Category: อุดรธานี

วัดป่าบ้านตาด

วัดป่าบ้านตาด ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บริเวณวัดนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่ป่าบนโคกเนินที่ล้อมรอบด้วยกำแพงคอนกรีต มีพื้นที่ทั้งหมดราว 163 ไร่ มีประตูเข้าออกเป็นประตูใหญ่อยู่บริเวณ ด้านหน้าของวัดการจะเข้าไปในวัดต้องขออนุญาตท่านเจ้าอาวาสเสียก่อน กำแพงล้อมรอบบริเวณ วัดนอกจากมีจุดประสงค์ที่จะให้แสดงเขตแน่นอนของวัดแล้วยังป้องกันอันตรายให้กับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของวัดอีกด้วย เพราะในบริเวณวัดมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ทั้งไก่ฟ้า ไก่ป่า นก กระรอก กระแต หมูป่า วัดบ้านตาด เป็นที่พำนักของพระอาจารย์มหาบัวญาณสัมปันโน พระอาจารย์วิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นพระที่มีปฏิปทา เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ภายในวัดนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติธรรม วัดป่าบ้านตาด เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2498 หลังจากที่ชาวบ้านบริจาคที่ดินให้เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรม พร้อมกับนิมนต์ให้ หลวงตามหาบัว มาพำนัก เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลังจากนั้น หลวงตามหาบัว จึงตกลงรับนิมนต์ชาวบ้านมาพำนักที่นี่เพื่อจะได้อยู่ดูแลโยมแม่ที่แก่ชรา พร้อมกับเริ่มสร้างและพัฒนา วัดป่าบ้านตาด และเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2513 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา และให้ชื่อว่า วัดเกษรศีลคุณ แต่ชาวบ้านจะรู้จักและเรียกกันในนาม “วัดป่าบ้านตาด” หลวงตามหาบัว ได้พัฒนาและทำให้ วัดป่าบ้านตาด กลายเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ชาวบ้านให้ความเคารพ เลื่อมใสเป็นอย่างมาก […]

Read More

วัดนาคาเทวี

วัดนาคาเทวี ตั้งอยู่ที่ตำบลนาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2454 หลวงปู่หน่อยได้นำชาวบ้านที่อพยพมาจากบ้านขาว ช่วยกันสร้างและบูรณะวัดนี้ขึ้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2502 สำหรับชื่อ วัดนาคาเทวี นั้นเล่ากันว่า มาจากการที่มีพญานาคตัวเมียซึ่งอาศัยอยู่ในปล่องกลางโบสถ์ เป็นผู้ดูแลวัด สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด เจดีย์โบราณ ซึ่งคงเหลือเพียงส่วนฐานเท่านั้น มีลักษณะเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยม จากการขุดแต่งฐานเจดีย์ดังกล่าวได้พบโบราณวัตถุหลายชนิด เช่น ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาทั้งที่มาจากแหล่งผลิตในประเทศ คือกลุ่มเตาลุ่มแม่น้ำสงคราม และที่มาจากแหล่งผลิตต่างประเทศ ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเคลือบเขียนสีน้ำเงินบนพื้นขาว ซึ่งเป็นชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22 พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานกลีบบัว ซึ่งแกนในขององค์พระเป็นดินเหนียว ด้านนอกใช้โลหะเงินและทองมาหุ้ม แล้วสลักเป็นลวดลายขององค์พระ โดยเป็นพระพุทธรูปบุเงินจำนวน 11 องค์ พระพุทธรูปบุทองจำนวน 8 องค์ รวมเป็น 19 องค์ ลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นศิลปกรรมแบบล้านช้าง สันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะมีอายุอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-23 [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 223 708 […]

