Month: November 2014

พระพุทธรูปยืนมงคล

พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองมหาสารคาม อยู่ที่ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี สร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปมิ่งเมือง กล่าวกันว่าพระพุทธรูปสององค์นี้ สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองอย่างมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมาก พระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปที่สร้างจากฝีมือหญิงเป็นหนึ่งในศาสนสถาน นอกจากเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชาวมหาสารคามแล้วยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย  พระพุทธรูปยืนมงคล เป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สุง 4 เมตร ศิลปะทวารวดี สลักจากหินทรายสีแดง เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดมหาสารคาม มีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธมิ่งเมือง วัดสุวรรณาวาส ตำนานกล่าวว่าพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์สร้างขึ้นในเวลาเดียวกัน เมื่อครั้งที่อำแภอกันทรวิชัยเกิดฝนแล้ง ผู้ชายได้สร้างพระพุทธมิ่งเมืองส่วนผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เมื่อแล้วเสร็จได้ทำการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬาร นับแต่นั้นเป็นต้นมาฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อ พ.ศ. 2460 ได้มีการต่อเติมพระกรและเศียรพระพุทธรูปยืนมงคลแทนของเดิมที่หักหายไป [adsense-2] ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานขอนแก่น(รับผิดชอบพื้นที่ ขอนแก่น,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์) ที่อยู่ 277/20-21 ถ.กลางเมือง (ถนนรอบบึงแก่นนคร ด้านทิศตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์. 043-227-714-6 โทรสาร. 0432-27-717, […]

Read More

พระพุทธรูปมิ่งเมือง

พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี ตั้งอยู่ที่วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดง ศิลปทวาราวดี สูงประมาณ 4 เมตร เดิมอยู่ในสภาพชำรุด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 ได้ทำการต่อเติมให้สมบูรณ์ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ เมื่อ 8 มีนาคม 2478 ปัจจุบันพระพุทธมงคลได้ประดิษฐานอยู่ที่ลานโพธิของวัด รอบลานโพธิมีใบเสมาหินสมัยทวาราวดีปักล้อมอยู่สองชั้นทั้งแปดทิศ ลักษณะใบเสมาเป็นแผ่นเรียบแบน และแบบแท่งเหลี่ยม และยังมีพระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองอย่างมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ตำนานเรื่องเล่าของพระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง พระพุทธรูปยืนวัดสุวรรณาวาสอำเภอกันทรวิชัย มีเรื่องเล่าว่าถิ่นที่เป็นอำเภอกันทรวิชัยปัจจุบันนี้เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองคันธาร์ธิราช มีเจ้าเมืองขอมปกครอง ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างเจ้าเมืองคันธาร์ธิราชองค์สุดท้ายชื่อ ท้าวลินทองหรือสิงห์โตดำ ท้าวสิงโตดำมีนิสัยโหดร้ายและได้แย่งราชสมบัติจากบิดาโดยจับขังและให้อด อาหารจนสิ้นชีวิตและสั่งให้ฆ่าพระมารดาที่พยายามแอบนำอาหารไปให้ ภายหลังท้าวสิงโตดำเมื่อได้ครองเมืองแล้วเกิดมีแต่ความร้อนรุ่มกระวนกระวาย โหรจึงแนะนำให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อล้างบาป ท้าวสิงโตดำจึงได้สร้างพระพุทธรูปยืน 2 องค์ องค์หนึ่งอยู่กลางเมืองเพื่อระลึกถึงพระบิดาปัจจุบันอยู่ที่วัดสุวรรณาวาส ใกล้ตลาดอำเภอกันทรวิชัยและอีกองค์หนึ่งอยู่นอกเมืองเพื่อระลึกถึงพระมารดา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ปัจจุบันอยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพุทธมงคลบ้านสระ และเมื่อพระเจ้าสิงโตสิ้นชีวิตชาวเมืองได้นำไปฝังที่ป่านอกเมืองและสร้างพระ นอนเหนือหลุมฝังศพ ปัจจุบันเรียกว่า ดอนพระนอน กล่าวกันว่าผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้จะประสบโชคร้ายเนื่องจากกระแสแห่งความโหดร้ายของท้าวสิงโต ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้อีกเลย [adsense-2] […]

