Category: ภาคเหนือ

วัดท่าถนนน

วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหนองไม้ อำเภอหนองโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นวัดโบราณ พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดินจอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้ [adsense-2] ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหนอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน […]

Read More

วัดเจดีย์คีรีวิหาร

วัดเจดีย์คีรีวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ไทยสังกัดคณะมหานิกาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัด 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1043 เดิมมีชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1519 โดยเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์แห่งนครลับแลโบราณ ภายในวัดมีพระเจดีย์โบราณซึ่งเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งขอแบ่งมาจากพระมหาชินธาตุเจ้า (พระธาตุดอยตุง) จังหวัดเชียงราย ถือกันว่าพระเจดีย์แห่งนี้เป็นพระบรมธาตุเจดีย์แห่งแรก ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานของชาติ วัดเจดีย์คีรีวิหารเดิมชื่อวัดป่าแก้ว สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1519 ในยุคที่เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารปกครองเมืองลับแล พระองค์มีใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง มีพระราชดำริที่จะสร้างเจดีย์ เพื่อเผยแผ่บำรุงส่งเสริมเชิดชูพระพุทธศาสนา จึงเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าเรืองไทธิราช กษัตริย์แห่งโยนกนคร กราบทูลขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย อัญเชิญมาบรรจุที่เจดีย์วัดป่าแก้ว เจดีย์นี้เป็นเจดีย์แห่งแรกของอำเภอลับแลซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า ถึงวันศีลวันธรรม จะมีดวงไฟสุกสว่างลอยขึ้นเหนือเจดีย์อยู่เป็นประจำ กาลเวลาล่วงเลยมานานวัดป่าแก้วได้ทรุดโทรมลงจนกลายเป็นวัดร้าง พระเจดีย์ก็ชำรุดหักพังลงไปเพราะขาดการดูแล จนปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จประพาสภาคเหนือ มาประทับที่วัดทุ่งเอี้ยงซึ่งอยู่ห่างจากวัดป่าแก้วไม่มากนัก พระองค์ทอดพระเนตรเห็นเจดีย์เก่าอยู่ จึงตรัสถามพระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขตร เจ้าอาวาสวัดทุ่งเอี้ยง ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเมืองพิชัยว่า […]

Read More

วัดกลางธรรมสาคร

วัดกลางธรรมสาคร หรือ วัดกลาง อยู่ที่ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร วัดกลางเป็น วัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง มีพระอุโบสถที่มีลวดลายรูปปั้นสวยงาม ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีพุทธลักษณะงดงาม เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม วัดกลางธรรมสาคร ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง ฯ มีพระอุโบสถเก่าแก่อยู่ 1 หลัง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอยู่สามด้าน ลายปูนปั้นที่ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์และตัวเหรา รวมทั้งที่ซุ้มหน้าต่างประตูมีความวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง หน้าบันเป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค มีตราพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางลายเครือเถาก้านขด มีเทพนมอยู่เป็นระยะ มีรูปสัตว์สอดแทรกอยู่ตามลายเครือเถาที่เกี่ยวพันกันไปอย่างต่อเนื่อง [adsense-2] วัดกลางธรรมสาคร เดิมชื่อวัดโพธาราม สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ประมาณปี พ.ศ. 2285 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณปี พ.ศ. 2300 เคยเป็นท่าจอดเรือ เพื่อเดินเท้าไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ ต่อมาลำน้ำเปลี่ยนทางเดินจึงเลิกใช้กัน และทางน้ำเดิมกลายเป็นบุ่งน้ำหน้าวัด ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดบุ่งวัดกลาง แผนที่

Read More

อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่

อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ (ชื่อเดิม: อุทยานแห่งชาติคลองตรอน)1 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีคลองขนาดใหญ่เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตสัตว์ทั้งหลายของที่นี่ และในพื้นที่อุทยานยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น ต้นสักใหญ่ ซึ่งประกอบเป็นคำขวัญประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ น้ำตกห้วยเนียม น้ำตกกกมอนแก้ว และยังมีถ้ำ ได้แก่ ถ้ำจัน ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเสือดาว ถ้ำผาตั้ง และยังมียอดดอยที่คนทั่วไปรู้จักกันดีใน ชื่อยอดดอยภูเมี่ยง ยอดดอยที่สูงเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศไทย โดยอุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ มีพื้นโดยรวมทั้งหมด 324,240.80 ไร่ หรือ 518.80 ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 103 ของประเทศไทย ต้นสักใหญ่ เป็นต้นไม้สักที่โตที่สุดในโลกปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง] ที่ยังยืนต้นอยู่จัดที่สูงจากพื้นดิน 1.30 เมตร ลำต้นโต 9.85 เมตร (วัดเมื่อ 13 ตุลาคม 2525) สูงประมาณ 47 เมตร มีอายุซึ่งประมาณว่าไม่น้อยกว่า 1,500 ปี […]

