Month: November 2014

แหล่งหินตัดบ้านกรวด

แหล่งหินตัดบ้านกรวด ตั้งอยู่ที่ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นลานหินกว้าง มีร่องรอยการตัดหินที่คนสมัยขอมตัดหินเอาไปสร้างปราสาทต่างๆ   เพื่อนำไปสร้างปราสาทหินต่างๆ ในเขตอีสานใต้ รวมทั้งปราสาทพรมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ ตั้งอยู่ตามชายแดนไทย – กัมพูชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก มีภูมิประเทศที่สวยงาม ถนนลาดยางถึงแหล่งหินตัด (หินทราย) ทางเดินชมความสวยงามของภูมิประเทศ เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้ง ที่นี่เป็นแหล่งหินทรายสีชมพูและหินทรายทั่วไปที่คนสมัยขอม (เขมรโบราณ) ตัดหินเอาไปใช้สร้างสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทหินอื่น ๆ ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ อยู่บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว มีพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ที่น่าสนใจคือ หินทรายบางก้อนปรากฏรอยตอกเนื้อหินให้เป็นรูเรียงกันเป็นแนวยาว หินทรายบางก้อนถูกเซาะสกัดเป็นร่องขาดจากกัน และยังมีหินทรายที่ถูกตัดและงัดขึ้นมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมอยู่ทั่วไป ถือเป็นอีก 1 สิ่งมหัศจรรย์และเห็นความพยายามของผู้คนในสมัยโบราณที่เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ทันสมัยเท่าปัจจุบันแต่สามารถตัดหินออกมาเป็นชิ้นๆเพื่อสร้างปราสาทได้อย่างสวยงาม นอกจากนั้น บริเวณนี้ยัง เป็นสถานปฏิบัติธรรมของวัดสวนธรรมศิลา ได้รับการดูแลและ ปรับปรุงสถานที่ให้สะอาดสวยงาม และมี ทางเดินจากแหล่งหินตัดไปยังจุดชมวิวบนยอดเขา [adsense-2] ติตด่อสอบถามเพิ่มเติม ททท.สำนักงานสุรินทร์ (รับผิดชอบพื้นที่ จ.สุรินทร์ จ.บุรีรัมย์ จ.ศรีสะเกษ) อ.เมือง สุรินทร์ โทร. (044) 518-152 […]

Read More

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน อ.นาโพธิ์

ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน อ.นาโพธิ์ ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองโก หมู่ที่ 6 ตำบลดอนกอก อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ประชาชนในพื้นที่อำเภอนาโพธิ์ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและทอผ้าไหมมาตั้งแต่บรรพบุรุษซึ่งสืบเชื้อสายมาจากลาวพรวน ที่มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2314 และถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนผ้าไหมผลิตขึ้นเพื่อใช้เอง แลกสิ่งของ และใช้ในงานพิธีสำคัญ ส่วนมากเป็นที่นิยมสวมใส่ของผู้สูงอายุ ในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบ ลวดลาย และสีสรรขึ้น เพื่อความเหมาะสม แก่ยุกต์สมัย และตรงความต้องการของตลาด อำเภอนาโพธิ์จึงได้ส่งเสริมอาชีพทอผ้าไหมแก่ประชาชน โดยการสร้างศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ ตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ขึ้นในปี 2542 และได้ มีการพัฒนาคุณภาพด้านการผลิตและการตลาดอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่ง ปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ขึ้น ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอนาโพธิ์ จึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์ ตามโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ และได้ส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรรได้ระดับ 5 ดาว พร้อมทั้งส่งผลิตภัณฑ์ผ้าไหมสมาชิกเข้าประกวด OTOP ระดับประเทศได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทผ้าเชิงพานิชย์ และในปี พ.ศ.2547 ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมขึ้นอีกระดับ หนึ่ง […]

Read More

วัดหงษ์(วัดศรีษะแรด)