Read More

วัดทิพยรัฐนิมิตร

วัดทิพยรัฐนิมิตรหรือวัดบ้านจิก ตั้งอยู่ที่ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งอยู่ที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนนเรศวรกับ ถนนทหาร บริเวณนี้คือ “คุ้มบ้านจิก” ภายในวัดร่มรื่น มีเจดีย์องค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เจดีย์นี้มีสัณฐานคล้ายทะนานที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุแต่ครั้งพุทธกาล และรูปเหมือนหลวงปู่ถิร จิตธมโม เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พร้อมเครื่องอัฐบริขารอยู่ในศาลา เมื่อท่านเดินทางเข้าประตูมาก็จะสังเกตุเห็นว่ายังมีรั้วอิฐ เตี้ยๆ กั้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง แบ่งวัดออกเป็นสองตอน ตอนนอกมีพื้นที่น้อยกว่าตอนในมาก ตอนนอกนี้เคยเป็นที่ตั้งของโบสถ์เก่าซึ่งรื้อถอนออกไปเมื่อปี พ.ศ.2533 คุ้มบ้านจิกซึ่งมีศาลเจ้าเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านนี้ ต่อมาคุณแม่ทิพย์ภรรยาพันตำรวจโทพระยงค์พลพ่ายได้ร่วมกับ ร้อยตำรวจโทขุนรัฐกิจบรรหาญ ชักชวนชาวบ้านคุ้มบ้านจิกถวายที่ดินแห่งนี้ให้เป็นที่สำนักสงฆ์เมื่อ พ.ศ.2473 และสร้าง โบสถ์ (โบสถ์เก่า) อยู่ข้างหน้าศาลเจ้าจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2479 เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ไม่ได้จัดฉลองและผูกพัทธสีมา ซึ่ง ในขณะนั้นมีพระอาจารย์โชติเป็นเจ้าอาวาส และต่อมา พ.ศ.2481 พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร เป็นเจ้าอาวาส และในปีนี้ พระอาจารย์อุ่นได้เดินทาไปธุดงค์และชักชวนพระ 30 รูป ซึ่งมีหลวงปู่ถิรรวมอยู่ด้วยจากอำเภอมุกดาหารมาอยู่ที่วัดบ้านจิก ขณะที่จำพรรษาที่วัดบ้านจิกนี้ หลวงปู่ถิรมักจะนิมิตเห็นตัวท่านเองนั่งอยู่ในโบสถ์ร้าง ซึ่งหลวงปู่ก็ ไม่ทราบว่าเป็นโบสถ์ไหน หลวงปู่จึงได้แต่คิดว่าทำไมผู้สร้างโบสถ์จึงไม่จัดงานฉลองโบสถ์ แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ร้อยตำรวจโทขุนรัฐกิจบรรหาญและคณะชาวบ้านขออนุญาตจัดงานฉลองและผูกพัทธสีมา หลวงปู่จึทราบว่าที่แท้จริงโบสถ์ร้างใน นิมิตตลอด 9 ปีก็คือโบสถ์วัดบ้านจิกที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง ต่อมาประมาณ […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจขุดค้นแหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง ระหว่างปี พ.ศ. 2517–2518 จากการศึกษาหลักฐาน ต่าง ๆ ที่พบทำให้บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุราว 1822–4600 โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้จดทะเบียนให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2535 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย ภายในพิพิธภัณฑฯ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของทางเข้า อยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นนิทรรศการถาวร ซึ่งแสดงขั้นตอนการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยังคงลักษณะของศิลปวัตถุที่พบตามชั้นดินเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาถึงการขุดค้นทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะเผาที่ฝังรวมกับศพ ส่วนที่ 2 ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้า เป็นอาคารที่จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราว และวัฒนธรรมของบ้านเชียงในอดีต ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ที่แสดงถึงเทคโนโลยีในสมัยโบราณรวมทั้งโบราณวัตถุ และนิทรรศการบ้านเชียงที่เคยจัดแสดง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้น ภายในบริเวณอาคารส่วนที่ 2 ยังมีห้องนิทรรศการ ห้องบรรยาย ฉายภาพยนตร์ ภาพนิ่ง และการให้บริการการศึกษาต่าง ๆ […]

