบลท่าช้าง ยืนยันว่าชิ้นส่วนของช้างสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว มีอยู่ 3 ชนิด เฉพาะซากช้างโบราณที่ค้นพบจากบ่อดูดทรายริมแม่น้ำมูลของที่นี่ในตำบลท่าช้างและตำบลช้างทองก็ 8 สกุลใน 38 สกุล นอกจากนี้ยังพบสัตว์ชนิดอื่นๆรวมเกือบ 50 ชนิด เช่น ยีราฟคอสั้น ม้าฮิปปาเรียน […]

Read More

ปราสาทหินพนมวัน

ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา  เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สันนิษฐานว่าเดิมก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เนื่องจากแผนผังของปราสาทหินพนมวันมีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมายเป็นศิลปะร่วมแบบบาปวน ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18–19 จึงได้สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป จากจารึกที่ค้นพบ เรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “เทวาศรม” เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน  เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย ปัจจุบันแม้จะหักพังไปมาก แต่ยังคงเห็นซากโบราณสถานหลงเหลือเป็นเค้าโครงค่อนข้างชัดเจนเช่น ปรางค์จตุรมุของค์ประธานหลักซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยมีมณฑปอยู่เบื้องหน้าและมีฉนวน (ทางเดิน) เชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสองติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ  ทางด้านทิศตะวันออกมี “บาราย” หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า “สระเพลง” ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า “ปรางค์น้อย” ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมีระเบียงคตสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ […]

Read More