Read More

วนอุทยานถ้ำจัน

วนอุทยานถ้ำจัน เป็นวนอุทยานขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำหมีใหญ่ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายในวนอุทยานมีถ้ำหินปูนจำนวนมากมาย โดยถ้ำขนาดใหญ่ที่สุดชื่อถ้ำจัน เป็นถ้ำที่มีลักษณะโถงใหญ่และมีขนาดปากถ้ำกว้างที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ สมัยก่อนยังมีบุคคลกลุ่มหนึ่งได้อพยพเข้ามาจากบ้านน้ำพี้ ต.น้ำพี้ อ.ตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ในครั้งนั้นยังมีเงี้ยว(ไทยใหญ่)เข้ามาตีเมืองแพร่และเอาชนะเมืองแพร่ได้ และได้เข้าไปล้อมจับเอาพระยาชัยบูรณ์ผู้ครองเมืองแพร่ นำไปสำเร็จโทษแสียแล้วเงี้ยวจึงยกทัพลงมาทางทิศใต้ตั้งฐานทัพอยู่ที่ท่าเซา (ปัจจุบันคือ ท่าเสา)โดยมีความประสงค์ที่จะเข้าตีเมืองพิชัย และเมืองพิษณุโลก โดยจะต้องตีเมืองพิชัย ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านก่อน แต่การที่จะตีเมืองพิชัย ดังนั้นจะต้องตีเมืองรี้ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือให้ได้ ก่อนเพราะหากพลาดท่าพ่ายแพ้ต่อเมืองพิชัยจะได้หนีออกเมืองรี้เมื่อฝ่ายเมืองรี้ทราบข่าวว่าทัพเงี้ยวจะเข้ามาทำศึกจึงได้เตรียมการต่อสู้กับเงี้ยวไว้เป็นอย่างดีพอทัพเงี้ยวมาถึงจึงช่วยกันระดมพลตีทัพเงี้ยว จนทัพเงี้ยวแตกกระเจิงไปอยู่ที่ห้วยทัพแตกส่วนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อยู่ในเมืองรี้ก็อพยพที่อยู่ใหม่กลัวว่าทัพเงี้ยวจะเข้ามาตีเมืองอีก จึงพากันโดยอพยพมาอยู่ที่ปากห้วยจันซึ่งเป็นที่ที่อุดมสมบูรณ์มากมีคลองตรอนไหลผ่านขึ้นกลางหมู่บ้านและมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก ต่อมาเมื่อครอบครัวเพิ่มจึงได้ตั้งเป็นบ้านน้ำหมีใหญ่ และต่อมาชาวบ้านเข้าไปแสวงหาสัตว์ป่าจึงพบถ้ำมากมายซึ่งมีลักษณะเป็นถ้ำหินงอก หินย้อย สวยงามมาก และมีต้นจันผาอยู่บริเวณถ้ำจึงพากันเรียกว่า ” ถ้ำจัน ” [adsense-2] สถานที่ท่องเที่ยวภายในวนอุทยาน 1. ถ้ำธารสวรรค์,ถ้ำวัวแดง จะมีลักษณะคล้ายกับถ้ำเสือดาวซึ่งจะมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากเช่นเดียวกัน 2. ถ้ำเสือดาว มีลักษณะเป็นโพรงมีทางเข้าได้หลายทางสลับซับซ้อน เป็นอย่างมาก มีหินงอก หินย้อย ซึ่งมีลักษณะเด่น สวยงามมากเช่นกัน 3. ถ้ำเต่า มีลักษณะภายในสวยงามมาก มีเสาหินขนาดใหญ่ และมีหินงอก หินย้อย คล้ายรูปสัตว์หลายชนิด เช่น งูจงอาง , […]

Read More

เขื่อนสิริกิติ์

เขื่อนสิริกิติ์ หรือที่เรียกกันในชื่อท้องถิ่นว่า เขื่อนท่าปลา จัดเป็นเขื่อนดินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ กั้นแม่น้ำน่าน ที่ไหลลงมาจากอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เดิมอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงาน และมอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดูแลต่อไป ทั้งนี้พื้นที่เหนือเขื่อนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ด้วย เขื่อนสิริกิติ์ เดิมเขื่อนนี้ เรียกชื่อว่า “เขื่อนผาซ่อม” ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 งานก่อสร้างตัวเขื่อนและองค์ประกอบได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2515 [adsense-2] สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจภายในเขื่อนสิริกิติ์ 1. ตำหนักเขื่อนสิริกิติ์ เป็นตำหนักรับรองของพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาแปรพระราชฐาน อยู่บริเวณจุดสูงสุดของเขื่อน เปิดให้นักท่องเที่ยวชมเฉพาะภายนอกเท่านั้น 2. หมู่บ้านเรือ […]