Read More

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ตั้งอยู่อาคารราชินูทิศ (ริมหนองประจักษ์) ถนนโพศรี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 โดยดำริพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร คุณหญิง ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนในจังหวัด เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับ โรงเรียนนารีอุปถัมภ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯพระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ ว่า “ราชินูทิศ” จึงเป็นชื่อเรียกอาคารหลังนี้สืบมา อาคารราชินูทิศ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง เมื่อ พ.ศ. 2473 และเมื่อปี พ.ศ. 2503 ใช้เป็นสำนักงานโครงการพัฒนาการศึกษา ส่วนภูมิภาค จนต่อมา พ.ศ. 2516 ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานศึกษาธิการเขต เขตการศึกษา 9 และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี ตามลำดับ อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐหรือปูน รูปทรงแบบตะวันตก หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขยื่นออกมาด้านหน้า ซุ้มประตูหน้าต่างโค้ง ปัจจุบัน ได้ปรับปรุงอาคารดังกล่าวนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ […]

Read More

พระพุทธบาทหลังเต่า

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ใจกลางพระบาท สลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ไกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า ๆ จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทหลังเต่า นอกจากนี้ยังมีถ้ำและเพิงหินต่างๆตั้งกระจ่ายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง(ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่อาศัยของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านี้ได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปเรขาคณิต) และมีลายหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนหลักเสมาและหินทรายจำหลักพระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดีที่เพิงหินวัดพ่อตาและเพิงหินวัดลูกเขย [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 223 708 สำนักงานจังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 223 304 สถานีตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี โทร. (042) 222 285, (042) 328 515-9 ตำรวจท่องเที่ยวอุดรธานี โทร.(042) 221 1219, (042) […]

Read More

พระธาตุโพนทอง

พระธาตุโพนทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จ.อุดรธานี มีลักษณะเป็นรูปแปดเหลี่ยม ฐานกว้าง 8 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอดสูง 10 เมตร ที่ปลายยอดประดับด้วยแก้วสีขาว ส่องแสงเป็นประกายวาววับ เดิมเป็นที่บรรจุอัฐิพระอรหันต์ พร้อมมีการบรรจุพระพุทธรูปทองคำและเครื่องอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ข้างในมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว พระธาตุโพนทอง เป็นที่สักการบูชาของชาวขอม ในสมัยนั้น ถือเป็น “วัด” ที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีพระพุทธรูปที่โดดเด่นและสวยงามอยู่หลายองค์ มีตำนานเล่าขานว่า สมัยพุทธกาล มีพระอรหันต์ จำนวน 8 รูป เดินทางมุ่งหน้าไปกราบนมัสการอัฐิธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยัง “ภูกำพร้า” (พระธาตุพนม) อ.พระธาตุพนม จ.นครพนม หลังจากที่เดินทางกลับมา เกิดอาการอาพาธหนัก ท่านรู้ว่า ตนเองจะมรณภาพ จึงได้ปักกลดนั่งสมาธิและได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ณ บริเวณที่ก่อตั้งพระธาตุโพนทองแห่งนี้ หลังจากที่พระอรหันต์ ดับขันธปรินิพพาน ได้จัดพิธีฌาปนกิจพร้อมนำอัฐิบรรจุเอาไว้ในพระธาตุ โดยคนสมัยก่อน เคารพและศรัทธาในศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก เจ้าเมืองในแต่ละที่ จะเดินทางมาร่วมทำบุญและก่อสร้าง “องค์พระธาตุ” เพื่อบรรจุอัฐิของพระอรหันต์ที่ปรินิพพาน โดยได้นำเอาพระพุทธรูปทองคำ เครื่องทองสัมฤทธิ์ และของมีค่าต่างๆ นำมาบรรจุไว้ในพระธาตุ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างเพียง […]