Read More

อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย

อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับพาครอบครัวมาพักผ่อน พาเด็กๆมาให้อาหารปลา ดูปลาตัวโตๆ หลากหลายสายพันธุ์กันค่ะ อุทยานวังมัจฉาโขงกุดหวาย ตั้งอยู่ที่บ้านโขงกุดหวาย หมุ่ที่ 7 ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตร  เป็นลำน้ำที่แยกออกจากลำน้ำชี อยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงชนบทโดยได้รับการประกาศเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดมหาสารคามเมื่อปี 2540 เนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้มีฝูงปลาหลายร้อยชนิดที่มาจากแม่น้ำชีได้ทะลักเข้ามาอยู่ตั้งแต่ตัวเล็ก และส่วนมากจะเป็นปลาเผาะซึ่งเป็นปลาเนื้ออ่อน ต้นตระกูลของปลานี้จะอยู่ในแม่น้ำโขง ชาวบ้านส่วนใหญ่อนุรักษ์ไว้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาดูและศึกษาชนิดพันธุ์ปลาต่างๆ ตัวอุทยานทำเป็นลักษณะกึ่งศาลากลางน้ำมีทางเดินเชื่อมต่อถึงกันตลอด 2 ฝั่ง ก่อนเข้าสู่ศาลากลางน้ำหรือโป๊ะ จะมีร้านขายของขบเคี้ยวสำหรับนักท่องเที่ยวได้พักผ่อน และอาหารปลาสำหรับเรียกปลามา ข้อควรระวัง จำกัดน้ำหนักโป๊ะ ระมัดระวังกันด้วยนะคะ ประวัติความเป็นมา คำว่ากุด หมายถึงทางน้ำทีแม่น้ำเปลี่ยนทางเดินเป็นเวลานาน บริเวณกุดหวายทีว่านี้ เดิมต้นหวายเกิดล้อมรอบ สวนตรงเนินกลางกุดมีหญ้าคา หญ้าแฝกงอกงามมากตรงบริเวณหัวคุ้งน้ำพระครูพิทักษ์โกสุมพิสัย (ญาครูโม่ง) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีได้ไปตั้งสำนักสงฆ์เพื่อเป็นสวนหญ้า สำหรับเกี่ยวมามุงศาสนสถานในสมัยโบราณ ปัจจุบันบริเวณนี้ชาวบ้านได้ตั้งเป็นวัดชื่อ พิทักษ์สามัคคีโพธิ์ศรี 2 เมื่อพุทธศักราช 2537 ศูนย์บริการเกษตรกรรมเคลื่อนที่และกรมชลประทาน ได้ขุดลอกเป็นคุ้งน้ำตามแนวเดิมทีกว้างที่สุดประมาณ 120 เมตร ลึกจากผิวดิน 10 เมตร โค้งเป็นรูปเกือกมายาวประมาณ 800 เมตร มีความจุน้ำประมาณ 96000 ลูกบาศก์เมตร ด้านทิศตะวันตกมีทางน้ำธรรมชาติ ไหลล้นลง๗ูลำน้ำg […]

Read More

พระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน ตั้งอยู่ที่ บ้านนาดูน ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นเขตที่มีการขุดพบที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่นและที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการ ก่อสร้างพระธาตุนาดูน ขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนา และวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522 ได้ขุดค้นพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ […]

Read More

เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่บุญมี

เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่บุญมี ตั้งอยู่ที่วัดป่าวังเลิง ต.ท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม  เมื่อเข้าไปถึงจะมองเห็นเจดีย์ใหญ่ พิพิธภัณฑ์หลวงปู่มหาบุญมี ตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจีบนเนื้อที่ 100 ไร่ จะพบบรรยากาศที่เงียบสงบเหมาะแก่การพักผ่อนและปฏิบัติธรรม เจดีย์แห่งนี้เป็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารและอัฐิธาตุ “หลวงปู่ มหาบุญมี สิริธโร” อดีตผู้ก่อตั้งวัดป่าวังเลิงแห่งนี้ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์สายกัมมัฏฐานอยู่ในความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม หลวงปู่มหาบุญมีละสังขารไปนานกว่ายี่สิบปีแต่คุณงามความดีของหลวงปู่ ยังคงอยู่ในศรัทธาไม่เสื่อมคลาย สำหรับการจัดสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงปู่มหาบุญมี คณะศิษยานุศิษย์ร่วมใจกันจัดสร้าง เพื่อเป็นอนุสรณ์ย้อนรำลึกในคุณงามความดีของหลวงปู่ ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2536 หลังจากที่หลวงปู่มหาบุญมีมรณภาพ โดยหลวงปู่สุทธิพงศ์ ขนุตตโม (ปัจจุบัน คือ พระสุทธิธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง และเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม ธ.) กราบอาราธนาพระราชสังวรญาณ หรือหลวงปู่พุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ และจัดหางบประมาณจัดสร้างจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ สิ่งที่น่าสนใจ ตัวเจดีย์พิพิธภัณฑ์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมเจดีย์แห่งนี้ ออกแบบเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยม โดยมีปริศนาธรรมแฝงคติอยู่ในตัวความหมายมาจากมรรค 8 ซึ่งเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์หรือทางดำเนินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ 8 ประการ จากฐานถึงปลายยอดเจดีย์สูง 19 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 […]

