Category: พะเยา

อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง

อนุสาวรีย์พญางำเมือง อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว (พะเยา) ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะ เทศบาลหน้ากว๊านพะเยา เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 เสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2527 พญางำเมืองเป็นพระสหายร่วมน้ำสาบาน กับ พญามังรายอดีต กษัตริย์เมืองเชียงราย และพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งทั้งสามกษัตริย์ได้ทรงกระทำสัตย์ต่อกัน ณ บริเวณแม่น้ำอิง ซึ่งปัจจุบันอยู่บริเวณกว๊านพะเยา พ่อขุนงำเมือง เป็นกษัตริย์เมืองพะเยาองค์ที่ 9 นับจากพ่อขุนจอมธรรม ประสูติเมื่อพุทธศักราช 1781 เป็นราชบุตรของพ่อขุนมิ่งเมือง สืบเชื้อสายมาจากท้าวจอมผาเรือง เมื่อพระชนมายุ 14 ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาเล่าเรียนศิลปะศาสตร์เทพในสำนักเทพอิสิตนอยู่ภูเขาดอยด้วน 2 ปี จึงจบการศึกษา เมื่อพระชนมายุได้ 16 ปี พระราชบิดาส่งไปศึกษาต่อ ขอถวายตัวอยู่ในสำนักสุกันตฤาษี ณ กรุงละโว้ (ลพบุรี) จึงได้รู้จักคุ้นเคยกับ พระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย สนิทสนมผูกไมตรีต่อกันอย่างแน่นแฟ้น ศึกษาศิลปศาสตร์ร่วมครูอาจารย์เดียวกันเป็นสหายกันตั้งแต่นั้นมา ทรงเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วงเจ้า เมื่อเรียนจบก็เสด็จกลับเมืองพะเยา ปีพุทธศักราช 1310 พระราชบิดาสิ้นพระชนม์ จึงครองราชย์สืบแทน ตำนานกล่าวถึงพ่อขุนงำเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า […]

Read More

วัดหลวงราชสัณฐาน

วัดหลวงราชสัณฐาน ตั้งอยู่ในตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาเจ้าหลวงวงศ์ร่วมกับชาวบ้านได้บูรณะปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2347 ชาวบ้านเรียกว่า วัดหลวง เนื่องจากเป็นวัดที่เจ้าหลวงวงศ์ซึ่งครองเมืองพะเยาเป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์นั่นเอง ต่อมาได้มีประชาชนมาประกอบพิธีทางศาสนาและได้ชื่อว่าวัดหลวงราชสัณฐาน วิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนาที่สวยงามแห่งหนึ่งมีอายุกว่าร้อยปี ด้านทิศตะวันออกที่เสาประตูทั้งสองข้าง มีรูปปั้นสิงห์เฝ้าประตูข้างละตัว เดินเหยียบย่างตรงขึ้นบันไดนาค ทางเข้าสู่ประตูวิหารมีสิงห์ปั้นด้วยปูนที่ข้างประตูอีกด้านละตัว ภายในวิหารเป็นโถงใหญ่ ภายในเป็นที่ตั้งพระประธานและพระพุทธรูปอีก 4 องค์ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่อยู่ภายในเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวยางไม้ เขียนลงบนกระดาษสา ผ้าแปะอยู่บนผนังไม้เป็นเรื่องมหาชาติชาดกและพุทธประวัติในปี 2527 เกิดพายุฝนทำให้วิหารพังทลายลงมาทั้งหมด [adsense-2] ต่อมาเมื่อสร้างวิหารหลังใหม่บนฐานเดิมและคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมไว้ ทางวัดได้นำภาพจิตรกรรมของเดิมมาติดตั้ง ประกอบเข้ากับวิหารหลังใหม่ เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวน่าแวะไปชมอย่างยิ่ง พระเจดีย์ เป็นทรงพื้นเมืองล้านนา ประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยมสามชั้น ต่อด้วยบัวหงาย มีเรือนธาตุถัดขึ้นไป เป็นบัวคว่ำบัวหงาย ต่อด้วยฐานเขียงรูปทรงกลมสามชั้น ต่อด้วยมาลัยเถา รูปทรงกลม ถัดขึ้นเป็นคอระฆังกลม องค์ระฆังรูป 8 เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ 8 เหลี่ยม ปล้องไฉนเป็นปูนปั้นรูปกลีบบัว 2 ชั้นและปลียอด ติดต่อสอบถาม วัดหลวงราชสัณฐาน ต.เวียง  อ.เมือง  พะเยา 56000 […]