Read More

วนอุทยานน้ำตกธารงาม

วนอุทยานน้ำตกธารงาม ตั้งอยู่ตำบลหนองแสง กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี  ในเขตพื้นที่ป่าขุนห้วยสามทาก ขุนห้วยกองสี มีเนื้อที่ประมาณ 78,125 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2527 ลักษณะสภาพพื้นที่ของวนอุทยานฯ เป็นภูเขาสูงชัน และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่ไหลลงสู่ห้วยสามทาก-ห้วยน้ำฆ้องตลอดปี จุดเด่นที่น่าสนใจของที่นี่นั้น ภายในวนอุทยานฯจะมีหน้าผา มีถ้ำที่สวยงาม และมีลานหิน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แหล” เป็นแหลขนาดใหญ่ เนื้อที่กว้างขวาง มีก้อนหินใหญ่ตั้งวางเรียงรายและซ้อนกันอยู่ และที่จุดนี้เองที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องล่างได้สวยงามและมองได้กว้างไกล ลักษณะทั่วไปของน้ำตกธารงาม ซึ่งภูมิประเทศแถวนี้จะเป็นภูเขาสูงชันและเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน โดยแยกตัวเป็นพืดยาวติดต่อกันออกไปทางทิศเหนือ พื้นที่มีความลาดชันสูงและค่อนข้างราบบนสันเขา มีลำธารหลายสายไหลลงสู่ห้วยสามพาด ห้วยน้ำฆ้องและห้วยกองสี เฉพาะที่ห้วยวังกุ่มเป็นป่าทึบและรกชัฏ ทิศใต้ของพื้นที่เป็นลานหินชื่อ “แหลสะอาด” ส่วนอากาศของวนอุทยานน้ำตกธารงาม แบ่งได้ 3 ฤดู คือ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นป่าดงดิบและป่าเต็ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ นนทรี มะค่าโมง มะค่าแต้ เต็งดง ยาง เต็ง รัง เป็นต้น […]

Read More

ตลาดผ้าบ้านนาข่า

ตลาดผ้าบ้านนาข่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ถูกสร้างขึ้นด้วยความร่วมมือ ร่วมใจของ เทศบาลตำบลนาข่า สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุดรธานี สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดอุดรธานี และชาวบ้านตำบลนาข่า ที่ร่วมมือ ร่วมใจกัน ผลิตผ้าชั้นดี ตลาดผ้าบ้านนาข่า เป็นการรวมกลุ่มทอผ้าซึ่งกลุ่มนี้ทอผ้าบ้านนาข่า เป็นกลุ่มที่ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว จนมีการบริหารจัดการได้ในเชิงธุรกิจ จากกลุ่มใหญ่แยกมาเป็นกลุ่มย่อย ในส่วนของอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ญาติพี่น้องแล้วจะส่งมาจำหน่ายที่ร้านของประธาน โดยจะมีเครือข่ายในสิ่งทอตามหมู่บ้านในตำบลนาข่า และหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดจนตำบลใกล้เคียง ปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าหมี่ขิดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุดรธานี บ้านนาข่าได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ และหมู่บ้าน OTOP ท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี เนื่องจากมีกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ตามแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของบ้านนาข่าและยังได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยเหมาะกับโอกาสในการใช้งานต่าง ๆ อย่างดีด้วย [adsense-2] ในปี 2534 – 2535 จังหวัดอุดรธานี ได้จัดทำโครงการทอผ้าหมี่ขิดยาวที่สุดในโลก โดยการร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มชาวบ้าน จำนวน 150 กลุ่ม ซึ่งผ้าผืนดังกล่าวมีความยาว 1199 เมตร ความกว้าง 60 เซนติเมตร วัตถุประสงค์ของการทอ เพื่อประชาสัมพันธ์คำขวัญของจังหวัดอุดรธานี “ธานีผ้าหมี่ขิด” การทอผ้าไหมลายขิด คือ การทอผ้าไหมที่ทอแบบ “เก็บขิด” […]

Read More

เที่ยว อุดรธานี

อุดรธานี “หนองประจักษ์คู่เมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมบ้านเชียง มรดกโลกห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง” เทศกาล/ประเพณี ประเพณีบุญบั้งไฟล้าน ตำนานม้าคำไหล จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ณ เทศบาลตำบลบ้านธาตุ อ.เพ็ญ งานประเพณีข้าวหลามหวานมันบ้านพันดอน จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงวันที่ 9-13 พฤศจิกายน ณ เทศบาลตำบลพันดอน อ.กุมภวาปี เทศกาลทะเลบัวแดงบาน จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ณ บริเวณหนองหาน อ.กุมภวาปี การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถเที่ยวเวลา 20:30-21:45 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6:30 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 350-700 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มี 4 ขบวน/วัน เวลา 08:20/18:35/20:00/20:45 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10-11 […]

Read More