วัดหงษ์(วัดศรีษะแรด) ตั้งอยู่ที่ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จ. บุรีรัมย์ เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งถูกค้นพบในราวพ.ศ. 1792 โดยท้าวศรีปาก (นา) และไพร่พลซึ่งตามแรดใหญ่มา จึงได้มีการตั้งรกรากในบริเวณนั้น แต่ก็ได้เสื่อมลงตามกาลเวลา ต่อมาในพ.ศ. 2200 พรานป่า 2 คนได้ตามหงส์เข้ามาในป่า ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง  ซากเจดีย์ นอแรดและกระดูกของแรด จึงชวนผู้คนมาตั้งรกราก ตั้งชื่อว่า บ้านศีรษะแรด และสร้างวัดชื่อ วัดหงส์ และในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการขุดค้นพบพระปรางค์สูง 70 เซนติเมตร ในบริเวณวิหารพระเจ้าใหญ่อีกด้วย พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองพุทไธสงมาแต่โบราณ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ปางสมาธิขนาดหน้าตัก 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีลักษณะของศิลปะพื้นเมือง ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ หรือวัดศีรษะแรด เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนจำนวนมากที่เรียกว่า “พระเจ้าใหญ่” ในภาษาไทยอีสาน มิใช่เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ แต่หมายถึงความยิ่งใหญ่ ความศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะการสาบานและอธิษฐาน เล่ากันว่า ผู้ที่ผิดคำสาบานมักได้รับภัยพิบัติต่างๆ จึงมีผู้ไปสาบานงดเว้นอบายมุข เลิกดื่มสุรา […]

Read More

วัดโพธิ์ย้อย

วัดโพธิ์ย้อย ตั้งอยู่ที่บ้านปะคำ หมู่ที่ 1 ตำบลปะคำ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ เป็นวัดที่ไม่เก่าแก่นัก จึงไม่ได้ถูกมองและศึกษาในรูปแบบของศิลปะการก่อสร้าง หากแต่มีความสำคัญด้วยมีโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในบริเวณใกล้เคียงเก็บรักษาไว้ ได้แก่ ทับหลัง 5 ชิ้น ใบเสมา 3 แผ่น เสาศิลา 5 หลัก ชิ้นส่วนเสากรอบประตูและฐานศิวลึงค์อย่างละชิ้น สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ทับหลังด้านหน้าพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประทับในซุ้มเรือนแก้ว แวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา กล่าวกันว่าเป็นทับหลังที่เคลื่อนย้ายมาจาก ประสาท หินบ้านโคกปราสาท หรือที่เรียกว่า ปราสาทบ้านโคกงิ้ว ซึ่งตั้งห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร ทางทิศ เหนือ ทับหลังด้านซ้ายสลักเป็นภาพเล่าเรื่องการถวายสตรีให้กับบุคคลผู้มีอำนาจ อาจเป็นกษัตริย์หรือเทพ ภาพบุคคลนั่งเรียงกันภายในซุ้ม มีลายพันธุ์พฤกษาล้อมรอบ และมีปลายทับหลัง 2 ข้าง เป็นภาพมังกรหัน หน้าออกคายลายก้านต่อดอก ทับหลังด้านหลังพระประธาน ด้านขวาสลักเป็นภาพพระอิศวรทรงโคในซุ้มเรือนแก้ว เหนือหน้ากาล ซึ่งใช้มือทั้งสองยึดจับที่ท่อนพวงมาลัย 2 ข้าง มีลายมาแบ่งที่เสี้ยวเป็นรูปบุคคล นั่งในซุ้มเหนือดอกบัวมี ก้านประกอบและทับหลังบนกุฏิอีก 1 […]

