Category: เที่ยวในประเทศไทย

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขก)

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี(วัดแขก) เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีซึ่งเป็นพระชายาของพระศิวะ เดิมเป็นสถานที่เฉพาะ ของผู้นับถือศาสนาฮินดูเท่านั้น ในช่วงบ่ายจะมีการปิดโบสถ์ เพื่ออ่านรามเกียรติ์ เป็นการสรรเสริญพระเป็นเจ้า แต่ในปัจจุบัน วัดแขกเปิดกว้างต้อนรับผู้คนมากขึ้น ทั้งผู้มีจิตศรัทธาองค์เทพต่างๆ ตลอดจนยินดีต้อนรับผู้นับถือศาสนาอื่นๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติ ประวัติความเป็นมา เทวสถานนี้มีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่สมัย ร.5 ราว พ.ศ. 2453-2454 โดยคณะผู้ศรัทธาชาวอินเดียใต้ผู้อาศัยอยู่ย่านตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก และตำบลหัวลำโพงอำเภอบางรัก ซึ่งเป็นชาวอินเดียเผ่าภารตะฑราวิฑนาดู (ทมิฬ) จากทางใต้ของประเทศอินเดียที่เดินทางทางทะเล เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดินแดนย่านแหลมมลายูรวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อนายไวตี พ่อค้าวัว และญาติมิตรชาวฮินดูที่ตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพอยู่ย่านตำบลหัวลำโพง อำเภอบางรัก และตำบลริมคลองสีลม อำเภอบางรัก มีศรัทธาจัดสร้างวัดเพื่อเป็นที่บูชาพระอุมาเทวี ตามลัทธิศักติทางศาสนาฮินดู โดยเริ่มต้นตั้งเป็นศาลไม้ใต้ต้นสะเดาในไร่อ้อยริมคลองสีลม แถววัดวัวลำพองหรือหัวลำโพงในปัจจุบันนี้ ต่อมาคณะกรรมการผุ้ก่อตั้งวัดอาทิ นายไวตรีประเดียอะจิ (ต้นตระกูลไวตี เจ้าของเดิมที่ดินใน ซ.สีลม 13 หรือ ซ.ไวตี ถนนสีลม ) นายนารายเจติ นายโกบาระตี ได้หาที่ดินเพื่อตั้งสถานที่ถาวร โดยขอแลกที่ดินของพวกตนกับที่ดินสวนผักริมคลองสีลมของนางอุปการโกษากร ( ปั้น […]

Read More

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ตั้งอยู่ที่ถนนสนามไชย ข้างพระบรมหาราชวัง เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่างๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว 46 เมตร สูง 15 เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล 108 ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย ปัจจุบันวัดโพธิ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกเมื่อ มีนาคม พ.ศ.2551 อีกทั้งในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน โดยจุดเด่นที่สำคัญของวัดโพธิ์ ก็คือ พระพุทธไสยาส หรือ พระนอน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีพุทธลักษณะงดงามเป็นอันดับต้น ๆ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเชื่อกันว่าเป็นปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ในขณะที่พระพักตร์อิ่มเอิบ […]

Read More

วัดเทพธิดาราม

วัดเทพธิดาราม ตั้งอยู่เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดบ้านพระยาไกรสวนหลวง วัดนี้เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382 สถาปัตยกรรมที่สำคัญ คือ พระปรางค์ทิศทั้งสี่ เป็นฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 บุษบกที่รองรับพระประธานภายในโบสถ์ประดิษฐ์อย่างสวยงาม และที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์แบบอย่างในรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ระหว่าง พ.ศ. 2383-2385 วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ และได้เขียนบทกลอนเรื่องรำพันพิลาปขึ้น มีบทพรรณนาลักษณะปูชนียสถานปูชนียวัตถุของวัดอย่างละเอียด บรรยายถึงความงามของพระอารามไว้ และเรียกว่า “กุฏิสุนทรภู่” มีการจัดกิจกรรมรำลึกถึงกวีเอกผู้นี้ในวันที่ 26 มิถุนายน เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่งเรียกว่า บ้านกวี เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน คำว่า เทพธิดา หมายถึง กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงได้รับใช้เป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่งของพระราชบิดา กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงบริจาคทุนทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อร่วมในการก่อสร้างวัดเทพธิดารามด้วย สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด รูปหมู่พระอริยสาวิกา […]

Read More

วัดไตรมิตรวิทยาราม

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน 3 คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน” วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พุทธสถาปัตกรรมอันทรงคุณค่า “พระมหามณฑป” ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใครต่อใครให้อยากไปเยือน “วัดไตรมิตร” สักครั้งค่ะ ภายใน “พระมหามณฑป” ประกอบด้วย ชั้น 2 “ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช” ทำความรู้จักกับชุมชนชาวจีนสำเพ็ง – เยาวราช อันเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญของกรุงเทพฯ ซึ่งเติบโตขึ้นจากการก่อร่างสร้างตัวของชาวจีนที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย ชั้น 3 “นิทรรศการพระพุทธรูปทองคำ” ภายในจะมีห้อง Multimedia Theatre ที่จัดแสดงสื่อผสม แสง เสียง และภาพ Animation ประกอบกับโมเดลวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย เล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มกำเนิดพระพุทธรูปขึ้นในโลก และพัฒนาการมาสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ชั้น 4 ประดิษฐาน “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “พระพุทธรูปทองคำสุโขทัยไตรมิตร” หรือจะเรียกสั้นๆ ภาษาชาวบ้านว่า “หลวงพ่อทองคำ” พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่สร้างจากเนื้อทองคำบริสุทธิ์ จนได้รับการจดบันทึกลง […]

