พระที่นั่งวิมานเมฆ

พระที่นั่งวิมานเมฆ ตั้งอยู่บริเวณหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม ในเขตพระราชวังดุสิต เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลัง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม ประณีตและ ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างแบบตะวันตก และเป็นพระที่นั่งถาวรองค์แรกในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพระราชวังดุสิต (ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์เรียกว่า พระราชวังสวนดุสิต) ในพ.ศ. 2444 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชังเมื่อพ.ศ. 2435 แต่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโยธาเทพ (กร หงสกุล ต่อมาเป็นพระยาราชสงคราม) เป็นนายงานรื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์จากเกาะสีชังมาสร้าง ในสวนดุสิต และพระราชทานนามว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ และทรงวางศิลาฤกษ์พระที่นั่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2443 โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงกำกับการออกแบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2445

พระที่นั่งองค์นี้ เป็นอาคารแบบวิตอเรีย ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมยุโรป ผสมกับไทยประยุกต์ องค์พระที่นั่งเป็นรูปอักษร ตัวแอล (L) ในภาษาอังกฤษ ยาวด้านละ 60 เมตร สูง 20 เมตร เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกเว้นตรงส่วนที่ประทับซึ่ง มีรูปร่างเป็น แปด เหลี่ยม มี 4 ชั้น ชั้นล่างสุดก่ออิฐ ถือปูน ชั้นถัดขึ้นไปสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหมดทาด้วยสีครีมอ่อนหลังคาสีแดง และหลังคา เป็นทรงไทยประยุกต์ มีลวดลายตามหน้าต่าง และช่องลมซึ่งฉลุเป็นลายที่เรียกว่าขนมปังขิงสำหรับพระที่นั่งวิมานเมฆนี้จะแบ่งเป็น ห้องชุดต่างๆ 5 สีด้วยกัน คือสีฟ้า เขียว ชมพู งาช้าง และสีลูกพีช (ชมพูอมส้ม) แต่ละห้องจะจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ ส่วนพระองค์ ของรัชกาลที่ 5 รวมถึงเจ้านายชั้นสูง เช่น ห้องสีเขียว เป็นห้องเครื่องเงินจากประเทศจีน ส่วนชั้นสองเป็นห้องทรงงานของรัชกาลที่ 5 และห้องบนชั้นสามจะเป็นห้องบรรทม แต่ห้องที่งดงามที่สุดในพระที่นั่งวิมานเมฆเห็นจะเป็นห้องท้องพระโรง ที่มีบรรยากาศ ขรึมขลังอลังการมากที่สุด

ในรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งเป็นปีที่ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรง ขอพระบรมราชา นุญาตซ่อมพระที่นั่งวิมานเมฆ เพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน พระที่นั่ง วิมานเมฆ เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ในความดูแลของสำนักพระราชวังรวมทั้งหมู่พระตำหนักของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในด้วย

นอกจากนั้นภายในเขตพระราชวังดุสิตยังมีสถานที่น่าสนใจอื่นๆ อีก ได้แก่

  • พิพิธภัณฑ์ศิลปาชีพ พระที่นั่งอภิเษกดุสิตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2447 จุดเด่นที่สวยงามของพระที่นั่งองค์นี้ก็คือ ลายไม้ฉลุแบบสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ ปัจจุบันปรับแต่ง เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงผลงานหัตถกรรมที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยสมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี นาถ ภายในพิพิธภัณฑ์มีงานหัตถกรรมหลากหลายให้ชม อาทิ เครื่องเงิน คร่ำ ผ้าทอ ผ้าปัก ถมเงิน ถมทอง งานประดับด้วย ปีกแมลงทับ เป็นต้น
  • พิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง เป็นที่รวบรวมรถม้าพระที่นั่งโบราณซึ่งใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 รถม้าแต่ละคันเคยร่วมในพระราชพิธี สำคัญต่าง ๆ มีความสง่าสวยงาม และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
  • พระตำหนักสวนสี่ฤดู เคยเป็นพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช

นอกจากนี้ภายในเขตพระราชวังดุสิตยังมีอาคารที่จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พิพิธภัณฑ์ นาฬิกาโบราณ พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ พิพิธภัณฑ์เครื่องราชูปโภค และพระสาทิสลักษณ์ พิพิธภัณฑ์ภาพพระราชพิธี

[adsense-2]

ช่วงเวลาที่เปิดให้เข้าชม  เข้าชมได้ทุกวันอังคาร ถึง วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30 น. – 16.00 น. ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 15.15 น. หยุดทำการทุกวันจันทร์, วันปีใหม่ 1 มกราคม, วันสงกรานต์ 13 -15 เมษายน,วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม, วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม และวันสิ้นปี 31 ธันวาคม หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า

อัตราค่าเข้าชม คนไทย ผู้ใหญ่ 75 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท หากต้องการเข้ าชมเป็นหมู่คณะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า

ข้อควรปฏิบัติ

  • ควรแต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมเมื่อเข้าชมพระที่นั่งวิมานเมฆ
  • สุภาพสตรี ควรสวมใส่เสื้อมีแขน กระโปรงคลุมเข่า หรือกางเกงขายาว
  • สุภาพบุรุษ ควรสวมใส่เสื้อมีแขน และกางเกงขายาว
  • ภายในจะแบ่งเป็นตำหนักต่างๆจัดแสดงนิทรรศการที่แตกต่างกันออกไป หากต้องการเข้าชมภายในพระตำหนักต้องฝากของไว้ในลอกเกอร์ด้านนอก แต่หากต้องการถ่ายรูปเพียงแค่อาคารภายนอกอาคารไม่ต้องฝากของก็ได้
  • ไม่อนุญาติให้ถ่ายภาพข้างในอาคาร

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

พระที่นั่งวิมานเมฆ โทร. (02) 628 6300 ต่อ 5119–5121, (02) 281 6880, (02) 281 5454, (02) 281 8166
เว็บไซต์  www.vimanmek.com
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โทร. 1348
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 เรียก บขส.
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ทางพิเศษ (ทางด่วน) โทร. 1543
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584
ศูนย์บริการประชาชนสายด่วนกรมทางหลวง โทร. 1586
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690
บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด โทร. 1126
บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด โทร. 1318
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การบินไทย โทร. (02) 545 3321
สำรองที่นั่ง การบินไทย โทร. (02)-288-7000 (สำนักงานสีลม), (02) 356 1111(สำนักงานหลานหลวง-ในประเทศ), (02) 545 3691 (สำนักงานวิภาวดีฯ-ต่างประเทศ)
บริษัท บางกอก แอร์เวย์ จำกัด โทร. 1771
สหกรณ์แท็กซี่สยาม โทร. 1661
TAXI-RADIO โทร. 1681
แอร์พอร์ต ลิงค์ โทร. (02) 131 5700 ต่อ 1301
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร. (02) 132 1888
ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3191, (02) 269 3199
แผนกสื่อสาร การท่าเรือแห่งประเทศไทย โทร. (02) 269 3481, (02) 269 3484
กรมการบินพลเรือน โทร. (02) 286 0506, (02) 286 0594
การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. (02) 621 8701
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRT รถไฟใต้ดิน) โทร. (02) 716 4044
สายด่วนตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว พระที่นั่งวิมานเมฆอยู่ในเขตพระราชวังดุสิตหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม ประตูหน้าที่จำหน่ายบัตรอยู่ด้านถนนราชวิถีใกล้กับแยกถนนพิชัย จอดรถบริเวณภายในพระที่นั่งวิมานเมฆ
รถประจำทาง สาย 12 18 28 70 108
รถปรับอากาศ  สาย 510 515 ปอ.พ.4

แผนที่

ความเห็น

ความเห็น