Read More

วัดแสนเมืองมา

วัดแสนเมืองมา ที่มาชองชื่อวัดนี้มาจากชื่อหมู่บ้านมางในสิบสองปันนา ประเทศจีน วัดสร้างตามแบบศิลปะไทลื้อ ป้ายต่างๆในบริเวณวัดมีทั้งภาษาไทยและภาษาจีน เนื่องจากมีชาวไทลื้อเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างไทยกับสิบสองปันนา สัณนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ หลังคามุงแป้นเกล็ดไม้งดงามมาก เป็นศิลปะไทลื้อ หน้าบันเป็นไม้แกะสลักรูปเทพนม บนพื้นสลักลายสวยงาม บันไดทางเข้าเป็นรูปพญานาค ประตูด้านข้างทางเข้ามีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตู ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารเป็นฝีมือของช่างพื้นบ้าน บอกเล่าถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อ การบวชพระ การทำบุญ การเล่นน้ำสงกรานต์ วิถีชีวิตในชนบทและประเพณีต่างๆ นอกจากนี้ยังมีธง (ตุง) แขวนไว้ ตามความเชื่อว่าเป็นการอุทิศให้กับผู้ล่วงลับเพื่อเป็นบันไดขึ้นสู่สรวงสวรรค์ [adsense-2] ชาวไทลื้อมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในสิบสองปันนา มีการไปมาหาสู่กับชาวล้านนามาอย่างยาวนาน วัฒนธรรมและภาษาใกล้เคียงกัน ชาวไทลื้อมักอาศัยอยู่ริมแม่น้ำในเขตภาคเหนือ ได้แก่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และพะเยา ที่อำเภอเชียงคำ และ อำเภออื่นๆ มีการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อขึ้นที่วัดหย่วน อยู่ห่างจากวัดแสนเมืองมาไปทางเหนือประมาณ ๕๐๐ เมตร ภายในศูนย์วัฒนธรรมมีการจัดแสดงความเป็นมาของชาวไทลื้ออย่างละเอียดครบถ้วน วัดแสนเมืองมาตั้งอยู่ที่บ้านมาง ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำไกล้กับสถานีขนส่งเชียงคำ เป็นวัดหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อเดินทางมาถึงเชียงคำแห่งนี้ การเดินทาง รถยนต์ เดินทางตามถนนสายพะเยา-เชียงคำ ผ่านอำเภอดอกคำไต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ วัดแสนเมืองมาอยู่ไกล้สถานีขนส่ง ในตลาดอำเภอเชียงคำ (บขส.เชียงคำ) […]

Read More

วัดศรีอุโมงค์คำ

วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง เพราะตั้งอยู่ในที่ราบสูงทั้งเจดีย์และพระอุโบสถยังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงอีก ดังนั้นจึงทำให้วัดนี้สูงสง่างาม ประตูทางเข้า เป็นซุ้มประตูไม้แกะสลักใช้แป้นเก็จเป็นแผ่นปูทำหลังคา กำแพงก่ออิฐทำเหมือนกำแพงเมืองเก่าไม่มีการฉาบปูน สีอิฐไหม้ทำให้นึกถึงกำแพงโบราณ เข้าไปด้านหน้าประตูจะต้องขึ้นบันไดสองชั้นเข้าไปสู่พระอุโบสถ หน้าบันเป็นลายไทยปูนปั้นติดกระจกพื้นสีเขียวทำให้แปลกตาไปอีกแบบหนึ่งใบระกามีชั้นเดียวแต่มีมุขซ้อนกันสามชั้น ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมากในล้านนา คือพระเจ้าล้านตื้อหรือพระเจ้าแสนแซ่ พระเจ้าล้านตื้อเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นจากการคำนวณน้ำหนักของพระพุทธรูปองค์นี้ว่า มีน้ำหนักเป็นล้าน ๆๆ ซึ่งคำว่า ตื้อ เป็นจำนวนนับทางล้านนาหรือทางเหนือ เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ และ ตื้อ ส่วนที่เรียกพระประธานองค์นี้ว่า พระเจ้าแสนแซ่ เพราะการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มาประกอบเข้าด้วยกัน โดยมีสลัก ชาวเหนือเรียกว่า แซ่ เป็นตัวประสานเชื่อมกัน จึงเรียกว่า พระเจ้าแสนแซ่ นอกจากพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดในล้านนาที่ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดศรีอุโมงค์คำแห่งนี้ก็ยังพบพระพุทธรูปหินทรายโบราณอีกมากมายที่ได้เก็บรักษาลงรักปิดทองไว้ โดยเฉพาะพระพุทธรูปพระเจ้าแข้งคม แข้ง คือ มีหน้าแข้งเป็นเหลี่ยม ซึ่งพระพุทธรูปแบบนี้ในเมืองพะเยามีไม่มากนัก และที่มีชื่อเสียงคล้ายกับพระเจ้าแข้งคมเมืองพะเยา คือพระเจ้าแข้งคมวัดศรีเกิดเชียงใหม่นั่นก็แสดงว่า พระเจ้าแข้งคมวัดศรีเกิดกับพระเจ้าแข้งคมวัดศรีอุโมงค์คำคงมีความเกี่ยวพันกันทาง ด้านศิลปะพอสมควร […]