Read More

วัดเขาพระอังคาร

วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่ที่บ้านเจริญสุข ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ รอยู่ห่างจากปราสาทหินพนมรุ้งประมาณ 20 กิโลเมตร บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดี เพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก เป็นวัดที่สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ น่าจะสร้างในยุคเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ส่วนสถาบัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่า ตัววัดตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 ก.ม. ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ วัดเขาพระอังคาร มีจุดเด่นคือ ภายในบริเวณวัดเคยมีการค้นพบโบราณสถานเก่าแก่และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีหลายชิ้น (เป็นใบเสมาที่ของสมัยทวารวดีที่พบได้น้อยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานแต่สามารถพบได้ที่วัดเขาอังคาร) จากร่องรอยที่เหลืออยู่บางส่วนแสดงให้เห็นถึงการนับถือ พุทธศาสนาของชุมชนโบราณในบริเวณนี้ สันนิษฐานได้ว่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 และภายในวัดยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงามเช่น มีการก่อสร้างโบสถ์ ศาลาและอาคารต่างๆ เลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบและมีพระพุทธรูปตั้งเรียงรายล้อมรอบโบสถ์วัดเขาอังคาร รวมถึงภายในโบสถ์วัดเขาอังคาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงมีพระพุทธรูปปางประทับนอนองค์ใหญ่อยู่บนยอดเขาอังคาร ตำนานเขาอังคาร เขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ ภูเขาพระอังคาร เดิมชื่อ ภูเขาลอย เหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคาร เพราะตามประวัติลายแทงธาตุพนม กล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. 8 ได้มีพญาทั้ง 5 […]

Read More

วัดขุนก้อง

วัดขุนก้อง ตั้งอยู่เลขที่ 224 บ้านนางรอง ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2150 สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดย “ขุนกอง” ซึ่งเป็นนายทหารผู้ควบคุมเสบียงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ ขณะที่ยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ ได้ยกกองทัพไปปราบเขมร ได้มาตั้งทัพพักอยู่ในเมืองนางรองเป็นผู้สร้างขึ้นและเรียกว่า “วัดขุนกอง” เมื่อกาลเวลาล่วงมานานเข้าชื่อเรียกวัดก็เพี้ยนมาเป็น “วัดขุนก้อง” แต่บัดนั้นมาจนถึงบัดนี้ วัดนี้สร้างมาก่อนพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 ประกาศใช้มีอายุยาวนานถึงปัจจุบันเป็นเวลา 405 ปี สิ่งที่น่าสนใจ รูปปั้นทหาร 2 นาย ขนาดสูง 3 เมตร โดยการปั้นใช้ปูนและทราย ผสมกับน้ำมันยาง ยืนถือปืนเฝ้ายามอยู่หน้าซุ้มประตูทางเข้าวัด แทนรูปปั้นยักษ์ เจ้าอาวาสชี้เพื่อให้เห็นถึงที่มาของวัดอันเก่าแก่ ที่สร้างขึ้นจากทหารผู้ภักดี ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เจ้าอาวาสวัดขุนก้องเล่าว่า การปั้นรูปนายทหารยืนเฝ้าหน้าประตูวัด แทนที่จะเป็นยักษ์วัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์นั้น สืบเนื่องจากพระอุโบสถหลังเก่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2260 ซึ่งมีการสร้างกำแพงโดยรอบพระอุโบสถสูง 1.50 เมตร และที่ประตูกำแพงพระอุโบสถทางทิศใต้ได้มีการปั้นรูปทหาร 2 นาย ซึ่งเรียกว่า […]

