Category: นครราชสีมา

ปราสาทนางรำ

ปราสาทนางรำ ชมปราสาทหินโบราณ ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ชื่อ ปราสาทนางรำ มาจากว่า เดิมเคยมีรูปนางรำ เป็นหินสีเขียวทำแบบเทวรูป อยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารห่างไป 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน ปราสาทนางรำเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 กลุ่มตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน กลุ่มปรางค์ที่สมบูรณ์กว่าหลังอื่นประกอบด้วยปรางค์องค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ส่วนซุ้มโคปุระหรือประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปกากบาท นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ มีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเหลือเพียงฐานและมีกรอบประตูและทับหลังหินทรายตั้งแสดงอยู่ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ ตามประวัติ พระเจ้าชัยวรมันที่7 พระมหากษัตริย์เขมร ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1724-1763 ทรงสร้างขึ้น ปรากฎหลักฐานตามจารึกพระขรรพ์ เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาที่ว่าพระองค์ได้สร้าง”บ้านมีไฟ”หรือที่พักคนเดินทาง57แห่งบนถนนนอกเมืองพระนครหลวงไปยังอาณาจักรจามปา17แห่งไปยังปราสาทหินพิมายบนที่ราบสูงในประเทศไทย จารึกด่านประคำโศลกที่4กล่าวว่า”พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาลและรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วยรูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมา ชัยภูมิ) อ.เมือง นครราชสีมา โทร. (044) […]

Read More

ปราสาทครบุรี

ปราสาทครบุรี ตั้งอยู่ที่บ้านปรางค์บุรี ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ ประมาณ 3 ไร่ 1 งาน 86 ตารางวา ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของโรงเรียนบ้านครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร ราว พ.ศ.1300-1800 วัฒนธรรมขอมได้แพร่เข้าสู่อีสานทางปักธงชัยและช่องตะโกลงสู่ชุมชนในลำน้ำลำพระเพลิง ลำน้ำจักราช และลำน้ำลำปลายมาศ ทำให้เกิดบ้านเมืองแบบวัฒนธรรมขอมเกิดขึ้นมากมายในย่านนี้ รวมถึงฝั่งตะวันตกของลำน้ำลำปลายมาศ ที่ตั้งของเมืองครบุรี หรือทางใต้ลำน้ำมูลลงมา บ้านเมืองแบบที่ได้รับวัฒนธรรมขอมเหล่านี้ จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมไปด้วย มีหลักฐานวัฒนธรรมในครบุรี คือ ปราสาทครบุรี เป็นอาคารก่อด้วยศิลาแลง ตามแบบวัฒนธรรมขอม จากองค์ประกอบผังเชื่อว่าคือ “อโรคยาศาล” หรือที่นักวิชาการจะแปลว่า โรงพยาบาล ที่มีจารึกปราสาทตาพรหมระบุว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม โปรดให้สร้างอโรคยศาล ขึ้นจำนวน 102 แห่ง ในทุกๆ วิษัย (เมือง) แต่ในขณะเดียวกันนักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่า อโรคยาศาล อาจไม่ใช่โรงพยาบาลที่มีการรักษาคนป่วยจริงแต่เป็นชื่อสัญลักษณ์ของกลุ่มศาสนสถานหรืออาคารประเภทหนึ่งที่มีหน้าที่บางอย่าง นอกจากนี้ที่บ้านเฉลียงโคก ต.เฉลียง อ.ครบุรี มีภาพสลักในถ้ำวัวแดงเป็นรูปอุมามเหศวร คือภาพพระอิศวรประทับนั่งชันเข่าโอบกอดพระอุมาบนหลังโคนนทิ มีอายุราว พ.ศ.1600-1650 รุ่นราวคราวเดียวกับปราสาทพิมายในลุ่มน้ำมูล และปราสาทนครวัดในกัมพูชา […]

