Category: เที่ยวในประเทศไทย

หมู่บ้านแหล่งทำกลอง

หมู่บ้านแหล่งทำกลอง ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านแพ ตำบลเอกราช อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง แหล่งผลิตกลองที่มีคุณภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กลองดีของไทยที่ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่นี่เป็นแหล่งผลิตกลองส่งขายต่างประเทศ เช่นเกาหลี ญี่ปุ่น จีน บ้างก็รับซ่อมกลองจากต่างประเทศ ตลอดสองข้างทางจะเห็นร้านขายกลองเป็นระยะๆชาวบ้านที่นี่เริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 เมื่อได้เข้ามาสัมผัสถึงมรดกล้ำค่าภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างใกล้ชิดจะเห็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะเหล่านี้ไว้ โดยจะได้เรียนรู้กรรมวิธีการทำกลองแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ที่สำคัญมีกลองรูปทรงขนาดใหญ่ยาวที่สุดในโลกตั้งอยู้หน้าบ้านกำนันหงษ์ฟ้า หยดย้อย กลองกว้าง 36 นิ้ว 92 เซนติเมตร ยาว 7.6 เมตร ทำจากไม่จามจุรีต่อกัน6ท่อน สร้างปี 2537 ใช้เวลาสร้างประมาณ 1 ปี พร้อมด้วยกลองขนาดเล็กซึ่งเป็นของฝากคุณภาพดีราคาย่อยเยา ที่สามารถซื้อไปเป็นของฝากได้อีกด้วย ชาวบ้านแพเริ่มผลิตกลองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2470 โดยจะเริ่มหลังฤดูเก็บเกี่ยว วัตถุดิบที่ใช้ได้แก่ไม้ฉำฉาเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายกับหนังวัว นอกจากคุณภาพที่ประณีตสวยงามแล้วยังมีหลายขนาดให้เลือกอีกด้วย โดยเฉพาะกลองขนาดจิ๋วจะเป็นที่นิยมหาซื้อไว้เป็นของที่ระลึกซึ่งขายดีมากค่ะ [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักงานจังหวัดอ่างทอง โทร. (035) 611 235 , (035) 620 130 ประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง โทร. (035) […]

Read More

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ

ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านบางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่บริเวณวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อ บ้านวัดตาล ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็น บ้านบางเสด็จ ศูนย์ตุ๊กตาชาววังที่บ้านบางเสด็จเป็นโครงการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ราษฎร ภายในหมู่บ้านบางเสด็จนี้ นอกจากจะได้ชมทัศนียภาพอันร่มรื่นและสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วยังสามารถชมการปั้นตุ๊กตาชาววังที่สวยงามจากบ้านเรือนราษฎรละแวกนั้นได้อย่างเป็นกันเอง มีการรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ ซึ่งจะจัดให้สมาชิกมาสาธิตการปั้นตุ๊กตาชาววังพร้อมกับจัดจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา ตุ๊กตาชาววังทำจากดินเหนียวแสดงให้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและ วัฒนธรรมประเพณีไทยต่าง ๆ เช่น การละเล่นของเด็กไทย วงมโหรีปี่พาทย์ สุภาษิตคำพังเพยไทย หรือรูปผลไม้ไทยหลากหลายชนิดซึ่งล้วนมีความสวยงามน่ารักและเหมาะที่จะซื้อเป็นของฝากหรือของที่ระลึกเป็นอย่างยิ่ง ประวัติความเป็นมา อ่างทอง เป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงหน้าฝนมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ประชาชนมีความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก แต่เดิมพื้นที่ในแถบนี้มีอาชีพทำอิฐและเหลาไม้ก้านธูป เมื่อยามที่ฝนตกน้ำท่วมไม่สามารถเผาอิฐหรือตากธูปได้ ทำให้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องการทำมาหากินช่วงหน้าฝน ในปี พ.ศ. 2519 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร ที่ตำบลบางเสด็จ ทรงมีพระดำริว่า น่าจะมีอาชีพเสริมอย่างอื่น โดยทรงคำนึงว่า ชาวบ้านมีทรัพยากรธรรมชาติที่พร้อมอยู่แล้ว คือ ดินเหนียวที่ใช้ทำอิฐ ประกอบกับทรงระลึกถึงตุ๊กตาไทยที่เรียกว่าตุ๊กตาชาววังนั้นหาดูได้ยากเกือบจะสูญสิ้นไปหมดแล้ว หากจะฟื้นฟูขึ้น ก็น่าจะช่วยสืบสานศิลปหัตถกรรมไทยแบบโบราณของไทยได้อีกอย่างหนึ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ส่งอาจารย์จุลทัศน์ […]

