วัดถ้ำพวง

วัดถ้ำพวง ตั้งอยู่บนยอดเขาภูผาเหล็ก บ้านท่าวัด ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร (เป็นส่วนหนึ่งของวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม) ที่วัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปปางนาคปรกหน้าตักกว้าง 5 เมตร ไว้ ณ ถ้ำพวง นามว่า “พระมงคลมุจลินท์” และยังมีพิพิธภัณฑ์ พระอุดม สังวรวิสุทธิ หรือ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม สร้างเป็นรูปทรงจตุรมุข 2 ชั้น ประดับด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ชั้นล่าง ตกแต่งเป็นห้องแสดงภาพวาดเกี่ยวกับประวัติของพระอาจารย์ตั้งแต่เกิด ส่วน ชั้นบน มีรูปปั้นของท่านในท่านั่งขัดสมาธิ พร้อมเครื่องสักการะบูชาที่ตกแต่งสวยงาม และตู้กระจกแสดงเครื่องอัฐบริขารของท่าน ในบริเวณวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมยังมีสังเวชนียสถานจำลองสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพานจากประเทศอินเดียแห่งเดียวในภาคอีสาน

ประวัติการก่อตั้งวัด

เดิมทีราว พ.ศ. 2504 พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้เริ่มก่อตั้งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ วัดแห่งนี้ จนมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี พ.ศ. 2514 ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้นำคณะศิษยานุศิษย์ร่วมกันสร้างถนนขึ้นสู่ยอดเขาภูผาเหล็กซึ่งมีถ้ำอีก แห่งหนึ่งมีชื่อว่า “ถ้ำพวง” ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงแห่งแรงศรัทธา ได้ร่วมกันสร้างถนนจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระยะทางรวมทั้งสิ้น 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งได้สร้างวัดขึ้นด้วยคือ “วัดถ้ำพวง” บนยอดเขาภูผาเหล็ก (เป็นส่วนหนึ่งของวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม) แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปมักชอบเรียกว่า “วัดถ้ำพวง” จากนั้นได้สร้างอาคารเสนาสนะ และได้สร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกหน้าตักกว้าง 5 เมตร ไว้ ณ ถ้ำพวง นามว่า “พระมงคลมุจลินท์” พร้อมทั้งได้สร้างวิหารครอบองค์พระพุทธรูปเป็นที่เรียบร้อยในเวลาต่อมาเมื่อ ท่านพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523 ด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ตำบลคลองหลวง อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ได้แต่งตั้ง พระอธิการหลอ นาถกโร เป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สืบแทนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2523 เป็นต้นมาจนได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น “พระครูอุดมญาณโสภณ” จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ทำนุบำรุงและพัฒนาวัดถ้ำพวงจนเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

ประวัติพระอาจารย์วัน อุตฺตโม

พระอาจารย์วัน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2465 ตรงกับแรม 6 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ ที่บ้านตาลโกน ตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อแหลม สีลา รักษ์ มารดาชื่อ จันทร์ มาริชิน มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 2 คน คือ พระอาจารย์วัน และนายผัน ลีลา รักษ์

เมื่ออายุยังน้อย พระอาจารย์วันเป็นบุคคล ที่ชอบสนุกร่าเริง แต่ในความสนุกร่าเริง ดังกล่าวก็มิได้ทำความเสียหายทั้งใน เรื่องของความประพฤติ การศึกษาและความรับผิดชอบ ในการงานที่ได้รับมอบหมายจากบิดามารดา ทั้งในเรื่องบวชเรียนก็ไม่ได้คิดคำนึงมา แต่น้อย แม้บิดาได้เคยสั่งไว้ว่าให้บวช ให้ท่านบ้าง จะอยู่ในศาสนาน้อยมากก็ตามแต่ศรัทธา

ภายหลังจึงได้ตัดสินใจบวชตาม คำสั่งของบิดายังความตื้นตันใจแก่ญาติด มิตรเป็นล้นพ้น แต่ในขั้นแรกได้ไปรับ ใช้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์วัง ฎิติสาโร วัด ป่าม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ต่อมาเมื่อ ท่านเจ้าคุณพระราชกวี (พระธรรมเจดีย์ จู ม พนธุโล) เดินทางกลับมาจากงาน ผูกพัทธสีมา ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี จะแวะพักที่วัดศรีบุญเรือง บ้านงิ้ว ตำบล พันนา อำเภอสว่างแดนดิน พระอาจารย์วังจึงได้ นำไปบวชเป็นสามเณร ณ ที่วัดนั้น เมื่อวัน ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เมื่ออายุ 15 ปี โดยมีพระราชกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ครั้นบวช แล้วได้กลับมาอยู่ที่วัดอรัญญญิกาวาส บ้านม่วงไข่ และจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้น 2 พรรษา