Read More

วัดศรีจอมเรือง

วัดศรีจอมเรือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔ ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ หมู่ที่ ๒ ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดศรีจอมเรืองหรือชาวบ้านเรียกกันว่า วัดจองคำ เป็นของชุมชนไทยใหญ่ (เงี้ยว) ทั้งวิหารและกุฏิของพระสงฆ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ ประตูโขงของวัดเป็นศิลปะไทยใหญ่ เข้าไปภายในวัดมีศาลาการเปรียญหนึ่งหลังและมีอนุสาวรีย์เจ้าแม่กวนอิมเป็นที่บูชา ที่สำคัญ คือวิหารและพระอุโบสถเป็นหลังเดียวกัน ภายในมีพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ลงรักปิดทองภายในวิหารติดกระจกเล็กๆลวดลายสวยงาม ด้านหลังอุโบสถ ก็จะเป็นเจดีย์ศิลปะใหญ่ มีซุ้มจรนำทั้งสี่ด้าน ฐานกว้างยาวราวสัก ๒๐ เมตร ประวัติของวัดเขียนไว้ พ.ศ. ๒๔๔๒ เมืองพะเยาได้เกิดการจลาจลเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองหัวเมืองในสมัยรัชการที่ ๕ ชาวพะเยาได้พากันหนีไปอยู่เมืองลำปาง หลังจากนั้น ประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๗ จึงพากันกลับมาบูรณะบ้านเมืองดังเดิม พวกไทยใหญ่ที่มาด้วยครั้งนั้น ได้มาปฏิสังขรณ์วัดของตนเอง คือ วัดจองคำ ขึ้นมาใหม่ โดยมีจองมูกร๊ง จองส่งคำ จองส่งอ่อง จองกู่ ลุงลายคำ ลุงมา เป็นประธาน แล้วไปนิมนต์พระพม่าจากลำปาง นับแต่นั้นก็จะมีพระสายพม่า มหานิกายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดจองคำตลอด ทำให้วัดนี้ได้กลายเป็นวัดไทยศิลปะพม่า และไทยใหญ่ ในท่ามกลางของชุมชนไทยใหญ่ที่มีวิถีชีวิตโดดเด่นเป็นของตนเอง […]