Read More

วนอุทยานเขากระโดง

วนอุทยานเขากระโดง ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำซับ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจที่น่าไปเยือนค่ะ ที่นี่เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟที่ยังคงปรากฏร่องรอยปากปล่องให้เห็นได้ชัดเจน เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วค่ะ นอกจากจะได้พักผ่อนหย่อนใจกันแล้วนักท่องเที่ยวที่มาเยือนที่นี่ยังจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ธรณีวิทยาและชีววิทยา เพราะ มีโบราณสถานกู่เขากระโดง เป็นที่ประดิษฐานรองพระพุทธบาทจำลอง และมี”พระสุภัทรบพิตร” พระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ อยู่บนยอดเขา และยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเต็งรัง เนื้อที่ประมาณ 6 พันไร่ รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่หาชมได้ยาก เช่น ผลของต้นโยนีปีศาจ ที่มักพบในบริเวณเขตภูเขาไฟ การขึ้นไปยังเขากระโดงสามารถทำได้สองวิธี คือ เดินขึ้นบันได หรือ ขับรถขึ้นไปถึงยอดเขา ระหว่างทางจะพบพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ  รอบบริเวณแวดล้อมด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าขนาดเล็ก โดยเฉพาะนกนานาชนิด ป่าเขากระโดงมีพื้นที่ 6,212 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศให้เป็นวนอุทยานเขากระโดงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม (วันปิยะมหาราช) พ.ศ. 2521 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมา วนอุทยานเขากระโดง ชื่อเดิมชาวบ้านเรียกเขากระโดงว่า “พนมกระดอง” เป็นภาษาเขมร แปลว่า “ภูเขากระดอง (เต่า)” เพราะมีรูปลักษณ์คล้ายกระดองเต่า ต่อมา จึงเรียกเพี้ยนเป็น […]

Read More

พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด

พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บเครื่องเคลือบโบราณในอำเภอบ้านกรวดและจัดแสดงให้นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปได้เข้าชมและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของอำเภอ เปิดให้ประชาชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าเข้าชม เว้นแต่จะร่วมบริจาคสมทบศูนย์วัฒนธรรมที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ บ้านกรวดเป็นชุมชนเขมรดั้งเดิม เรียกว่าเขมรป่าดง บ้านกรวดมีลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือเป็นอำเภอเล็ก ๆ ที่อยู่ติดแนวชายแดนไม่มีอะไรนอกจากป่าไม้ดงดิบที่ทึบหนา ประมาณ ปี พ.ศ.2503 ทางการได้ไปจัดนิคมให้ประชาชน ทำให้มีคนจากทุกสารทิศไหล่บ่าเข้าไปจับจองที่ทำมาหากิน มีการขุดโค่นต้นไม้ถางป่า หลังจากนั้นก็มีการขุดพบเครื่องเคลือบคือ จำพวกไห คนโท ฯลฯ ปัจจุบันถูรวบรวมมาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาโบราณที่ขุดพบในเขตอำเภอบ้านกรวด ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบที่สำคัญ มีภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่งเคลือบสีที่ผลิตโดยใช้แป้นหมุน สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตรวรรษที่ 15-17 เปิดให้ประชาชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าเข้าชม เว้นแต่จะร่วมบริจาคสมทบศูนย์วัฒนธรรมที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ ประวัติความเป็นมา ในอดีตบ้านกรวดเคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบที่ใหญ่ที่สุดของอาณาจักรขอมโบราณ ในท้องที่อำเภอบ้านกรวด อำเภอละหานทราย อำเภอประโคนชัย และบางส่วนของอำเภอกาบเชิงรวมกัน พบเตาเผาเครื่องเคลือบประมาณ 300 กว่าเตา แต่ในกัมพูชาเองกลับไม่พบร่องรอยของการเผาหรือเตาเผา ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 โดยเตาเผาเหล่านี้ ได้ผลิตเครื่องถ้วยเขมร เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ ในกัมพูชา และในภูมิภาคต่างๆ โดยมีการทำอุตสาหกรรมขนาด ใหญ่โต และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย คุณพิมาน บาลโสง เจ้าหน้าที่ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวดเล่าว่า หลังจากที่มีการขุดค้นเมื่อประมาณปี […]