Read More

เที่ยว อุตรดิตถ์

อุตรดิตถ์ “เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ๋ของโลก “ เทศกาล/ประเพณี งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด จัดเป็นประจำทุกปีระหว่างวันที่ 7-16 มกราคม บริเวณสนามกีฬาพระยาพิชัยดาบหัก หน้าศาลากลางจังหวัด งานนมัสการหลวงพ่อโตและมหกรรมของดีเมืองพิชัย จัดเป็นประจำทุกปีระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ บริเวณวัดพระธาตุ อ.พิชัย งานนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ พระพุทธบาทยุคลและพระนอนพุทธไสยาสน์ จัดเป็นประจำทุกปีในเดือน กุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 8-15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) ณ วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล และวัดพระนอนพุทธไสยาสน์ อ.ลับแล การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถเที่ยวเวลา 08:10-21:30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 312-599 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพง มี 8 ขบวน/วัน เวลา 07:00/08:30/10:50/12:45/19:35/19:50/20:10/22:00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง […]

Read More

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง) ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้รับการประกาศคุ้มครองครั้งแรกตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 92 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 โครงการฟื้นฟูอุทยานแห่งนี้ก็ได้รับการอนุมัติ และเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534] องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ที่กำแพงเพชรและศรีสัชนาลัยภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” […]

Read More

ศาลพระแม่ย่า

ศาลพระแม่ย่า ตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถนนนิกรบำรุง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองสุโขทัย เพราะศาลนี้เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระแม่ย่าและดวงวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช รูปพระแม่ย่านี้ทำด้วยศิลาสลักแบบเทวรูป พระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม พระเกตุมาลายาวประดับเครื่องทรงแบบนางพญาสูง 1 เมตร พระแม่ย่าองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระมารดาคือ นางเสือง การที่เรียกว่า “พระแม่ย่า” นี้เพราะว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเรียกพระมารดาว่า “พระแม่” และชาวเมืองสุโขทัยเคารพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสมอด้วยบิดา ดังนั้น จึงรวมเรียกพระมารดาของพระองค์ว่า “พระแม่ย่า” แต่เดิมพระแม่ย่าประดิษฐานอยู่บนยอดเขา มีเพิงหินเป็นผาป้องกันแดดฝน ต่อมาชาวสุโขทัยได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่เมืองใหม่ โดยสร้างศาลาขึ้นหน้าศาลากลางจังหวัดริมแม่น้ำยม ดังเช่นปัจจุบัน และมีการจัดงานเฉลิมฉลองทุกปีในเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า “งานพระแม่ย่า” [adsense-2] แต่เดิมศาลพระแม่ย่าประดิษฐานห่างจากตัวเมืองสุโขทัยไปทางจังหวัดกำแพงเพชรประมาณ 7 กิโลเมตร เมื่อถึงช่วงสงกรานต์ปีประเพณีแห่แหนพระแม่ย่า เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล และที่แปลกคือทุกครั้งที่แหแหนพระแม่ย่าจะมีฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ ในปีพ.ศ. 2496 นายเชื่อม ศิริสนธิ ผู้ว่าราชการจังหวัดเกรงว่า ถ้าแห่แหนบ่อยๆ อาจทำให้ตกหล่นเสียหายได้ จึงสร้างองค์จำลองไว้ที่ถ้ำพระแม่ย่า และอัญเชิญองค์จริงมาไว้ที่ศาลากลางจังหวัด โดยสร้างเทวาลัยที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลพระแม่ย่า” และต่อมา พ.ศ. 2537 สมัยนายเกียรติพันธ์ น้อยมณี ผู้ว่าราชการจังหวัด […]

Read More

วัดโสภาราม

วัดโสภาราม ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างพระสุโขทัยองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ต.สามเรือน  อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย อยู่ติดถนนจรดวิถีถ่อง ตรงกิโลเมตรที่ 2 จากอำเภอศรีสำโรง นามเดิมชื่อว่า วัดโรงญวน หมู่ที่ 7 ต.สามเรือน อ.ศรีสำโรง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 1 งาน 64.50 ตารางวา วัดนี้ได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2360 เดิมเรียกว่า “วัดลำญวน” ตามชื่อของหมู่บ้านลได้เปลี่ยนเป็น “วัดโสภาราม” ในภายหลังได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตามทะเบียนระบุ พ.ศ.2370 ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างวัดนี้ เพราะเดิมเป็นที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินของคนญวนที่อพยพมาอาศัยแล้วตั้งวัดขึ้นมา เมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว ดังหลักฐาน อุโบสถวิหาร – เจดีย์ -พระพุทธรูปเก่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวมานี้มีเพียงรากฐานปรากฏอยู่เท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ เป็นวัดโสภาราม [adsense-2] วัดโสภารามได้ทำการบูรณะมาหลายครั้ง และยังตั้งหลักฐานไม่ได้จนมาถึงปี 2520 โดยมีพระครูสุทธิธรรมานุรักษ์ เจ้าอาวาสวัดโสภารามได้ทำการชักชวนชาวบ้านให้ร่วมมือกันก่อสร้างวัดขึ้นมาใหม่และจัดสร้างอุโบสถ-ศาลาอบรมธรรมพระสุโขทัยองค์ใหญ่จนถึงปี 2541 พระมนูญก็ได้มารับตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสแทนจนถึงปี […]

Read More