Read More

แก่งเลิงจาน

แก่งเลิงจาน ไปพักผ่อนหย่อนใจใต้ต้นไม้ใหญ่ ออกกำลังกายที่สวนสุขภาพ และชมพระอาทิตย์ตกดินกันค่ะ แก่งเลิงจานเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของตัวเมือง ตั้งอยู่ในเขตตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภายในบริเวณเป็นที่ตั้งของสถานีประมง ทำการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดให้หลายจังหวัดในภาคอีสาน บริเวณโดยรอบของแก่งเลิงจานมีทิวทัศน์สวยงาม ในวันหยุดประชาชนนิยมไปพักผ่อนกันมาก แก่งเลิงจาน มีสวนสุขภาพแก่งเลิงจานที่กว้าง โล่ง ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนและการออกกำลังกาย มีการจัดงบประมาณเพื่อพัฒนาอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจานให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม มีการปรับปรุงรอบ ๆ เขื่อนคันดินให้กว้าง ปลูกต้นไม้ และจัดเป็นสวนสุขภาพตลอดคันความยาวของคันดิน สร้างพิพิธภัณฑ์ ศาลากลางน้ำ และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านไปมาและนักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมและทัศนศึกษา เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามมีสถานที่ท่องเที่ยวค่อนข้างน้อย และเป็นจังหวัดเดียวของภาคอีสานที่ไม่มีภูเขาเลย อ่างเก็บน้ำ แก่งเลิงจานจึงถูกใช้เป็นทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และยังเป็นแหล่งน้ำที่ใ้ช้ในการประมง การเพาะปลูก [adsense-2] กิจกรรมที่น่าสนใจ ตกปลา บริเวณที่นิยมตกปลาของแก่งเลิงจานจะอยู่ที่สันกั้นของอ่างเก็บน้ำซึ่งจะมีระยะทางประมาณ 2 กม.เศษๆแต่กลางวันให้หาร่มไปด้วยเพราะไม่มีร่มไม้ ปลาที่ตกได้ส่วนมากจะเป็นปลากระสูบ ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ ปลานิล ปลาสวายปลาบู่ ส่วนเหยื่อจะใช้ขนมปังสด,เนยครีม,รำป่น,กล้วยน้ำว้า แล้วแต่ถนัดค่ะ ส่วนเวลาในการกินเหยื่อของปลาไม่แน่นอนนักบางวันก็กินช่วงเช้าตรู่ถึงสิบโมงบางวัน กินเหยื่อช่วงหัวค่ำค่ะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ททท. สำนักงานขอนแก่น(รับผิดชอบพื้นที่ ขอนแก่น,มหาสารคาม,ร้อยเอ็ด,กาฬสินธุ์) ที่อยู่ 277/20-21 ถ.กลางเมือง (ถนนรอบบึงแก่นนคร ด้านทิศตะวันตก) อำเภอเมือง […]

Read More

กลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง

กลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง ไปศึกษาการทอผ้าไหมงามๆ ชมและช็อปผ้าไหมทอมือของชาวบ้านในชุมชน ลวดลายสวยงาม ละเอียด ประณีต ไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ กลุ่มทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้างตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ถนน มหาสารคาม–โกสุมพิสัย เป็นหมู่บ้านที่ทอผ้าไหมและทอผ้าฝ้ายที่มีชื่อของจังหวัด ได้มีการสืบทอดวิธีการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน เป็นการเรียนรู้จากคนในชุมชนด้วยกัน ตั้งแต่การเลี้ยงไหม ย้อมไหมมัดหมี่ และวิธีการทอผ้าไหม นางอุไร ขาลนาม เป็นผู้ที่มีฝีมือการทอผ้าที่ได้รับการยอมรับจากชุมชน จึงใช้บ้านตนเองเป็นสถานที่ตั้งกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองและเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและผ้าฝ้ายจากสมาชิกในหมู่บ้าน มีทั้งผ้าเป็นผืน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เสื้อผ้าฝ้าย กางเกงขาก๊วยแบบอีสาน หมอนขวาน ผ้าทอบ้านหนองเขื่อนช้างมีชื่อมากนักท่องเที่ยวมาเยือนจังหวัดมหาสารคามส่วนใหญ่จะแวะซื้อสินค้าที่หมู่บ้านแห่งนี้ ประวัติความเป็นมา ชาวบ้านหนองเขื่อนช้าง มีความชำนาญในการทอผ้า มาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ต่อมามีการนำเอาเส้นไหมมาออกแบบมัดหมี่ตามลวดลายที่ต้องการ ลายหมี่ที่มัดขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าใช้วิธีการทอมือ ชาวบ้านหนองเขื่อนช้างได้ดำเนินการทอผ้าพื้นเมือง และผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากสิ่งทอ ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา และได้ดำเนินการอย่างจริงจัง เมื่อปี พ.ศ 2514 โดยได้รับคำแนะนำจากทางวิทยาลัยครูและสถาบันอื่น ๆ ในเรื่องการออกแบบ เทคนิคการประดิษฐ์ เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากทอผ้าแล้วยังได้นำเอาผ้าที่ทอแล้ว มาประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก […]