Read More

ไทรงาม

ไทรงาม อยู่ในพื้นที่บริเวณโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาทุ่งสัมฤทธิ์ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย  ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางฟุต เป็นสถานที่ซึ่งเหมาะแก่การพักผ่อน ปิกนิก ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา และรับประทานอาหาร ต้นไทร เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง มีชื่อพื้นเมืองว่า “ไทรย้อย” ที่อำเภอพิมายแห่งนี้ มีต้นกำเนิดจากผู้ใดปลูกไว้หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่สามารถที่จะหาคำตอบได้ เนื่องจาก ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่ที่มีอายุประมาณไม่ต่ำกว่า 350 ปี ไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมาย โดยไทรงามเริ่มเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง นับตั้งแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมืองพิมาย เมื่อ 21 มกราคม 2454 และได้พระราชทานนามสถานที่ท่องเที่ยวสถานที่แห่งนี้ว่า “ไทรงาม” ต้นไทร เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นตรงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากกิ่งและส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสันแตกต่างกันตามพันธุ์ น้ำยางขาว ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ไม่ต่ำกว่า 800 ชนิด ต้นไทรเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำดี โดยปกติเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด […]

Read More

เทวสถานศาลพระนารายณ์

เทวสถานศาลพระนารายณ์ ตั้งอยู่ถนนชุมพล อ.เมือง จ.นครราชสีมา อยู่หลังวัดพระนารายณ์มหาราช ฝั่งทางทิศตะวันตกของอุโบสถกลางน้ำ  เป็นศาลคู่บ้านคู่เมืองนครราชสีมา ที่ประดิษฐานองค์เทวรูป พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิฆเนศวร ทำด้วยศิลาศิลปขอมโบราณ(พ.ศ. 1500-1700)  เป็นศูนย์กลางทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199-2231) พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพุทธสถาน และบูรณะเทวสถานต่าง ๆ ทั้งสยามประเทศ พุทธสถานประจำจังหวัดนครราชสีมา  คือ วัดพระนารายณ์มหาราช อยู่ติดศาลหลักเมือง และเทวสถาน ศาลพระนารายณ์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสวัดพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงถวายเครื่องสักการะบูชาพระพุทธรูปในพระวิหารใหญ่ และพระอุโบสถบนเกาะกลางสระบัว พร้อมทั้งได้ถวายเครื่องบวงสรวงบูชาเทวรูปพระนารายณ์ และพระพิฆเนศ ที่ “หอพระนารายณ์” เทวสถาน ศาลพระนารายณ์ ได้ถูกปรับปรุงสร้างศาลขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2511 แล้วตั้งชื่อเป็น “สถานพระนารายณ์” เป็นเทวสถานที่มีประชาชนผู้นับถือศรัทธา ไปบวงสรวงบูชาเป็นประจำ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานชุมพร(เยื้องสถานีบริการน้ำมัน ปตท.) ห่างจากสถานีรถไฟ […]

Read More

ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นหมู่บ้านซึ่งมีร้านค้าเครื่องปั้นดินเผา เรียงรายอยู่สองฟากฝั่งและมีลำน้ำมูลทอดขนานอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกหมู่บ้าน ด่านเกวียนนั้นแต่เดิมพ่อค้าจากนางรอง – บรีรัมย์ – สุรินทร์ -ขุนหาญ – ขุขันธ์ เรื่อยไปจนถึงเขมรจะเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวโคราชและมักจะพักกองคาราวานเกวียนกัน เป็นประจำจนได้ชื่อ หมู่บ้านว่า” บ้านด่านเกวียน ” และในขณะพัก พ่อค้าเหล่านั้นก็มักนำดินจากสองฟากฝั่งลำน้ำมูล มาทำภาชนะใช้สอยต่างๆ เช่น โอ่ง อ่าง ไหปลาร้า ฯลฯ โดยลอกเลียนแบบจากชนชาวข่าวซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยในพื้นที่แต่เก่าก่อนหลังจากนั้นเมื่อนำภาชนะเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาของตน และด้วยคุณภาพพิเศษ ของภาชนะทั้งในด้านสีสันความคงทนต่อการใช้งาน จึงทำให้ภาชนะด่านเกวียนเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนจนได้รับการเผยแพร่ มากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้รับความสนใจยิ่ง จนกลายเป็นสินค้าหนึ่งในการค้าขายกันในยุคอดีตจวบจนปัจจุบัน ลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนนั้นอยู่ที่ดินที่นำมาใช้ กล่าวคือดินด่านเกวียนเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดที่ขุดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำมูล ในพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า กุด หรือแม่น้ำด้วน ลักษณะเป็นลำน้ำที่คดเคี้ยว กัดเซาะตะลิ่งจนขาดและเกิดลำน้ำด้วนขึ้น ส่วนที่เป็นแนวกัดเซาะจะกลายเป็นแหล่งทับทมดิน ดินดังกล่าวนี้เป็นดินซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ ง่ายต่อการขึ้นรูปทนทานต่อการเผา ไม่บิดเบี้ยวหรือแตกหักง่าย และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือดินนี้เมื่อถูกเผาจะให้สีโดยธรรมชาติเป็นสีแดงซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากธาตุเหล็ก (Iron Oxide) หรือสนิมเหล็กที่มีอยู่จำนวนมากในเนื้อดินนั่นเอง ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์มาเป็นเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้านและจัดสวน ตลอดจนเป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ด้วยคุณสมบัติของดินด่านเกวียนเมื่อเผาออกมาแล้วมีลักษณะเป็นสีสัมฤทธิ์ ที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน นอกจากนั้นหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ได้รับเลือกจากสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว […]

