พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช อ.เมือง เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ บนที่ดินที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน) ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร (สุ่ย บุตรโลบล) คือ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรสิทธิประสงค์) เพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการ

ลักษณะอาคาร เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงปั้นหยา แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคา ที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้น อาคารศาลากลางหลังนี้มีสภาพคับแคบ ไม่เพียงพอกับหน่วยงานราชการที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ทางด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมือง เมื่อ พ.ศ. 2511 ส่วนอาคารศาลากลางหลังเก่าได้ใช้เป็นสำนักงานของหน่วยราชการต่างๆ มาโดยตลอด

ในปี พ.ศ. 2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2532

การจัดแสดง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้น เพื่อสนองตอบความต้องการของท้องถิ่น ที่จะให้เป็นศูนย์ศึกษา อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรจึงมุ่งเน้นเรื่องราวด้านต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ ชาติพันธุ์วิทยา โดยแบ่งหัวข้อเรื่องนิทรรศการเป็น 10 ห้อง ดังนี้

ห้องจัดแสดงที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี

ห้องจัดแสดงที่ 2 ภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ห้องจัดแสดงที่ 3 สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ห้องจัดแสดงที่ 4 สมัยประวัติศาสตร์เริ่มแรก วัฒนธรรมทวารวดี และวัฒนธรรมเจนละ (ขอมหรือเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร) ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 – 15

ห้องจัดแสดงที่ 5 วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 – 18

ห้องจัดแสดงที่ 6 วัฒนธรรมไทย-ลาว ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 – 25

ห้องจัดแสดงที่ 7 ผ้าโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี

ห้องจัดแสดงที่ 8 ดนตรีพื้นเมือง

ห้องจัดแสดงที่ 9 ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน และเครื่องใช้ในครัวเรือน

ห้องจัดแสดงที่ 10 การปกครอง และงานประณีตศิลป์เนื่องในพุทธศาสนา

[adsense-2]

ช่วงเวลาเปิดทำการ เปิดทำการตั้งแต่วันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น. ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

อัตราค่าเข้าชม  ค่าเข้าชมชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอุบลราชธานี โทร. (045) 255 071 , (045) 251 015
สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 254 925, (045) 255 505,(045) 254 218, (045) 254 360
ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 311 228
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 244 875
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155, 1699,(045) 245 505, (045) 254 914
ตำรวจทางหลวง โทร. (045) 313 220
ตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานี โทร. (045) 244 326,(045) 245 340, (045) 254 233
สถานีขนส่ง โทร. (045) 312 773
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี โทร. (045) 244 073 , (045) 244 406
ตำรวจภูธรอำเภอเมืองอุบลราชธานี โทร. (045) 254 008 ,(045) 255 112
ไปรษณีย์อุบลราชธานี โทร. (045) 260 465-6
รพ. สรรพสิทธิประสงค์ โทร. (045) 244 973
รพ. อุบลรักษ์ – ธนบุรี โทร. (045) 260 300-9
รพ. ราชเวช โทร. (045) 280 040-1
รพ. ร่มเกล้า โทร. (045) 244 660
รพ. เซ็นทรัลเมโมเรียล โทร. (045) 244 690-1
รพ. วารินชำราบ โทร. (045) 321 243-4
รพ. ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ โทร. (045) 269 533-5
รพ. พิบูลมังสาหาร โทร. (045) 441 053
รพ. โขงเจียม โทร. (045) 351 083
รพ. ศรีเมืองใหม่ โทร. (045) 399 022
รพ. โพธิ์ไทร โทร. (045) 496 000
รพ. นาจะหลวย โทร. (045) 379 097-8
รพ. น้ำยืน โทร. (045) 371 097-8
รพ. สิรินธร โทร. (045) 366 149

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว 

จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ

1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช อ.เมือง

2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ไปจนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอโชคชัย อำเภอนางรอง อำเภอสังขะ อำเภอเดชอุดม ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช อ.เมือง

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น