Read More

พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ

 พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยกรุงเทพฯ ไม่ต้องไปถึงทะเลก็ได้ดูเปลือกหอยรูปทรงต่างๆหลากสีทั้งในประเทศและจากต่างประเทศกันแล้วค่ะ พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยตั้งอยู่เลขที่ 1043 ซอยสีลม 23 บางรัก กรุงเทพฯ อยู่บริเวณหัวมุมถนนสีลม ซอย 23 เยื้องสี่แยกโรงพยาบาลเลิดสินค่ะ  พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึ้นจากความรัก ความรอบรู้ และ ความเชี่ยวชาญในเปลือกหอยของ “คุณจอม : สมหวัง ปัทมคันธิน” สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย (ปี 2007 และปี 2008) ผู้คว้ารางวัลคะแนนโหวตสูงสุดปี 2008 ทายาทของคุณสมนึก ปัทมคันธิน เจ้าของพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย ที่หาดราไวย์ จังหวัดภูเก็ต ตัวพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นแรก จัดแสดงเปลือกหอยขนาดใหญ่ หลากหลายชนิด รวมถึงหอย 2 ฝาที่มีขนาดใหญ่และหายากอย่างหอยมือเสือยักษ์ นอกจากนี้ยังมีบรรดาเม่นทะเลรูปร่างแปลกตาและมีสีสันสวยงามให้ได้ดูกันด้วย แค่เริ่มต้นเปลือกหอยบางชนิดก็ทำให้เราได้รู้ว่ารูปร่างภายนอกของเปลือกหอย บางชนิดนั้นคล้ายคลึงกันมากๆ จนแทบจะแยกกันไม่ออกเลยค่ะ ชั้น 2 เป็นส่วนจัดแสดงเปลือกหอยสีสันสวยงามจากทั่วโลกเช่น หอยแครงหัวใจ หอยแต่งตัว หอยพระอาทิตย์ หอยเกลียวชั้นญี่ปุ่น หอยเชลล์ หอยงวงช้าง […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ไปชมความวิจิตรงดงามของเรือพระราชพิธีกันค่ะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี โดยมีสำนักพระราชวังและกองทัพเรือควบคุมดูแล เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และอยู่ในสภาพทรุดโทรมต่อมาอีกหลายปี ในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบหมายให้กรมศิลปากรบูรณะซ่อมแซมเรือพระที่นั่งและเรือเก่าที่ใช้ในพระราชพิธี ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ความงดงามทางศิลปกรรม ในปี พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรได้ขอขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ให้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอู่เรือหลวงขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี” ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงเรือพระราชพิธีสำคัญ 9 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรืออสุรวายุภักษ์ และเรือเอกไชยเหินหาว นอกจากเรือพระที่นั่งและเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ แล้ว ยังมีเครื่องประกอบและสิ่งของเครื่องใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ด้วย เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่าง ๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย […]

Read More

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ อยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 1 อยู่ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงละครแห่งชาติ ตรงข้ามสนามหลวงค่ะ ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 แต่เดิมเป็น “พระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วังหน้า” ซึ่งประกอบด้วยพระที่นั่งและพระตำหนักอันนับเป็นสถาปัตยกรรมไทยที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ขึ้นที่ พระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ ซึ่งทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นเครื่องราชบรรณาการต่าง ๆ นับว่าเป็นบ่อเกิดของพิพิธภัณฑ์ในสมัยต่อมา จากนั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “มิวเซียม” ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือ หอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง และมีพิธีเปิดหอมิวเซียมหรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 กรมศิลปากร จึงถือเอาวันที่ทรงประกอบพิธีเปิดมิวเซียมเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของราชอาณาจักรไทย […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย

พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ใครรักงานศิลปะ หรือกำลังค้นหาแรงบันดาลใจห้ามพลาดที่นี่ค่ะ พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย ตั้งอยู่เลขที่ 499/50 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึ้นมาจากความหลงใหลในงานศิลปะ ของ คุณบุญชัย เบญจรงคกุล แต่เหตุผลหลักที่แท้จริงนั้น คุณบุญชัยเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัยอย่างเป็นทางการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเชิดชูเกียรติของ “บิดาแห่งศิลปะไทยร่วมสมัย” หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีค่ะ จากหลักปรัชญา “ชีวิตสั้น ศิลปะยืนยาว” ซึ่ง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้วางรากฐานเพิ่มพูนทักษะทางศิลปะให้บรรดาลูกศิษย์ ผสานความเชื่อ ความศรัทธาแบบดั้งเดิม เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยไว้อย่างลงตัว สะท้อนทั้งความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมและความเป็นอารยะของชนชาติไทย งานศิลปะที่จัดแสดงใน พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA เป็นผลงานทัศนศิลป์ จากศิลปินหลายรุ่นระดับชั้นครู แสดงถึงพลังความมุ่งมั่นของศิลปินไทย ในการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ไทยอย่างเหนียวแน่น ตัวอาคาร พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA ได้แนวคิดจากการนำหินทั้งก้อนมาแกะสลักอย่างประณีตบรรจงเป็นลายก้านมะลิ แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ขณะเดียวกันลายฉลุเหล่านี้ ยังเป็นช่องให้แสงธรรมชาติสามารถส่องผ่านมายังภายในอาคาร โดยในช่วงเวลาและฤดูกาลที่แตกต่างกันยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปด้วย พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2555 มุ่งเน้นรากฐานอันมั่นคงและช่วยส่งเสริมให้ “สังคมศิลปะ” […]

Read More

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร หรือที่นิยมเรียกตามชื่อเดิมของสถานที่ว่า ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ตั้งอยู่เลขที่ 928 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ความเป็นมาของศูนย์ฯ ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ กองอุปกรณ์การศึกษา เป็นผู้ดำเนินการ จัดสร้างอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความรู้ทางเทคโนโลยี อวกาศ โดยภายในจัดแสดงการฉายภาพดาวในจักรวาล ทั้งนี้ การก่อสร้างติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ จัดทำโดยห้างบีกริมแอนด์โค กรุงเทพฯ และบริษัท คาร์ลไซซ์ จำกัด และเปิดอาคารท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2507 ต่อมาในปีพ.ศ. 25018 จัดตั้งศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา แทนกองอุปกรณ์การศึกษา ซึ่ง เป็นหน่วยงานใหม่ในระดับกอง สังกัดกรมวิชาการ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ ประกอบด้วยหน่วยงานหลักคือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2537 มีการโอนย้ายศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา ไปสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียนและเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ในลักษณะ “เรียนให้สนุกและเล่นให้เกิดความรู้”หลากหลายรูปแบบ โดยแบ่งเป็น 6 อาคารอาคาร 1 คือท้องฟ้าจำลองกรุงเทพให้บริการความรู้ทางดาราศาสตร์และอวกาศโดยการแสดงท้องฟ้าจำลอง ด้วยเครื่องฉายดาว […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย

พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ตั้งอยู่เลขที่ 9 ถ.รัชดาพิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ สร้างขึ้นเพื่อจัดเป็นสถานที่ในการจัดแสดงสิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการเงินการธนาคารของชาติ สำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวเงินตราของไทยในอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพราะมีเอกสารสำคัญ และเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมากอันบ่งบอกถึงวิวัฒนาการแห่งความเจริญก้าวหน้าในระบบการเงิน การธนาคารของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน ภายในพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ได้จัดการแสดงออกเป็นส่วนต่างๆ ทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1  วิวัฒนาการธนาคาร แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 4 ช่วงได้แก่ ภาพเส้นทางการค้าทางทะเลสมัยโบราณจากยุโรปสู่เอเชีย และหุ่นจำลองเรือสำเภาโบราณที่ใช้ขนถ่ายสินค้า เพื่อการล่าอาณานิคมและการพาณิชย์,สยามกับการเข้าสู่ระบบธนาคารและวิวัฒนาการธนาคาร, พระบิดาแห่งการธนาคาร เสนอเรื่องราวพระประวัติกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย พระกรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงริเริ่มก่อตั้งระบบธนาคารในประเทศไทย และบุคคลัภย์ ใช้เทคนิคการจัดแสดงด้วยเทคโนโลยี 3 มิติเสมือนจริง บอกเล่าเรื่องราวประวัติการเริ่มต้นกิจการผ่านตัวแสดงพนักงานบุคคลัภย์สวยงาม สมจริง ทำให้เรื่องราวของบุคคลัภย์ในอดีตเหมือนมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ส่วนที่ 2  วิวัฒนาการเงินตรา จัดแสดงและให้ข้อมูลถึงพัฒนาการในการติดต่อแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างชุมชนมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งมีการพัฒนารูปแบบมาจนมีการใช้เงินสกุลต่างๆ และธนบัตรเช่นปัจจุบันทั้งยังทันสมัยด้วยเทคนิคเสียง ซึ่งให้ข้อมูลของเงินตราตั้งแต่แรกที่มนุษยชาติเริ่มรู้จักระบบแลกเปลี่ยน ชนชาติไทยมีการใช้เงินพดด้วง และวิวัฒนาการทั้งด้านการค้าและเศรษฐกิจเรื่อยมาจนมีสกุลเงินบาท ธนบัตร และระบบธนาคารไทย ส่วนที่ 3  ต้นแบบธนาคารไทย เมื่อกิจการของบุคคลัภย์เจริญก้าวหน้าขึ้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ของคนไทยขึ้นอย่างเป็นทางการภายใต้นามว่า […]

Read More