Read More

วัดสี่ร้อย

วัดสี่ร้อย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ชื่อตำบลสี่ร้อยและชื่อวัดเป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ขุนรองปลัดชู และชาวบ้านวิเศษชัยชาญ 400 คน ที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เมืองกุย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ 2302 วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ นามว่า “หลวงพ่อโต” หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อร้องไห้” เมื่อปี พ.ศ 2530 มีข่าวใหญ่ว่าหลวงพ่อวัดสี่ร้อยมีโลหิตไหลออกมาจากพระนาสิก ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปทั้งชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงต่างหาโอกาสมานมัสการ “หลวงพ่อร้องไห้” นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถวัดนี้เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอยุธยา ที่มีความงดงามมาก ปัจจุบันภาพลบเลือนไปหมดแล้ว ประวัติท่านขุนรองปลัดชู กองอาทมาต และวัดสี่ร้อย วัดสี่ร้อย ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระละมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “ กองอาทมาต […]

Read More

วัดม่วงคัน

วัดม่วงคัน ตั้งอยู่ที่บ้านม่วงคัน หมู่ที่ 9 ตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ที่วัดแห่งนี้มีพระเกจิอาจารย์ดังที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือ คือพระครูสิริบุญเขต (หลวงพ่อมี จิตฺตธโม) พระเกจิอาจารย์ขมังเวทย์เข้มขลังอยู่ยงคงกระพันชาตรี และมหาอุด ทำน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลโชคลาภ ทำผงพุทธคุณมนต์พระสังข์ เมตตามหานิยม ซื้อง่ายขายคล่อง มีสมาธิจิตแก่กล้า ไม่ยึดติด ละแล้วซึ่งโลภ โกธร หลงและโทสะ โมหะทั้งปวง บริสุทธิ์ผ่องแผ้วทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นศิษย์ผู้สืบทอดไสยเวทย์พุทธาคม สายหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จากหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว สืบสายวิชาจากหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และสืบทอดวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี และเรียนวิชาไสยเวทย์ตามตำราไสยเวทย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโด จ.อยุธยา ที่มีอยู่ในวัดม่วงคันของอดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงคัน ชาติภูมิ หลวงพ่อมี จิตฺตธโม มีนามเดิมว่า บุญมี ขอผึ้ง ถือกำเนิดวันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2470 เป็นบุตรคนที่ 1 ในจำนวนพี่น้อง 6 คนด้วยกันคือ 1.หลวงพ่อมี […]

Read More

วัดม่วง

วัดม่วง ตั้งอยู่ หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง หากได้มาเที่ยวที่จังหวัดอ่างทอง แล้ว ไม่ได้แวะเวียนไปที่อำเภอวิเศษชัยชาญ เพื่อสักการะ “หลวงพ่อใหญ่” ที่ “วัดม่วง” อาจ พูดได้ไม่เต็มปากว่าได้มาเยือนอ่างทองแล้ว เพราะที่แห่งนี้จัดได้ว่าเป็นแลนด์มากร์กที่สำคัญของจังหวัดเลยทีเดียวค่ะ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดภายในวัดก็เห็นจะเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ผู้คนแวะเวียนมาสักการะบูชากันอย่างไม่ขาดสายค่ะ ประวัติความเป็นมาของวัดม่วง เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ […]