Read More

วัดศรีโคมคำ

วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา”วัดศรีโคมคำ”เป็นชื่อทีใช้ทางราชการแต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังคงเรียกตามชื่อเดิมว่า วัดพระเจ้าตนหลวงหรือวัดทุ่งเอี้ยงเนื่องจากมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด ที่มีประวัติความเป็นปรากฎ ตามตำนานเกี่ยวข้องกับการเสด็จ มาของพระพุทธเจ้ารวมถึงการแสดง พุทธทำนายเกี่ยวกับการสร้างพระเจ้าตนหลวง ในบริเวณที่เป็นหนองเอี้ยง สันนิษฐานว่าวัดศรีโคมคำสร้างราว พ.ศ. 2067 ภายหลังจากที่มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบันเรียกติดปากกันว่า”พระเจ้าตนหลวง”สำหรับพระเจ้าตนหลวงองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 14×16 เมตร ปัจจุบันประดิษฐานเป็น พระประธานในวิหารหลวงสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปีพ.ศ. 2034 ในสมัยพระยาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา(สมัยพระยอดเชียงรายกษัตริย์ลำดับที่ 13 แห่งราชวงค์มังรายของเชียงใหม่) ต่อมาในสมัยพระยาอุปราชเจ้าบุรีย์รัตน์ได้ทำการก่อสร้างพระวิหาร,เสนาสนะต่างๆและลำดับต่อมาก็ได้ตั้งเป็น วัดขึ้นในสมัยของพระยาตู้ ครองเมืองพะเยา ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง [adsense-2] “พระเจ้าตนหลวง” หรือ “พระเจ้าองค์หลวง” มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในช่วงเดือนหกของทุกปี ประมาณเดือนพฤษภาคม ตรงกับวันวิสาขบูชา จะมี งานนมัสการพระเจ้าตนหลวง หรือ เทศกาล “แปดเป็ง”จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อครั้งสมัยที่ยุคทองทางพระพุทธศาสนาของล้านนา ประชาชนจึงเชื่อว่าพระเจ้าตนหลวง คือ ตัวแทนของพระพุทธเจ้าใครที่ได้มากราบสักการะแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลอยู่ดีมีสุขตลอดไป การเดินทาง รถยนต์ […]

Read More

วัดราชคฤห์

วัดราชคฤห์ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวัดใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง มีบรรยากาศสงบร่มรื่น ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์องค์ไม่ใหญ่นักแต่งามน่าแวะเที่ยวชม ความโดดเด่น คือ ซุ้มประตูโขงและเจดีย์อันงดงาม ซุ้มประตูโขงเป็นซุ้มประตูทางเดินเข้าสู่วัด ประดับด้วยปูนปั้น นางฟ้าเทวดา พญานาค และดอกไม้ ลวดลายโดดเด่นสะดุดตา ยอดซุ้มประตูเป็นรูปพรหมสี่หน้า เจดีย์อยู่ด้านหลังโบสถ์ เป็นทรงแปดเหลี่ยมย่อมุม สูงประมาณ ๒๐ เมตร องค์เจดีย์มีซุ้มจระนำและเจดีย์บริวารทั้งสี่ทิศตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ลานประทักษิณรอบเจดีย์กว้างด้านละ ๑.๕๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ประตูทางเข้ามีสี่ด้าน มีรูปปั้นสิงห์คู่เฝ้าประตูทุกด้าน นับเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนาที่สวยงามของเมืองพะเยา [adsense-2] แผนที่วัดราชคฤห์

Read More

วัดพระนั่งดิน

วัดพระนั่งดิน เป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้านั่งดิน ตั้งอยู่ที่ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เหตุที่บอกว่าแปลกนั้นเห็นจะเป็นเพราะองค์พระประธานของวัดไม่มีฐานรองรับเหมือนกับพระประธานองค์อื่นๆ แต่ได้ประดิษฐานอยู่บนพื้นดิน และนั่นจึงเป็นที่มาของชื่อ “พระเจ้านั่งดิน” ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระยาครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน)เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหาร จนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเตเวียงพุทธรสะ(อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ(พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสจบก็ปรากฎว่าได้มีพระอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคหนึ่งตน ฤษี 2 องค์ และพระอรหันต์ 4 รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา 1 เดือน กับอีก 7 วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ แล้วพระพุทธองค์จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองให้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า “พระเจ้านั่งดิน” ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธรูปนี้สร้างตั้งแต่ครั้งสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ดังนั้นพระเจ้านั่งดินน่าจะมีอายุกว่า 2,500 ปี ในการสร้างพระพุทธรูปนี้ […]