Read More

สวนสุชาดา

สวนสุชาดา ตั้งอยู่เลขที่92/1 ม.18 ต.วังน้ำเขียว อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา สูดอากาศบริสุทธิ์ ที่พักสวย สะดวกสสบาย ชมสวนดอกหน้าวัวหลากสี ไร่องุ่น และผักปลอดสารพิษ ท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์ที่มีโอโซนติดอันดับโลก บนเนื้อที่กว่า 60 ไร่ ในหมู่บ้านเขาแผงม้า ตำบลวังน้ำเขียวอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา บ้านหลังเล็ก ทรงไทยประยุกต์สร้างขึ้น ริมสระน้ำขนาดใหญ่ อันใสสะอาด มองออกไปด้านซ้ายของที่พักก็พบกับเทือกเขาแผงม้าอันตระหง่านตาของอุทยานฯแห่งชาติเขาใหญ่ ส่วนด้านขวาก็มีอุทยานแห่งชาติทับลาน อันมีเทือกเขายาวสุดสายตา ได้มาสัมผัสบรรยากาศอันเป็นธรรมชาติ ความเงียบสงบอันเป็นส่วนตัว ความสะดวกสบายที่ครบวงจร ทั้ง บ้านพัก-ร้านกาแฟสด-ร้านอาหารต่างๆ หรือจะมาพักค้างคืน ทำกิจกรรมที่ต้องการได้เช่นกัน ก่อนเดินทางกลับทุกท่านสามารถแวะที่ร้านจำหน่ายของฝาก ของที่ระลึก บริเวณด้านหน้าของสวนสุชาดา ซึ่งมีสินค้าหลากหลายให้เลือกทั้งผลิตภัณฑ์จากภายในสวนสุชาดาเอง หรือโอทอป กิจกรรมที่น่าสนใจภายในสวน ชมสวนดอกหน้าวัวหลากสี สายพันธุ์ฮอลแลนด์ เช่น อะโครโปลิศ, สวีทฮารท์เชอร์รี่, ทรอปิคอล, มอนทาน่า, ซานเต้ ชมสวนองุ่นไร้เมล็ด พันธุ์แบล็คโอปอล์ ซึ่งมีผลิตผลตลอดทั้งปี ชมแปลงผักสลัดเมืองหนาว ปลูกแบบไอโดรโปนิกส์ เช่น เรดโอ๊ค, กรีนโอ๊ค, เบบี้คอส, […]