Read More

วัดปราสาท

วัดปราสาท ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 บ้านปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2245 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานได้จากใบเสมาและพระพุทธรูป พระประธาน ซึ่งเป็นของเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากคำบอกเล่าของผู้รู้บางท่านเล่าว่า วัดปราสาทเดิมเป็นที่ตั้งพลับพลาของกษัตริย์ เมื่อคราวยกทัพมาพักเพื่อต่อต้านข้าศึก วัดปราสาท เดิมชื่อวัดปราสาททอง สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปราสาททอง เคยเสด็จมาพักแรม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพ.ศ.2240 วัดปราสาท มีวิหารเก่า และปราสาทเป็นเอกลักษณ์ของวัด เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานรูปโค้งสำเภา ส่วนพระปรางค์ใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ 3-4 ฝีมือช่างท้องถิ่น จิตรกรรมวัดปราสาท ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ยังคงอิทธิพลช่างอยุธยา ภาพเขียนหลังพระประธานเป็นสระใน หิมพานต์และสัตว์ประจำทิศ ส่วนผนังทั้งสองข้างเป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือฐานบัวมีพุทธสาวกยืนถวายอัญชลีอยู่สองข้าง ท้ายวัดมีดงยางขนาดใหญ่อายุร่วมร้อยปี รักษาการเจ้าอาวาส พระครูวินัยธร ปริญญา ฉายา อาสโภ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด อุโบสถ กว้าง 8.10 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2250 ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 […]

Read More

วัดบ้านพราน

วัดบ้านพราน ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง สร้างมาตั้งแต่ครั้งใดไม่มีใครทราบ ตามคำบอกเล่าของ หลวงปู่ชัยมงคล แห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเล่าให้ฟังว่า ผู้สร้างวัดบ้านพรานชื่อว่า นายพาน นางเงิน ผู้เป็นสามีภรรยา และนายกระปุกทอง ผู้เป็นบุตร ในระหว่างปีพ.ศ.1684  หลังจากนั้นวัดนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปจนต้นไม้ปกคลุมหนาทึบเป็นเวลา 100 กว่าปี ต่อมาพวกนายพรานได้มาตั้งหมู่บ้านขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงช่วยกันบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ มีประวัติเล่าต่อกันมาว่าพระพุทธรูปศิลาแลงชื่อหลวงพ่อไกรทองที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นผู้สร้างที่เมืองสุโขทัย แล้วถอดเป็นชิ้นมาประกอบที่วัดบ้านพรานเพื่อให้เป็นพระประธาน แต่ผู้สร้างวัดต้องการสร้างพระประธานขึ้นเอง จึงได้สร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อไกรทอง” ไกรหมายถึง จีวร สังฆาฏิ สบงของหลวงพ่อไกรทอง เล่ากันต่อๆมาว่า เมื่อถึงวันดีคืนดี เวลาเที่ยงคืน ไกรจะลุกเป็นไฟสว่าง โชติช่วง บอกนิมิตอันดีต่อผู้พบเห็น เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถคุ้มภัยแก่ผู้ไปสักการะบูชา เหล่าพวกนายพรานจึงพากันขนานนามว่า หลวงพ่อไกรทอง ตราบนั้นมา คืนหนึ่งเป็นคืนวันเพ็ญ เดือน 3 พรานอ่ำ มานั่งรอล่าสัตว์อยู่บริเวณหน้าวิหารซึ่งประดิษฐานองค์หลวงพ่อไกรทอง ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกดื่นไม่มีสัตว์แม้แต่ ตัวเดียวผ่านมาในบริเวณนั้นเลยทำให้พรานอ่ำง่วงนอน ขณะครึ่งหลับครึ่งตื่นนั้นเองก็มีเนื้อตัวหนึ่งผ่านมา พอมาถึงหน้าพรานอ่ำเนื้อตัวนั้นก็ร้องทักพรานอ่ำว่า “ อ้าว อ่ำ ” พรานอ่ำตกตะลึงไม่ทันคว้าอาวุธ เนื้อตัวดังกล่าวก็วิ่งหนีหายไป ทางหน้าวิหาร พรานอ่ำเกิดสำนึกบาป เดินเข้ามาที่วิหารวางอาวุธต่างๆเข้ากราบหลวงพ่อไกรทองให้คำมั่นสัญญาว่าต่อไปจะเลิกล่าสัตว์และตั้งใจทำบุญทำกุศล พวกนายพรานคนอื่นๆเห็นนายพรานอ่ำทำเช่นนั้นก็กลับใจทำตามนายพรานอ่ำบ้าง บางคนก็บวชเป็นพระภิกษุในวัดใหญ่เพื่อเป็นการล้างบาป […]