Read More

เที่ยว มหาสารคาม

มหาสารคาม “พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตกศิลานคร” เทศกาล/ประเพณี งานนมัสการพระธาตุนาดูน จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 หรือวัมาฆบูชา ณ พุทธมณฑลอีสานพระธาตุนาดูน อ.นาดูน งานประเพณีบุญบั้งไฟ จัดเป็นประจำทุกปีระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ตามอำเภอต่างๆในจังหวัด งานประเพณีไหลเรือไฟไทญ้อ จัดเป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ – วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประมาณเดือนตุลาคม บริเวณสนามกลางบ้านท่าขอนยาง อ.กันทรวิชัย การเดินทาง รถทัวร์ จากสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีรถเที่ยวเวลา 06:00-22:00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง ค่าโดยสารประมาณ 320-990 บาท ข้อมูลเพิ่มเติมโทร 1490 สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ กู่มหาธาตุ ย้อนอดีตชมสิ่งก่อสร้างโบราณสถานเมืองขอมสมัยพุทธศัตวรรษที่ 18 ศาสนสถานปราสาทหินศิลาแลงรูปกระโจมสี่เหลี่ยม ภายในตัวปราสาทมีเทวรูปทำด้วยดินเผา 2 องค์ นั่งขัดสมาธิประนมมือถือสังข์ ภายนอกปราสาทล้อมรอบด้วยกำแพงหิน กูมหาธาตุหรือปรางค์กู่บ้านเขวาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอีกแห่งหนึ่ง พิพิธภัณฑ์บ้านเชียงเหียน อาจารย์บุญหมั่น คำสะอาด ผู้มีพรสวรรค์ด้านการวาดภาพที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยใช้ลวดลายเครืออีสานผสมผสานเรื่องราวตำนานความเชื่อท้องถิ่นมานำเสนอ จนได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินมรดกอีสาน […]

Read More

สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม

สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม นอกจากปราสาทหินพนมรุ้งที่เป็นที่เลือเลื่องของจังหวัดบุรีรัมย์แล้ว สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียมแห่งนี้ ยังเป็นอีก 1 สถานที่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดที่แฟนบอลไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งค่ะ สนามกีฬา นิว ไอ-โมบาย สเตเดียม หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม เป็นสนามกีฬาที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ที่ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สนามแห่งนี้มีความจุ 24,000 ที่นั่ง โครงสร้างประกอบด้วยเหล็กและไฟเบอร์ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 500 ล้านบาท โดยเป็นเงินสนับสนุนของไอ-โมบายและบางส่วนของนายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์และยังจัดเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่มีลู่วิ่งคั่นสนามและผ่านมาตรฐานฟีฟ่า เอเอฟซี และ เอเอฟเอฟ และยังผ่านมาตรฐานระดับเอคลาสสเตเดียมจากเอเอฟซี และยังผ่านมาตรฐานระดับเวิลด์คลาสจากฟีฟ่า และยังได้บันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่าแห่งเดียวในโลกที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกเพียง 256 วัน สนามนี้มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 เป็น สำนักงานห้องแถลงข่าว,ห้องสื่อมวลชน,ร้ายขายสินค้าที่ระลึก,ห้องนักกีฬาทีม เหย้า-เยือน,ห้องพักผู้ตัดสิน,ห้องปฐมพยาบาล และ ห้องประชุม ชั้นที่ 2 จะเป็นห้องจัดเลี้ยงใหญ่จำนวน 400 […]

Read More

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เที่ยวปราสาทหิน ชมปฏิมากรรมสุดอลังการของคนสมัยโบราณกันค่ะ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก ตำบลตาเป็ก ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร (คำว่า “พนมรุ้ง” หรือ “วนํรุง” เป็นภาษาเขมรแปลว่า “ภูเขาใหญ่”) ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอดอันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด […]

Read More