Read More

สวนเบญจมาศคุณวิภา

สวนเบญจมาศคุณวิภา ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 บ้านบุไทร ตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา อยู่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านบุไทรโฮมสเตย์ เมื่อมาถึงสามารถจอดรถได้ที่ฝั่งตรงข้ามสวน บริเวณด้านหน้ามีร้านจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ เช่นผลไม้ตามฤดูกาล ผลไม้แปรรูป ไวน์ผลไม้ และมีจำหน่ายผลิตภัณฑ์หัตถกรรมในชุมชน เช่น กระเป๋าผ้า กระเป๋าสตางค์ กล่องทิชชู เป็นต้น และยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับดอกเบญจมาศตั้งแต่เริ่มต้นการปลูก การเตรียมดิน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การดูแล ปัญหารบกวนต่าง ๆ ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวดอกเบญจมาศ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจในการปลูกเบญจมาศมากเลยทีเดียว นักท่องเที่ยวสามารถเดินเข้าไปชมความสวยงามของดอกเบญจมาศภายในสวนเบญจมาศของคุณวิภาได้ ท่านจะได้พบกับเบญจมาศมากมากยหลายสีเลยทีเดียว เรียกได้ว่าบางสีคิดไม่ถึงเลยว่าจะเป็นดอกเบญจมาศ ทั้งสีแดง สีขาว สีชมพูอมม่วง ฯลฯ และมีลักษณะดอกต่าง ๆ กันมากมายเรียกได้ว่าตื่นตาตื่นใจกันเลยทีเดียว แต่ที่สวนเบญจมาศคุณวิภาแห่งนี้ไม่ได้ปลูกไว้แต่ดอกเบญจมาศ เท่านั้น ยังมีไม้ดอกต่าง ๆ มากมายที่ไม่ค่อยเห็นทั่วไป เช่น ไข่มุกอันดามัน หรือจะเป็น “พวงหยก” ต้นไม้ที่ย้อยเป็นพวงดอกคล้าย ๆ ดอกแคที่มาทำแกงส้มรับประทานกันค่ะ แต่มีสีเขียวสวยจนสะดุดตามากค่ะเห็นว่าออกดอกยากอยู่ และยังมี “พวงชมพู” ลักษณะเป็นพวงดอกเล็ก […]

Read More

สวนลุงไกร

สวนลุงไกร ชมน้อย ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านสุขสมบูรณ์ ตำบลไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ที่สวนแห่งนี้มีผักปลอดสารพิษจำหน่ายตลอดทั้งปี ชมสวนผักสลัดและผักปลอดสารนานาชนิดบนพื้นที่กว่า 15 ไร่ เฉพาะผักสลัดมีมากถึง 6 สายพันธ์ อาทิ สลัดแก้ว สลัดคอร์ส กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค เรดลีฟ บัตเตอร์เฮด นอกจาก ผักสลัด ก็มีมะเขือเทศราชินี มะเขือเทศเนื้อ กะหล่ำปลี ข้าวโพดหวาน ฟักทอง บีทรูท ผักจากสวนลุงไกร สด สะอาด อร่อยมากค่ะ ลุงไกร ชมน้อย แห่งวังน้ำเขียว ผู้ประสบความสำเร็จบนเส้นทางเกษตรกร ใครจะนึกละว่าผักสดปลอดสารพิษสวยๆ ที่เห็นอยู่ในร้านอาหารและโรงแรมชื่อดังต่างๆ มากมายหลายแห่งจะมาจากสวนบนดินธรรมดาๆ ที่ไม่ธรรมดาของลุงไกร ชมน้อย ความแตกต่างของการทำสวนของลุงไกร ที่ไ่ม่มีใครเหมือนคือคำพูดที่ว่า “ผักของผมโตได้ด้วยเสียงเพลง” ก็ไปทีไรจะเห็นลุงไกรนั่งบรรเลงเพลงเพราะๆ ให้ผักฟัง เปิดลำโพงเสียงกำลังดีไม่ดังเกินไปไม่เบาเกินไป จากด้านหนึ่งของสวนมองดูเหมือนจะเป็นกระท่อม ท่ามกลางธรรมชาติที่ล้อมด้วยขุนเขา ผักคุณภาพดีมากมายถูกส่งจากสวนของลุงไกรไปยังสถานที่ต่างๆ มานานหลายปี “ลุงไกร ชมน้อย” นับเป็นเกษตรกรคนแรก […]