Read More

วัดท่าอิฐ

วัดท่าอิฐ ตั้งอยู่ที่บ้านท่าอิฐ ตำบลบางพลับ อำเภอโพธิ์ทอง จังวัดอ่างทอง วัดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2304 บริเวณที่ตั้งเดิมเข้าใจว่าเป็นที่ปั้นเผาอิฐนำไปก่อสร้างวัดขุนอินทประมูล นับว่าเป็นสถานที่ขนอิฐหรือท่าขนอิฐ และเมื่อได้สร้างวัดขึ้นจึงขนานนามว่าวัดท่าอิฐ พระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อเพ็ชร พระประธานในวิหารชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา ประมาณกว่า 200 ปีมาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในวิหารมหาอุต เมื่อเข้าไปในวัดจะมองเห็น พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง โดดเด่นสีทองอร่าม สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด พระธาตุเจดีย์ศรีโพธิ์ทอง เป็นเจดีย์รูปแบบศิลปะลังกา-อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ลักษณะเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม มองเห็นได้เด่นชัดตั้งแต่ไกล มีกำแพงล้อมรอบ แต่ละทิศมีซุ้มประตูทางเดินเข้าด้านในและมีบันไดเดินขึ้นเจดีย์ได้จนถึงชั้นบนสุด เมื่อเลี้ยวรถเข้ามาในวัดจะเห็นองค์เจดีย์อยู่ตรงกลางล้อมรอบไปด้วยต้นไมู้สูงใหญ่ มีถนนโดยรอบแนวกำแพง มูลเหตุของการสร้างพระธาตุเจดีย์เนื่องจาก ราวพุทธศักราช 2535 พระครูสุคนธศีลคุณ(หลวงพ่อหอม) มีดำริจะสร้างเจดีย์ขึ้นในบริเวณวัด มีความกว้าง 40 เมตร สูง 73 เมตร มีองค์ระฆังและปล้องไฉน 32 ปล้อง เพื่อทดแทนเจดีย์หลังเดิม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุโบสถที่ผุพังไปตามกาลเวลาและเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระศอของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธรูปปางต่างๆ ประดิษฐานในพระเจดีย์เป็นสมบัติของศาสนาและเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระองค์ที่สั่งสอนสัตว์โลกจนเพียบพร้อมไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ปฏิบัติ ยิ่งๆ ขึ้นไปจนสามารถบรรลุคุณธรรมตามความสามารถของแต่ละบุคคล ต่อมาราวพุทธศักราช […]

Read More

วัดท่าสุทธาวาส

วัดท่าสุทธาวาส วัดท่าสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ที่ 2 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออกเขตตำบลบางเสด็จ บริเวณวัดร่มรื่นด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่และทัศนียภาพสวยงามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณในสมัยอยุธยาตอนต้น กองทัพของสมเด็จพระนเรศวร ฯ เกือบทุกครั้งได้รวมพล กองทัพช้าง กองทัพม้า ไพร่พล แล้วเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ณ บริเวณนี้เพื่อเสด็จไปที่วัดป่าโมกที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ในบริเวณวัดที่ด้านหลังพระอุโบสถมีศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ประทับนั่งทรงเครื่องกษัตริย์ พระหัตถ์ทั้งสองข้างของทั้งสองพระองค์ กำพระแสงดาบวางพาดอยู่บนพระเพลา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงรับวัดนี้ไว้ในพระราชอุปถัมภ์ มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ พระเจดีย์เพื่อแสดงพระพุทธรูปโบราณและโบราณวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเรื่องที่เขียนในพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลงมาว่าให้เขียนเรื่อง “พระมหาชนก” อันเป็นเรื่องที่พระองค์ทรงมีความผูกพันเป็นพิเศษ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งเล่าเรื่องนี้เสมอ ๆ ในส่วนเนื้อเรื่องพระมหาชนกนี้เขียนไว้ที่ฝาผนัง ที่เรียกว่า บนคอสอง หมายถึงผนังส่วนที่อยู่เหนือขอบหน้าต่างทั้งสองด้าน โดยจะเริ่มที่ผนังด้านทิศเหนือซึ่งอยู่ทางซ้ายของพระประธาน แล้วดำเนินเรื่องมาจบในผนังด้านทิศใต้ มาจบเรื่องตรงที่ด้านขวาของพระประธาน ภาพจิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดท่าสุทธาวาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงจดพู่กันเขียนภาพต้นมะม่วงในเรื่องพระมหาชนก เมื่อวันที่ 19 […]

Read More

วัดไชโยวรวิหาร

วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและในวิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. […]

Read More