[adsense-2]

พ.ศ. 2481 – 2482 เจ้าคุณ พระราชกวี พาไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้าน สามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

พ.ศ. 2483 พระอาจารย์วัน ได้กราบลา ท่านเจ้าคุณไปจำพรรษาที่วัดสุทธาวาสอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีพระมหาแสง ปุสโส (พระจริย คุณาจาร) เป็นเจ้าอาวาสได้เริ่มเรียนนักธรรม ชั้นตรีแต่ปีนั้นจนกระทั่งสอบได้
ต่อมาวันที่ 29 มกราคม 2485 ได้อุปสมบทเป็นพระที่ วัดสว่างโสก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครู จินนวิโสธนาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาคล้าย เป็นพระธรรมวาจาจารย์ แล้วจึงเดินทางกลับมา จำพรรษาที่วัดสุทธาวาสจังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาชั้นนัก ธรรมเอก ภายหลังจึงได้เดินทางไปสอบนัก ธรรมเอกที่จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. 2480 กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้นได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียน วัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วย เพราะสุขภาพ

พ.ศ. 2480 กลับมา จำพรรษาที่วัดป่าคามวาสี บ้านตาลโกน ระหว่างนั้น ได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดสุทธาวาส และวัดชัยมงคล แต่เป็นไม่ได้ด้วยเพราะสุข ภาพ

พ.ศ. 2488 ได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าบ้านหนองฝือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ซึ่งที่นั้นได้พบกับท่านอาจารย์ มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งมาจำพรรษาอยู่จึงได้ ศึกษาอบรมยอมปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น เป็น เวลาถึง 5 ปี จนหระทั่งถึงปี พ. ศ. 2492

ระหว่าง พ.ศ. 2493 – 2500 พระอาจารย์วันได้จำพรรษาในถิ่นที่ต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พ.ศ. 2501 ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพุฒา ราม บ้านคำตานา ตำบลพันนา อำเภอสว่างแดน ดิน จนถึง พ.ศ.2503

พ.ศ. 2503 ได้มาพักที่วัดโชติการาม บ้าน ปทุมวาปี อำเภอส่องดาว ตามคกร้องนิมนต์ของญาติโยม ซึ่งได้สร้างเป็นที่พักชั่วคราว ภายหลังได้ มีการสร้างกุฏิถาวรขึ้น ตามศรัทธาของญาติโยม ปัจจุบันคือวัดอภัยดำรงธรรม ทั้งภายหลังได้สร้าง พระพุทธรูปที่ถ้ำพวงโดยมีจุดประสงค์ให้ ชาวบ้านหันมากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปแทน การเซ่นสรวงผีสสางในภูเขาซึ่งเป็นสถาน ที่พระอาจารย์วัน ได้จำพรรษาเป็นระยะเวลานาน ได้พัฒนาสถานที่รวมทั้งความประพฤติปฏิบัติของราษฎร ชาวบ้านในแถบนั้นอย่างกว้างขวาง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ททท.สนง.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 4 จ.นครพนม (รับผิดชอบพื้นที่ จ.สกลนครด้วย) โทร. (042) 513490-1
การบินไทย โทร. (042) 712259-60
ตำรวจทางหลวง โทร. (042) 713971
หจก.ภูพานการท่องเที่ยว โทร. (042) 712676
โรงพยาบาลกุดบาก โทร. (042) 784021
โรงพยาบาลกุสุมาลย์ โทร. (042) 769023
โรงพยาบาลคำตากล้า โทร. (042) 796046
โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ โทร. (042) 713550
โรงพยาบาลเต่างอย โทร. (042) 761021
โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน โทร. (042) 789015
โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น โทร. (042) 779105
โรงพยาบาลพังโคน โทร. (042) 771222
โรงพยาบาลวานรนิวาส โทร. (042) 791122
โรงพยาบาลวาริชภูมิ โทร. (042) 781187
โรงพยาบาลสกลนคร โทร. (042) 711722
โรงพยาบาลสว่างแดนดิน โทร. (042) 721111
โรงพยาบาลส่องดาว โทร. (042) 786026
โรงพยาบาลอากาศอำนวย โทร. (042) 799000

การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว ใช้ ทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-อุดรธานี) ระยะทางประมาณ 84 กิโลเมตร ถึงอำเภอสว่างแดนดินเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอส่องดาวไปถึงวงเวียนอนุสาวรีย์พระเวสสันดร แล้วเลี้ยวขวาไปวัดถ้ำพวงประมาณ 5 กิโลเมตร

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น