Read More

วัดพระธาตุสบแวน

ที่วัดพระธาตุสบแวน มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง มีบ้านชาวไทลื้อ มีต้นจามจุรีขนาดใหญ่อายุกว่า ๑๐๐ ปี มีเจดีย์อายุเก่าแก่กว่า ๘๐๐ ปี บ้านชาวไทลื้อที่ตั้งอยู่ภายในวัดมีศูนย์หัตถกรรมทอผ้า จากผู้หญิงสูงอายุในหมู่บ้าน มีงานหัตถกรรมจากผ้าฝ้าย มีให้ซื้อขายและได้ชมวิธีการทอผ้า และสามารถเข้าชมเรือนไทลื้อ เพื่อรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อได้อย่างละเอียด บริเวณโรงเรียนด้านหน้าของวัดมีต้นจามจุรีขนาดใหญ่ อายุกว่าร้อยปี ว่ากันว่าเป็นต้นจามจุรีที่สวยที่สุดในประเทศไทย มีความสูง ๑๗ เมตร เส้นรอบวงลำต้นมีขนาด ๕.๗๕ เมตร แผ่กิ่งก้านออกไปรอบทิศทาง เส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มประมาณ ๔๓ เมตร นับว่าใหญ่มากและสวยงาม ที่ตั้งของวัดพระธาตุสบแวน จากเชียงคำให้ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๑ ไปทางแยกแช่แห้ง ผ่านโรงเรียนคุณากรวิทยา ผ่านร้านอาหารเพชรไปประมาณ ๓๐๐ เมตร พบทางแยกเข้าวัดทางขวา เลี้ยวเข้าไปประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดอยู่ทางซ้ายมือติดกับโรงเรียนอนุบาลเชียงคำ [adsense-2] พระธาตุสบแวน อยู่ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์เก่าแก่อายุมากกว่า 800 ปี ภายในบรรจุเส้นเกศาและกระดูกส่วนคางของพระพุทธเจ้า องค์พระธาตุได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง พระธาตุเป็นเจดีย์ศิลปะล้านนา ฐานสี่เหลี่ยม องค์เจดีย์ไม่ใหญ่นัก ทาสีขาว องค์ระฆังเป็นสีทอง ส่วนยอดมีฉัตรทอง มีกำแพงแก้วล้อมรอบ […]

Read More

วัดพระธาตุดอยหยวก

วัดพระธาตุดอยหยวก อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่บนเนินเขา บรรยากาศร่มรื่นเงียบสงบ เป็นวัดสำคัญของอำเภอปง พระธาตุมีลักษณะงดงามมาก เป็นศิลปะเฉพาะของพะเยา เจดีย์สีทอง มีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสี่ทิศ ประดับกระจกสีตามซุ้มและฐานองค์ระฆัง ส่วนยอดเป็นฉัตรทองที่มุมทั้งสี่มีเจดีย์บริวาร วิหาร เป็นทรงล้านนา หลังไม่ใหญ่แต่งดงามมีเสน่ห์ เป็นศิลปะแบบทางเหนือ หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด หน้าบรรณแกะสลักเป็นลายพรรณพฤกษาและดอกแก้ว ใบระกามีสีทอง หางหงส์เป็นไม้แกะสลักรูปพญานาคสีเขียว เชิงเทินเป็นไม้แกะสลักรูป 12 นักษัตรและรูปช้าง ตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จมายังดอยภูเติม พญานาคที่รักษาดอยนี้คิดว่าพระองค์เป็นพญาครุฑ จึงแทรกกายหนี ครั้นได้ฟังธรรมจากพระองค์ พญานาคก็เกิดความเลื่อมใส พระพุทธองค์จึงมอบพระเกศาให้ และตรัสกับพระอานนท์ว่า เมื่อพระตถาคตนิพพานแล้ว ให้นำกระดูกริมตาขวามาไว้รวมกับพระเกศานั้น กาลข้างหน้าจะมีชื่อว่าพระธาตุภูเติม จึงมีการสร้างพระธาตุและบรรจุพระเกศาธาตุและพระบรมสารีริกธาตุที่เป็นกระดูกตาขวาไว้ภายใน ต่อมาเรียกภายหลังว่า พระธาตุดอยหยวก [adsense-2] การเดินทาง รถยนต์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1091 ไปทางอ.ปง ผ่านตัวอำเภอไปประมาณ 4.5 กิโลเมตร วัดอยู่ทางขวามือ ริมทางหลวง จากอำเภอเชียงม่วนมุ่งหน้าสู่อำเภอปง ระยะทาง 30 กิโลเมตรถึงวัดพระธาตุดอยหยวก ใช้ทางหลวงหมายเลข 1091 ก่อนถึงอำเภอปง 4.5 กิโลเมตร […]

Read More