Read More

พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย

พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ วัดป่าพระสบาย ตั้งอยู่ หมู่ 4 บ้านบึงน้อย ต.บึงเจริญ อ.บ้านกรวด วัดแห่งนี้ร่มรื่นด้วยต้นยางพารา ต้นไม้เศรษฐกิจที่ชาวบ้านที่นี่ปลูกกันแทบทุกครัวเรือน อาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แฝงตัวอยู่ในสวนยางพารา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านขุดพบบริเวณท้ายหมู่บ้านบึงเจริญแห่งนี้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ดูแลและจัดการโดยวัดและชุมชน วัตถุโบราณที่พบ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินสี ก่อสร้างขึ้นเมื่อประมาณวันที่ 28 ธันวาคม 2542 เพื่อเป็นการรวบรวมชิ้นส่วนโบราณวัตถุต่างๆ มีการจัดแสดงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางโบราณคดีในชุมชน เมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2540 ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และเศษภาชนะดินเผาซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาสีเทาดำไม่มีการเคลือบมีรูปทรงคล้ายภาชนะบ้านเชียงแต่ไม่มีลายจากการเขียนสี มีเพียงลายจากการทาบเชือก และสายจากการจดของแหลมลงในเนื้อภาชนะ ที่สำคัญได้ขุดพบภาชนะรูปทรงหินและโลหะยุคหินใหม่ อาทิเช่น กำไลหินสีเขียว เครื่องใช้แบบสำริด ณ บริเวณของหมู่บ้านบึงน้อยอีกครั้งโดย”พระธงชัย ชาตปัญโญ” ส่วนหนึ่งนำไปจัดแสดงที่ปราสาทหินพนมรุ้ง กรมศิลปากรได้สรุปเบื้องต้นว่า โบราณวัตถุที่ขุดพบอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุราว 3,000 ปี ประวัติความเป็นมา ปี 2516 เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ที่ชาวบ้านได้ไปขุดบ่อน้ำแล้วพบภาชนะดินเผา แต่ว่ายังไม่มีใครสนใจ จนกระทั่งราวปี 2540 ชาวบ้านได้ขุดดินลึกประมาณ 1 […]

Read More

ปราสาทหนองหงส์

ปราสาทหนองหงส์ ไปชมปราสาทหิน ปฏิมากรรมการก่อสร้างอันน่าเหลือเชื่อของคนโบราณกันค่ะ ปราสาทหนองหงส์ ตั้งอยู่บ้านโนนดินแดง หมู่ที่ 9 ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ อยู่ทางด้านซ้ายของแนวสันเขื่อนลำนางรอง ห่างจากตัวเขื่อนประมาณ 500 เมตร เป็นโบราณสถานขนาดเล็กประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ เป็นเทวาลัยของฮินดู ปรางค์ทั้งสามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง องค์กลางขนาดใหญ่กว่าสององค์ที่ขนาบข้าง ก่อด้วยอิฐ ตั้งบนฐานก่อด้วยศิลาแลงต่อเนื่องเป็นฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีประตูเข้า-ออกทางด้านหน้าอีก 3 ด้าน เป็นประตูหลอก แต่เดิมเคยมีทับหลังประดับจำหลักลายอย่างสวยงาม คือ องค์ทิศเหนือสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหนือหน้ากาล ซึ่งมือยึดท่อนพวงมาลัยแวดล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา อีก 2 องค์ที่เหลือ คือ องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้ก็มีลักษณะคล้ายกันต่างกันที่ภาพตรงกลาง คือ ทับหลังปรางค์องค์กลางสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ องค์ทิศใต้เป็นรูปพระอิศวรทรงโค ด้านหน้าของปรางค์องค์กลาง มีทางเดินยื่นยาวออกไป มีบันไดทางด้านหน้าและด้านข้างทั้งสอง นอกจากนี้ยังมีวิหารหรือบรรณาลัยอีก 1 หลัง ก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าเข้าหาปรางค์องค์ทิศใต้ อาคารทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง มีซุ้มประตูด้านหน้าและด้านหลัง มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ การกำหนดอายุ สมัยของปราสาทนั้น กำหนดจากลักษณะการก่อสร้าง และศิลปกรรมที่พบซึ่งตรงกับศิลปะเขมรแบบบาปวน คาดว่าทำในสมัยพระเจ้าวรมันที่ 7 ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันปราสาทหินแห่งนี้ทรุดโทรมลงมากตามกาลเวลา […]

Read More