Read More

บุไทรโฮมสเตย์

บุไทรโฮมสเตย์ ตั้งอยู่เลขที่ 166 หมู่บ้านบุไทร ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ. นครราชสีมา โฮมสเตย์สัมผัสวัฒนธรรม วิถีชีวิต ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีบริการนำชม และ สัมผัสบรรยากาศ และ วิถีชีวิตเรียบง่ายในชนบท โดย รถอีแต๊ก (น้องรถอีแต๋น) เรียนรู้ อาชีพเกษตรแบบยั่งยืน เช่น เพาะเห็ดหอม ปลูก เบญจมาศเพื่อการส่งออก และ ผักเมืองหนาวปลอดสารพิษ ตกเย็นร่วมวงรับประทานอาหาร และสนทนาตามอัธยาศัย ยินดีรับกลุ่มเกษตรกร นักศึกษาดูงาน อบรม และ พักระยะยาวในราคาพิเศษ นำชมแปลงเกษตร เดินป่า ศึกษาธรรมชาติ และจัดแพ็กเกจทัวร์ บ้านบุไทรโฮมสเตย์ ที่พักแบบชนบท ที่เรียบง่าย สะดวก และ ปลอดภัย ก่อนกลับสามารถเดินชมแวะซื้อผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษกลับบ้านเป็นของฝาก ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบญจมาศสายพันธุ์ และ สีต่าง ๆ เห็ดหอมสด เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนูขาว และ เห็ดโคนญี่ปุ่น และ […]

Read More

เขาแผงม้า

เขาแผงม้า หรือเขาภูหลวง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเขาสูงชันเป็นแนวยาว เมื่อมองจากที่ไกลๆคล้ายสันคอม้า จึงเรียกว่า เขาแผงม้าเขาลูกนี้เคย ปกคลุมไปด้วยป่า มีพื้นที่กว้างขวางกว่าแสนไร่ เป็นผืนป่าเดียวกับป่าดงพญาไฟอยู่ประชิด อช.เขาใหญ่ และ อช.ทับลาน มีสัตว์ป่า อย่างวัวกระทิงจากผืนป่าดังกล่าวมาหากินอยู่เป็นประจำ ต่อมามีการบุกรุกป่าและสัมปทานไม้ของเอกชน เขาแผงม้า ที่เคยรก ครึ้มไปด้วยป่าจึงกลายเป็นเขาหัวโล้นในที่สุด ต่อมามูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ร่วมกับชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกป่าถาวร ฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนดีดังเดิม โดยเน้นความหลากหลายตามธรรมชาติของป่า ปัจจุบันเขาแผงม้าเขียวครึ้ม มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีสัตว์ป่าโดยเฉพาะฝูงกระทิงซึ่งเป็นสัตว์หายากได้กลับสู่ป่าผืนนี้อีกครั้ง บ่งบอกถึงความอุดมสมบุรณ์ของป่าเขาแผงม้าที่กลับคืนมา ที่นี่จึงเป็นที่เฝ้าดูฝูงกระทิงและสัตว์ป่านานาชนิดของนักท่องเที่ยวที่นิยมธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาล่วงผ่านเกิดการตัดถนนสายต่าง ๆ ทะลุกลางป่าเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้ชาวบ้านจากที่ต่าง ๆ อพยพเข้ามาบุกเบิก ถือครองที่ดินในบริเวณ เขาแผงม้า มากขึ้น พื้นดินจึงเสื่อมสภาพลง จากผืนป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ก็กลับกลายสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น ต้นน้ำที่เคยชุ่มฉ่ำกลับแห้งผาก ประกอบกับทุ่งหญ้าที่ขึ้นปกคลุม กลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีในหน้าแล้ง ไฟป่าโหมไหม้ทั้งกลางวันและกลางคืน จนผู้คนขนานนามว่า “ภูเขาไฟ” มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ร่วมกับชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกป่าถาวร ฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับคืนดีดังเดิม โดยเน้นความหลากหลายตามธรรมชาติของป่า ปัจจุบันเขาแผงม้าเขียวครึ้ม มีทัศนียภาพที่สวยงาม […]

Read More